พิธีกรรมแช่ว่านยา ช่วยให้หนังเหนียว จริงหรือ ?

พิธีแช่ว่านยา นอนแช่น้ำ รักษาโรคผิวหนัง เสริมแกร่ง ให้หนังเหนียว ได้จริงหรือ ?

จากกรณีที่มีเพจดังโพสต์รูปภาพ พระขณะเเช่ตัวอยู่ในโอ่ง ซึ่งอีจันได้สอบถามไปยังพระที่อยู่ในรูป ท่านบอกว่า ที่เเช่น้ำในโอ่งนั้น เป็นการรักษารูปเเบบหนึ่ง ซึ่งรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ไม่ใช่พิธีกรรมเเต่อย่างใด

พระโต้ ! ภาพอบโอ่ง ไม่ใช่พิธีกรรม

เเต่ในขณะเดียวกัน เพจเฟซบุ๊กที่เเชร์รูปภาพนั้น บอกกับจันว่า ภาพที่เห็น เป็น ‘พิธีกรรมแช่ว่านยา’

เเล้วพิธีกรรมแช่ว่านยา คืออะไร เเช่เเล้วช่วยอะไร ?

จันจึงหาข้อมูลเพิ่มเติมมาเล่าให้ฟังวันนี้ค่ะ

ข้อมูลจาก สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง

แช่ว่านยา หรือ อาบว่าน เป็นพิธีทางไสยศาสตร์ชั้นสูง ซึ่งที่ วัดเขาอ้อ วัดเก่าแก่ที่ ตําบลมะกอกเหนือ อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

หนึ่งในพิธีที่สำคัญ ที่วัดเขาอ้อนิยมใช้ประกอบพิธีกรรม คือ ‘พิธีกรรมแช่ว่านยา’ เป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงได้รับการรักษาถ่ายทอดสืบต่อกันมาไม่ขาดสาย จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศ

พิธีกรรมแช่ว่านยา เป็นพิธีกรรมชั้นสูงที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ นิยมประกอบพิธีปีละ 2 ครั้ง คือเดือน 5 และเดือน 10 เดิมทีเป็นวิธีการใช้ว่านยาสําหรับรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน และโรคคันต่างๆ เพราะในอดีตชาวบ้านมักจะเป็นโรคผิวหนังกันมาก ต้องรักษาด้วยการอาบว่านสมุนไพร ถ้าไม่หายก็ต้องทำการแช่ว่าน โดยจะลงไปนอนแช่ในรางว่านยาทั้งตัว ให้ยาสมุนไพรซึมเข้าไปในเนื้อหนัง

นอกจากนี้ ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง ให้ข้อมูลไว้อีกว่า มีคนที่เคยแช่ว่าน ฟันแทงไม่เข้า จึงเกิดเสียงล่ำลือออกไป กลายเป็นว่าเพราะว่านยาที่แช่นั้น ส่งผลให้อยู่ยงคงกระพัน ชาวบ้านจึงพากันไปแช่ว่านยาที่วัดเขาอ้อ ทําให้วัตถุประสงค์ของการแช่ว่านยาเปลี่ยนไป จากเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บกลายมาเป็นเพื่อให้อยู่ยงคงกระพันด้วย

เเต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อีจัน ไม่การันตีว่า

การเเช่ว่านทำให้อยู่ยงคงกระพัน เเต่เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ความเชื่อเฉพาะกลุ่ม ทางพิธีไสยศาสตร์ค่ะ

ขอบคุณข้อมูล : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง

คลิปอีจันแนะนำ
ดอกไม้แรกแย้ม ถูกแต้มกลิ่นกาม เพื่อนหลอกขายตัว