เข้าใจความหมาย อับปาง – จม – ล่ม ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง

อับปาง – จม – ล่ม รู้จัก ใช้อย่างถูกต้อง สำนักราชบัณฑิตยสภา มีคำตอบ

เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นเกี่ยวกับเรือ หลายคนคงเคยได้ยินคำที่ใช้เรียกลักษณะการจมของเรือแตกต่างหลายๆคำเรียก แล้วอาจมีข้อสงสัยว่าที่ถูกต้องนั้นควรใช้คำเรียกว่าอะไร “อับปาง-จม-ล่ม” เนื่องจากกระแสข่าวเรือหลวงสุโขทัยอับปาง ทำให้สำนักราชบัณฑิตยสภา ได้โพสต์เกี่ยวกับความหมายของคำว่า “อับปาง” ในฉบับภาษาไทย เพื่อหวังให้ผู้สนใจ ใช้ความหมายของคำว่าอับปาง ได้ถูกต้อง

Live Blog : เกาะติด การช่วยเหลือกำลังพล เรือหลวงสุโขทัย ล่มกลางอ่าวไทย
อับปาง

คำว่า อับปาง หมายความว่า แตกหรือล่มจมลง  ใช้กับเรือเดินทะเล เช่น พายุโหมกระหน่ำจนเรืออับปาง ที่มาของคำว่า อับปาง นั้น   ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน เคยสันนิษฐานไว้ ปรากฏในหนังสือบันทึกความรู้เรื่องต่าง ๆ เล่ม 4 ว่า อับปาง อาจมาจากภาษาจีนกวางตุ้งว่า ฮอบป๊าง  ฮอบ แปลว่า ปิด หรือ หับ  เข้ากัน รวมกัน ทั้งหมด  ป๊าง แปลว่า แตก พัง ทำลาย  ฮอบ กับ ป๊าง ประกอบกันเป็น ฮอบป๊าง แปลว่า แตกทำลายทั้งหมด จมหมด ไม่มีอะไรเหลือ

 “อับปาง” เป็นคำกริยา หมายถึง ล่ม, จม, แตก, (ใช้แก่เรือเดินทะเล)

จม

“จม” เป็นทั้งคำกริยาและคำวิเศษณ์ มี 3 ความหมาย ได้แก่

  • คำกริยา ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม

  • กรรม ก. ใช้เรียกลวดลายที่ไม่เด่น ว่า ลายจม

  • คำวิเศษณ์ ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย

ล่ม

คำว่า “ล่ม” ใช้กับเรือขนาดเล็กโดยทั่วไปจนถึงเรือขนาดกลาง รวมทั้งแพด้วย ส่วนคำว่า “อับปาง” ใช้กับเรือเดินทะเลเท่านั้น

“ล่ม” เป็นคำกริยา มี 3 ความหมาย ได้แก่

  • คำกริยา  ก. กิริยาที่ทรงตัวไม่อยู่ เอียงจนตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น เรือล่ม เกวียนล่ม, ทำให้ตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น ล่มเรือ

  • กรรม ก. ได้รับความเสียหายมากเพราะน้ำท่วมหรือพายุพัดเป็นต้น เช่น นาล่ม สวนล่ม โป๊ะล่มไม่สำเร็จ, ไม่รอดฝั่ง, เช่น โครงการล่ม

ทั้งนี้คำว่า “ล่ม” และ “อับปาง” ยังใช้ในความหมายเปรียบเทียบ หมายถึง ประสบความล้มเหลว ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างปกติ เช่น ค่าเงินบาทแข็งขึ้น ทำให้กิจการค้าของเขาล่ม เขาคิดว่าเขาร้องเพลงได้ แต่พอขึ้นเวทีก็ประหม่า จึงล่มเสียกลางคัน เจอมรสุมหนักคราวนี้ สงสัยว่าชีวิตคู่ของเขาทั้งสองคงจะต้องอับปางลงอย่างแน่นอน จะเห็นได้ว่าหลากความหมาย นี้แแหละเสน่ห์ของภาษาไทย ต่อไปหยิบไปใช้ก็หายห่วงได้เลย

ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คลิปแนะนำอีจัน
เปิดนาทีหนีตาย กำลังพลเรือหลวงสุโขทัย