ทำความเข้าใจรู้จัก บุหรี่ไฟฟ้า คืออะไร ทำไมในไทย ผิดกฎหมาย ?

บุหรี่ไฟฟ้า ในไทย ทำไม ผิดกฎหมาย และมีกฎควบคุมอย่างไร ? ทำความเข้าใจข้อบังคับจะได้ได้ไม่พลาด

วัยรุ่นสายควันต่างมีคำถามคาใจมากมายในเรื่องของ “บุหรี่ไฟฟ้า” และยังคงเป็นข้อถกเถียงของหลายฝ่ายและเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองอย่างต่อเนื่อง โดยบางฝ่ายมองว่าควรจะ ผลักดันให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ถูกกฎหมาย แต่ในทางตรงกันข้ามเมื่อมีฝ่ายสนับสนุนก็ย่อมมีฝ่ายคัดค้าน ที่มีความเห็นว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” ยังคงเป็นของต้องห้าม เป็นสินค้าที่อันตรายและผิดกฎหมาย ซึ่งเรื่องราวของ “บุหรี่ไฟฟ้า” ยังคงต้องคอยติดตามกันต่อไปว่าตอนจบของเรื่องราว “บุหรี่ไฟฟ้า” ในประเทศไทยนั้นจะเป็นเช่นไร

สารแต่งกลิ่นและรส (Flavoring) – สารเคมีที่ใช้กับอาหารทั่วไปผลกระทบต่อร่างกาย *ปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วจะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย

ถูกหรือผิดกฎหมายคงต้องเช็กตามกฎข้อควบคุม แต่ตอนนี้เป็น “สินค้าต้องห้าม”

โดยก่อนปี 2557 บุหรี่ไฟฟ้าถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่กฎหมายไทยยังตามไม่ทัน ดังนั้น มันจึงไม่มีกฎหมายตัวไหนระบุรับรองเอาไว้ ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย และอาจแปลได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าที่เข้ามาก่อนปี 2557 ถือว่าไม่ผิดกฎหมายส่วนหลังการรัฐประหารปี 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2557 ระบุให้บารากุ บารากุไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้ากลายเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้า ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าหรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงให้ริบสินค้า และพาหนะที่ใช้ในการบรรทุกสินค้านั้นด้วย

กระทั้งต่อมาในปี 2558 ได้มีการออกคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 9/2558 ระบุห้ามขาย ห้ามให้บริการบารากุ บารากุไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้า และน้ำยาเติมของทั้งสองชนิด โดยระบุว่าพบสารเคมีที่เป็นอันตรายหลายชนิด รวมถึงการสูบร่วมกันอาจทำให้เกิดโรคติดต่อ จึงทำให้ผู้ขาย หรือให้บริการมีความผิดและต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้ผลิต ผู้สั่ง หรือผู้ที่นำเข้ามาเพื่อขาย ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ก่อนที่ในปี 2560 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายศุลกากรฉบับใหม่คือ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ซึ่งมีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า ดังนี้

มาตรา 242 มีใจความว่า ผู้ใดนําเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร หรือเคลื่อนย้ายของออกโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานศุลกากร มีโทษจําคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 4 เท่าของราคาของ หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ริบของนั้นทันที

มาตรา 244 มีใจความว่า ผู้ใดนําของที่ผ่านหรือกําลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาหรือส่งออกราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยง ข้อจํากัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของน้ัน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นได้

มาตรา 246 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจําหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจํานําหรือรับไว้ ซึ่งของที่รู้ว่าเป็นความผิดตามมาตรา 242 มีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับ 4 เท่าของราคาของ หรือทั้งจําท้ังปรับ

จากการรวบรวมข้อมูลของ Rocket Media Lab จากข้อมูลการเผยแพร ศูนย์ธรรมมาภิบาลนานาชชาติในการควบคุมยาสูบ (Global Center of Good Governance in Tabacco Contol or GGTC ) // GlobalStatus as of February 2020 ที่รวบรวมข้อมูลจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2021 และแหล่งข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม พบว่า มี 35 ประเทศห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า มี 3 ประเทศที่ห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าที่มีสารนิโคติน ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ศรีลังกา ส่วนประเทศที่อนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าได้ภายใต้กฎหมายควบคุมมี 73 ประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้มี 34 ประเทศที่ควบคุมนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม อาจสรุปได้ว่ากรณีนำเข้า ผลิต และขายบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีความผิดตามกฎหมายไทยอย่างชัดเจน โดยกฏหมายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ก็ยังถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายอยู่ มีโทษทั้งผู้ฝ่าฝืนลักลอบนำเข้า และผู้ขายหรือให้บริการ รวมถึงผู้ที่ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า เมื่อเจ้าหน้าที่พบเห็นความผิดซึ่งหน้าสามารถเข้าจับกุมได้ กรณีเป็นผู้นำเข้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าที่นำเข้า หรือทั้งจำทั้งปรับ

กรณีจำหน่ายจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีผู้สูบหรือมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ถือว่ามีความผิดในฐานครอบครองสิ่งที่นำเข้ามาโดยผิดกฎหมาย ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับและหากมีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานที่สาธารณะ ที่กำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ เช่น ในโรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด ถือว่าฝ่าฝืนมาตรา 42 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่ารวบรวมหลักฐานได้มากน้อยแค่ไหน ก่อนจะส่งฟ้องอัยการ

อ้างอิง : tic.customs.go.th / thomasthailand / landing.ggtc.world / tcijthai / bangkokhospital

คลิปแนะนำอีจัน
สุดในรุ่น! 2 แสบ หลอยครูไปเล่นตม