จนท. อุทยานแห่งชาติ เจอปัญหาหนัก หลังบังคับใช้ พ.ร.บ.อุทยานฯ ฉ.ใหม่

“ชัยวัฒน์” จัดประชุมถกปัญหา หลัง จนท. อุทยานแห่งชาติ เจอปัญหาหนัก ตั้งแต่บังคับใช้ พ.ร.บ.อุทยานฯ พ.ศ.2562

จนท.อุทยานฯ เจอปัญหาหนัก หลังประกาศใช้กฎหมาย พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562

วันนี้ (25 มิ.ย. 66) เวลา 08.00 น. นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ จัดประชุมถ่ายทอดนโยบาย แนวทางขับเคลื่อน การบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ

พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ให้ จนท.อุทยานโซนภาคเหนือทั้งหมดที่ โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ เพื่อทำความเข้าใจตัวบทกฎหมายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หลัง จนท.อุทยาน ต้องเจอปัญหาที่ไม่มีแนวทางแก้ไขบัญญัติไว้อย่างชัดเจน

รวมไปถึงปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างเจ้าหน้าที่อุทยานและชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยาน

โดย จนท.แบ่งกลุ่มถกปัญหาที่เจอให้แต่ละพื้นที่เล่าสู่กันฟัง ร่วมกันแสดงความคิดเห็นแนวทางแก้ปัญหาเบื้องต้น

กลุ่มที่1 ถกปัญหาตามมาตรา 22, 23 และ 33

มาตรา 22

ว่าด้วยเรื่องอำนาจเจ้าหน้าที่อนุญาตให้บุคคลกระทำการตามมาตรา 19 (2) (5) (6) หรือ (7) โดยอนุญาตให้กระทำได้เฉพาะการสำรวจ ศึกษา วิจัย ถ่ายทำสารคดี ภาพยนตร์ บำรุงรักษาสาธารณูปโภค เป็นต้น

โดยการกระทำข้างต้นต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุทยานแห่งชาติ

มาตรา 23

เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครอง ดูแลรักษา บำรุงอุทยาน สำรวจ ศึกษา อำนวยความสะดวกเรื่องเส้นทาง ที่พักชั่วคราว หรือเพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนในอุทยานแห่งชาติ ให้ จนท. มีอำนาจกระทำได้มาตรา 19

โดยมาตรา 19 เป็นข้อห้ามต่างๆ ที่ไม่อนุญาตให้ทำในอุทยาน เช่น แพ้วถาง เก็บหาหรือน้ำออกไปซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ อย่าง หิน ดิน แร่ ล่อสัตว์ป่าออก เปลี่ยนแปลงทางน้ำ ทำให้หมุด หรือแนวเขตเคลื่อนที่ ปิดกั้นทางน้ำทางบก เป็นต้น

มาตรา 33

การนำส่ง การเก็บรักษา และการใช้จ่ายเงินเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และ บำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่อธิบดีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

จนท.ส่วนใหญ่ มักเจอปัญหาจากชาวบ้านในพื้นที่ที่เข้าไปในพื้นที่อุทยานแล้วไม่จ่ายค่าบำรุงรักษา โดยชาวบ้านมักอ้างว่า พื้นที่ส่วนนั้น เดิมตนอยู่มานานแล้วไม่จำเป็นต้องจ่าย

กลุ่มที่2 ถกปัญหาตามมาตรา 64

ซึ่งเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุด ที่ทางเจ้าหน้าที่อุทยานกำลังเจอในขณะนี้ โดย พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ให้กรมอุทยานแห่งชาติสำรวจการถือครองที่ดินของประชาชนที่อยู่อาศัยในอุทยานแต่ละแห่งให้แล้วเสร็จภายใน 240 วันนับแต่วันที่มีการบังคับใช้

ในมาตรานี้เป็นนโยบายที่ช่วยให้ชาวบ้านซึ่งเดิมอยู่ในพื้นที่ที่ภายหลังกลายมาเป็นพื้นที่ของอุทยานให้สิทธิอยู่อาศัย หรือทำกินในพื้นที่อุทยานได้

ภายหลังการสำรวจพบปัญหาในเรื่องเอกสารที่ดินต่างๆ รวมไปถึงการครอบครอง และที่ดินตกสำรวจ ซึ่งปัจจุบันปัญหาเหล่านี้ยังไม่มีแนวทางการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมเนื่องจากยังอยู่ในขั้นร่างอนุบัญญัติ พ.ร.บ. ดังกล่าว

ปัญหาที่เกิดขึ้นในมาตรา 64 ส่งผลกระทบไปถึงมาตรา 65 เนื่องจากเป็นการใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกินซึ่งอยู่ในพื้นที่อุทยานฯ

ด้านนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ เดินทางมาฟังปัญหาที่ลูกค้าภายใต้บังคับบัญชาต้องเจอพร้อมแนะแนวทางการแก้ไขเบื้องต้น  โดยเน้นให้ยึดกฎหมายเป็นหลักในการแก้ไข ว่าสิ่งใดทำได้ หรือไม่ได้ตามที่กฎหมายกำหนด

ส่วนมาตรา 64 ที่เป็นปัญหาใหญ่นั้น นายจตุพร เผย คาดว่าภายในเดือนกรกฎาคมนี้ จะมีการร่างอนุบัญญัติ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 กำหนดแนวทางแก้ไขต่างๆ เพื่อนำมาบังคับใช้ให้แล้วเสร็จ

อย่างไรก็ตาม การผ่านกฎหมายใหม่สองฉบับเพื่อยกเลิก พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เกิดขึ้นหลังจากการดำเนิน “นโยบายทวงคืนผืนป่า” ตลอดช่วงระยะเวลาการอยู่ในอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านการออกคำสั่ง คสช. ที่ 64/2557 และ 66/2557 เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าให้ถึงเป้าหมายที่ร้อยละ 40 ทำให้นโยบายทวงคืนผืนป่าได้นำมาสู่การจับกุมและฟ้องร้องประชาชนที่อาศัยทำกินอยู่ในพื้นที่ป่าอย่างมากมาย