สธ. ชี้ หมอจบใหม่ลาออก เพราะภาระงานหนักเกินตัว

นพ.ทวีศิลป์ รองปลัด สธ. ชี้ปัจจัยหลักที่ หมอจบใหม่ลาออก เพราะ ปัญหาขาดแคลนแพทย์

หมอจบใหม่ลาออกเยอะ ยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการแพทย์ที่มีมานานและเหมือนว่าจะยังไม่ถูกแก้ไขให้จบลงได้ง่าย ล่าสุดกลายเป็นดราม่าหนัก หลังเพจ เรื่องเล่าจากโรงพยาบาล โพสต์ข้อความพร้อมภาพ แจงยิบ สาเหตุหมอจบใหม่ลาออก พร้อมบอกปีนี้ มีหมอจบใหม่ 2,700 คน ลาออกไปแล้ว 900 คน

ดราม่าหมอจบใหม่ ลาออกเยอะ ปี2566 ลาออกไปแล้ว 900 คน

สังคมตั้งคำถาม คนในหน่วยงานขอทางแก้ไข

ร้อนถึง สธ. ตั้งโต๊ะแถลง!

โดยวันนี้ (6 มิ.ย. 66) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดกระทรวงสาธารณะสุข แถลงยอมรับ ระบบสาธารณะสุขขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์จริง แม้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม ในปี 2561-2570 ให้ได้ปีละ 3,000 คน เท่ากับว่าอีก 10 ปี จะมีบุคลากรแพทย์เพิ่มมา 30,000 คน

แต่ในขณะนี้มีจำนวนแพทย์ในระบบที่ขึ้นต่อทะเบียนสภา ราว 5-6 หมื่นคน อยู่ในสังกัด สธ. 24,600 คน คิดเป็น 48% และในระบบหลักประกันสุขภาพ 45 คน คิดเป็น 70% ของประชากร

ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงภาระงานที่แพทย์ 1 คนต้องเจอ เฉลี่ย แพทย์ 1 /ผู้ป่วย 2,000 คน จำนวนผู้ป่วยที่เยอะเกินไป ไม่สมดุลต่อแพทย์ที่มี ทำให้แพทย์ต้องแบกรับภาระงานเกินหน้าที่ ซึ่งตามมาตาราฐานแล้วต้องมี แพทย์ 3 คน/ ผู้ป่วย 1,000 คน

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า เมื่อผลิตแพทย์แล้วจะมีการจัดสรรแพทย์ที่ทำสัญญากับ สธ. คำนวณจากโควตาที่ผลิตแพทย์ปีละ 3,000 คน แต่บางส่วนไม่จบตามกำหนดอาจเหลือ 2,700 คน/ปี ทำให้แพทย์ที่เข้ามาเติมใน ระบบ สธ. ไม่ได้ตามที่ขอไป เพราะต้องจัดสรรให้กับทางกลาโหมด้วย

การเรียนแพทย์ 6 ปี และปีที่ 7 เรียก แพทย์ใช้ทุน ปี1 หรือ อินเทิร์น และแพทยสภากำหนดว่าต้องให้เพิ่มทักษะอีก 1 ปี เพื่อให้มีทักษะในการเจอเคสต่างๆ จึงเป็นที่มาของเอ็กเทิร์นในปีที่ 7 คือสังกัด สธ. และทำให้เด็กจบแพทย์มาอยู่ที่ สธ. ซึ่งต้องทำหน้าที่สอนด้วย และในความคาดหวังของน้องๆ ที่แพทยสภาส่งมาคือ การเพิ่มพูนทักษะ แต่ของ สธ. คือทำงานเลย เมื่อมาผสมกันทั้งสอนและทำงานด้วย ซึ่ง สธ. ได้จัดสรรที่นั่ง โดยมีโรงพยาบาล 117 แห่งรองรับแพทย์ แต่ในความเป็นจริงมีไม่ถึง ทำให้ทุกโรงพยาบาลมี ปัญหาขาดแคลนแพทย์

ส่วนประเด็นที่เกิดภาระงาน เนื่องจากตัวเลขที่จบน้อยและจัดสรรน้อย ขณะที่การรองรับบริการทางด้านสาธารณสุขเยอะ ทำให้เกิดเวิร์กโหลด และทำให้ต้องพึ่งกำลังแพทย์ 20,000 คน ที่มีตัวเลขอยู่รับผิดชอบ 75% โดยก่อนหน้านี้พบว่า มีโรงพยาบาลที่แพทย์ต้องทำงานมากกว่า 64 ชม./สัปดาห์ ถึง 9 แห่ง จาก 117 โรงพยาบาล ซึ่งตามมาตรฐานโลกต้องไม่เกิน 40 ชม./สัปดาห์

ปัญหาเวิร์กโหลดที่บุคลากรทางการแพทย์เจอนั้น หน่วยงานพยายามจะทำให้ลดลง แต่ยังทำได้ไม่เต็มที่

กรณีปัญหาค่าตอบแทน และบ้านพักสวัสดิการ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. เผย ปัญหามีแนวโน้มดีขึ้นกว่าเดิม โดยค่าตอบแทนได้เพิ่มแล้ว ส่วนบ้านพักสวัสดิการ หน่วยงานได้ตั้งของบให้บุคลากรไปแต่ถูกตัดทุกปี ส่วนภาระงานที่มากนั้น ยอมรับว่า แก้ยาก เนื่องจากจำนวนแพทย์ที่มีน้อยในขณะนี้

ทางแก้ที่วางไว้คือ ปรับรอบอัตราการผลิตแพทย์เพิ่ม ในปี 2565-2569 จำนวน 35,000 คน ดังนั้นในปี 2569 จะมีแพทย์เพิ่มขึ้นอีก 11,000 คน

ได้ปรับรอบอัตรากำลังใหม่ 2565-2569 จำนวน 35,000 คนในปี 2569 เพิ่มขึ้นอีก 11,000 คน