วันที่ 25 เมษายน วันมาลาเรียโลก World Malaria Day

ยุงก้นป่อง พาหะนำโรคร้าย ร่วมตระหนัก ทุกวันที่ 25 เมษาฯ ของทุกปี วันมาลาเรียโลก World Malaria Day

วันนี้ (25 เม.ย.66) 25 เมษายน วันมาลาเรียโลก (World Malaria Day)

ในปี 2541 องค์การอนามัยโลกได้ก่อตั้งกลุ่ม Roll Back Malaria Partnership เป็นกลุ่มระดับโลกในการต่อต้านโรคมาลาเรีย โดยมีเป้าหมาย เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของ “โรคมาลาเรีย”

ในปี 2547 กลุ่มประเทศทางตอนใต้ ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา โรคมาลาเรียได้คร่าชีวิตผู้คน และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ไปมากกว่าล้านราย สร้างความเสียหายในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 60 (พ.ศ. 2550) องค์การอนามัยโลกได้ลงมติกำหนดให้ทุกวันที่ 25 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันแอฟริกามาลาเรีย (Africa Malaria Day) เป็นวันมาลาเรียโลก (World Malaria Day)

อาการและอาการแสดง

อาการและอาการแสดงของมาลาเรียไม่มีลักษณะพิเศษบ่งเฉพาะ โดยมากจะมีอาการนำคล้ายกับเป็นหวัด คือ มีไข้ต่ำๆ ปวดศรีษะ ปวดตามตัวและกล้ามเนื้อ อาจมีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาการนี้จะเป็นเพียงระยะสั้น เป็นวัน หรือหลายวันก็ได้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการฟักตัวของเชื้อ ชนิดของเชื้อ จำนวนของ sporozoite ที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไป

การรักษามาลาเรีย แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1. การรักษาจำเพาะ คือการให้ยา schizontocide กำจัดเชื้อมาลาเรียที่เป็น schizont ซึ่งเป็นระยะไร้เพศในเม็ดเลือดแดง การเลือกชนิดของยา schizontocide นั้น ควรพิจารณาประสิทธิภาพของยาต่อเชื้อมาลาเรีย ตามลักษณะการดื้อยาของเชื้อมาลาเรียในพื้นที่ต่างๆ กัน

2. การบำบัดอาการและภาวะแทรกซ้อน คือ การบำบัดอาการและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ป่วยยังมีเชื้อมาลาเรีย หรือภายหลังที่เชื้อมาลาเรียหมดแล้ว โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาลาเรีย falciparum ถ้าได้รับการรักษาช้า จะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้

3. การป้องกันการแพร่โรค คือ การใช้ยา gametocytocide ฆ่าเชื้อมาลาเรียระยะติดต่อ คือ gametocyte โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่อยู่ในท้องที่ที่มียุงเป็นพาหะ

มาลาเรีย เป็นโรคที่มาพร้อมกับหน้าร้อน มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค ฝากผู้ปกครองดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด และหมั่นตรวจสอบจุดน้ำขังบริเวณบ้านด้วยนะคะ เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมาไข่ทิ้ง กลายเป็นที่เพาะพันธุ์ยุงต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ไลบรารี่สยาม, เว็บไซต์โรงพยาบาลวิภาวดี, เว็บไซต์วิกิพีเดีย และเว็บไซต์องค์กรอนามัยโลก