ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เป็นมะเร็งผิวหนังจริงหรือ?

ระวัง! ข่าวปลอม เช็กให้ดีก่อนเเชร์ วัคซีนไฟเซอร์ ทำให้เป็นมะเร็งผิวหนัง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขตรวจสอบเเล้ว

วันที่ 30 ม.ค 66 เพจเฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยประเด็นเรื่องมะเร็งผิวหนังที่เกิดจากผลของวัคซีนไฟเซอร์ จึงได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีที่มีการโพสต์ข้อความบนสื่อโซเซียลระบุว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ทั้งสามโดสตามคำเเนะนำของเเพทย์ ตอนนี้กลายเป็นมะเร็งผิวหนังระยะลุกลาม ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลเเละชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่มีรายงานของการเกิดมะเร็งหรือระบบต่างๆ รวมถึงมะเร็งผิวหนัง ไม่พบการเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน เเละในฐานข้อมูลต่างๆ รวมถึงของบริษัท US CDC ก็ไม่มีรายงานการเกิดมะเร็งต่างๆ รวมถึงมะเร็งผิวหนังเเต่อย่างใด

ปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนมากกว่า 667 ล้านโดสในสหรัฐอเมริกา ในจำนวนนี้วัคซีนไฟเซอร์ประมาณ 400 ล้านโดส พบว่าวัคซีนมีความปลอดภัยสูง และมีประสิทธิภาพที่ดี โดยอาการข้างเคียงที่พบบ่อย เป็นอาการไม่รุนเเรง เช่น ปวดบริเวณที่ฉีด หรืออาจมีไข้ต่ำ สำหรับอาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่น การเเพ้วัคซีน พบได้น้อยมาก เมื่อผู้ที่ได้รับวัคซีนไปเเล้ว มีการเกิดผลข้างเคียงหรือโรคที่รุนเเรงตามมา สิ่งที่ต้องนึกถึงเสมอคือวัคซีนอาจจะมีความเกี่ยวข้อง หรือไม่มีความเกี่ยวข้องก็ได้

เพื่อไม่ส่งต่อข่าวปลอมให้เพื่อนหรือคนใกล้ชิด ตรวจสอบข้อมูลให้แน่ใจก่อนแชร์นะคะ

คลิปอีจันแนะนำ
ครูบาไก่ ปลงอาบัติ ขอขมารับผิด