นายกฯร่วมประชุม เห็นชอบกำหนด 4 มาตรการ เร่งแก้ปัญหาอาวุธปืน – ยาเสพติด

นายกฯ เห็นชอบ 4 มาตรการ เเก้ปัญหา อาวุธปืน-ปราบปรามยาเสพติด-ฟื้นฟูบำบัด-ดูแลสุขภาพจิต” ไม่ให้ซ้ำรอยกราดยิง

วันนี้ (12 ต.ค.65) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม เพื่อกำหนดมาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอาวุธปืน ณ ทำเนียบรัฐบาล

โดยรัฐบาลได้มีการกำหนดให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และคิดว่าควรมี “มาตรการเพิ่มเติม” จากโครงสร้างกลไกการป้องกันเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเป้าหมาย คือ หน่วยงานต้องมีกำหนดมาตรการเร่งด่วนที่เป็นระบบ รวดเร็ว มีผลเป็นรูปธรรม เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และป้องกันเหตุที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

โดยที่ประชุมฯ ได้มีการเห็นชอบให้มี4 มาตรการสำคัญที่ต้องดำเนินการให้เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาอาวุธปืนและยาเสพติด ดังนี้

1. มาตรการเกี่ยวกับอาวุธปืน

1.1 กวดขันการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน และกระสุนปืนอย่างเข้มงวดในการออกใบอนุญาต การต่อใบอนุญาตและการพกพา

1.2 ผู้ยื่นคำขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตรงตามกฎหมาย มีการตรวจสอบและรับรองทางจิตว่าไม่เป็นผู้วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน/สำหรับในส่วนความประพฤติหรือพฤติกรรมต้องได้รับการรับรองจากผู้บังคับบัญชา ชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ว่าไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคม และมีมาตรการตรวจสอบทบทวนเพื่อพิจารณาคุณสมบัติในทุกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม

1.3 เพิกถอนใบอนุญาตพกพาอาวุธปืน เมื่อพบปัญหาทางจิต พฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม การใช้ยาเสพติด และมีพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม

1.4 กวาดล้างจับกุมอาวุธเถื่อนและการซื้อขายออนไลน์อย่างจริงจัง

1.5 ทบทวนกฎหมายที่จำเป็นให้มีความทันสมัย

2. มาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

2.1 ควบคุมการนำเข้าและส่งออกสารเคมีที่นำไปใช้ผลิตยาเสพติด “โซเดียมไซยาไนต์”

2.2 เร่งติดตาม สืบสวนขยายผล ทำลายเครือข่ายนักค้ายาเสพติดและยึดอายัดทรัพย์สิน

2.3 บูรณาการนำผู้เสพเข้าระบบศูนย์ข้อมูลที่ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงาน ป.ป.ส.

2.4 ทบทวนกรณีผู้เสพเป็นผู้ป่วย โดยเฉพาะประเด็นปริมาณการครอบครอง เพื่อนำไปสู่การบำบัดฟื้นฟู

2.5 สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

3. มาตรการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

3.1 ค้นหา คัดกรองผู้ป่วย SMIV เข้าสู่สถานฟื้นฟูฯ ภาคีเครือข่าย

3.2 เร่งรัดการจัดตั้งศูนย์คัดกรองให้ครอบคลุมทุกตำบล ทั้ง สธ.และ อปท. และสถานบำบัดรักษาที่มีมาตรฐานสากล

3.3 บูรณาการการบำบัดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Treatment) ให้ครอบคลุมทุกตำบล

3.4 พัฒนาพฤตินิสัย ร่วมกับการบำบัดฟื้นฟู โดยเฉพาะกลุ่มที่ก่อความรุนแรง หรือเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง และใช้กำไล EM เพื่อการติดตามดูแล

4. การพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต

4.1 จัดตั้งระบบดูแลสุขภาพจิตใน โรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่ง / สถานประกอบกิจการที่มีพนักงานมากกว่า 100 คน / หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอาวุธร้ายแรง

4.2 ทำการบำบัดฟื้นฟูทันที โดยจัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดทุกอำเภอ จัดตั้งหน่วยบูรณาการ จิตเวชฉุกเฉินทุกอำเภอ ระบบดูแลเบื้องต้นทางจิตเวชทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

4.3 ใช้ชุมชนบำบัด เพิ่มสิทธิประโยชน์ในการรักษาจิตเวชทางไกล การดูแลต่อเนื่องในชุมชนในผู้ป่วยจิตเวชเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง

คลิปแนะนำอีจัน
ก๋วยเตี๋ยวลุยน้ำ คู่แข่ง ลุยสวน!