จับ! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างชื่อคนดัง หลอกขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ปคบ. ร่วม อย. แถลงจับ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างชื่อคนดัง หลอกขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ – เงินหมุนเวียนกว่า 600 ล้านบาท

6 ก.ย. 65 ตำรวจ ปคบ. พร้อมด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงข่าวจับกุมเครือข่ายคอลเซ็นเตอร์ สร้างข้อมูลเท็จหลอกขายผลิตภัณฑ์สุขภาพ แอบอ้างบุคคลผู้มีชื่อเสียง จนมีผู้บริโภคหลงเชื่อในสรรพคุณของสินค้า เป็นจำนวนมาก

สำหรับการจับกุม สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 65 ได้มีดีเจสาว มาแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. ว่าพบเพจเฟซบุ๊กชื่อ Center for the health of the nation ได้นำรูปถ่ายของตนจากอินสตาแกรมส่วนตัว ไปทำการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก Efferin โดยที่ตนเองไม่ได้มีส่วนรู้เห็น หรือเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว

หลังรับแจ้ง ตำรวจจึงได้ทำการสืบสวนอย่างต่อเนื่อง จนทราบว่า บริษัทดังกล่าวได้มีการโฆษณาและจัดจำหน่ายสินค้าจริง อีกทั้งยังพบว่าบริษัทดังกล่าวยังมีการโฆษณาโดยใช้ข้อความอันเป็นเท็จเพื่อหลอกลวงผู้บริโภค และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นที่ผิดกฎหมายอีกจำนวนหลายรายการ

โดยบริษัทดังกล่าวจะมีการจะมีการใช้ข้อความอันเป็นเท็จในการโฆษณาขายสินค้า, มีการตัดต่อรูปภาพบุคคลที่มีชื่อเสียง, แพทย์หรือสถานพยาบาลชื่อดัง มาใช้ประกอบกรโฆษณา และมีการจัดทำผู้ซื้อสินค้าและผู้รีวิวการใช้ปลอมขึ้น เพื่อหลอกหลวงผู้บริโภคให้หลงเชื่อในสรรพคุณของสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์สำหรับปลูกผมมีการตัดต่อภาพของ กิตติ สิงหาปัด ในรายการข่าว 3 มิติ มาใช้ประกอบการโฆษณา

รวมถึงมีการใช้ข้อความอันเป็นเท็จ บรรยายสรรพคุณเกินจริง เช่น จากการพิสูจน์ทางการแพทย์พบว่า การใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เร่งการเจริญเติบโตของเส้นผม 380%, เพิ่มปริมาณเส้นผม, ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเส้นผมใหม่, ป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผม, สร้างเส้น, ผมที่เงางามและดกดำมากขึ้น, แพทย์ชื่อดังเผยวิธีรักษาผมร่วง ผมบาง ทำได้ด้วยตัวเองที่ไม่ถึง 30 บาทต่อวัน ผมงอกใหม่ หนาขึ้น, สวยเงางามจนต้องเผลอมอง, นักวิทยาศาสตร์ขนานนามสิ่งนี้ว่า “การบำบัดการหลุดร่วงของเส้นผมอย่างถาวร”

เมื่อผู้บริโภคหลงเชื่อข้อความการบรรยายสรรพคุณเกินจริงดังกล่าว จะทำการสั่งซื้อโดยกรอกรายละเอียดของผู้ซื้อ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับผ่านเว็บไซต์ จากนั้นฝ่ายขายของบริษัท ซึ่งทำงานในสักษณะคอลเซ็นเตอร์ จะติดต่อกลับไปหาผู้ซื้อ เพื่อบรรยายสรรพคุณเกินจริง โน้มน้าวให้ผู้ซื้อหลงเชื่อตัดสินใจซื้อสินค้า

ซึ่งภายหลังจากที่ผู้บริโภคได้ใช้สินค้าเพื่อสุขภาพดังกล่าว ก็พบว่าสินค้าตังกล่าวมิได้มีสรรพคุณตามที่โฆษณาหลอกลวงไว้แต่อย่างใด

เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก 4 บก.ปคบ. จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขอหมายจับกลุ่มผู้ต้องหาดังกล่าว จำนวน 4 ราย คือ นายมนัสศิริ, นายพิศิษฐ์, นายธิติพัทธ์ และ น.ส.อิสรีย์ (ขอสงวนนามสกุล) ในข้อหา “ร่วมกันโฆษณาเครื่องสำอางโดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม โดยใช้ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง โดยใช้ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง โดยใช้ช้อความที่แสดงสรรพคุณที่เป็นการรักษาโรคหรือที่มีใช่จุดมุ่งหมายเป็นเครื่องสำอาง, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์นเป็นท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา”

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 65 ตำรวจ กก. บก.ปคบ. พร้อมด้วย ตำรวจ บก.ปอท. ได้จับกุม น.ส.อิสรีย์ และนายพิศิษฐ์ ตามหมายจับข้างต้น พร้อมประสาน อย. เข้าตรวจค้นสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทดังกล่าว

ผลการตรวจค้น สามารถตรวจยืดพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดได้จำนวนหลายรายการ เช่น คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ และเอกสารต่างๆ พร้อมทั้งตรวจยึดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ ผิดกฎหมาย จำนวน 33 รายการ มูลค่าประมาณ 24 ล้านบาท

จากนั้นเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 65 ตำรวจจับกุม นายมนัสศิริ และ นายธิติพัทธ์ ได้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ขณะกำลังเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ

จากการสอบถามผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา แต่ให้การรับว่า บริษัทประกอบกิจการเกี่ยวกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในลักษณะคอลเซ็นเตอร์ ผ่านทางช่องทางออนไลน์ โดยมี นายธิติพัทธ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น มีหน้าที่ให้การบริหารจัดการดูแลบริษัท และ น.ส.อิสรีย์ ซึ่งเป็นน้องสาวของนายธิติพัทธ์ มีหน้าที่ให้การดูแลด้านการเงินของบริษัท

ส่วนการโฆษณาสินค้า บริษัทได้ว่าจ้างบริษัทในประเทศเวียดนาม, สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ร่วมกันสร้างข้อความอันเป็นเท็จในการโฆษณาขายสินค้า มีการตัดต่อรูปภาพบุคคลที่มีชื่อเสียง แพทย์หรือสถานพยาบาลชื่อดัง มาใช้ประกอบกรโฆษณา และมีการจัดทำผู้ซื้อสินค้าและผู้รีวิวการใช้ปลอมขึ้นมา เพื่อให้ผู้บริโภคหลงเชื่อในสรรพคุณของสินค้า

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเพิ่มเติม พบว่า ระหว่างเดือน ม.ค. 65 – มิ.ย. 65 บริษัทผู้ต้องหามีรายได้จากการหลอกหลวง ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ผู้บริโภค ประมาณ 219 ล้านบาท มีการจ่ายเงินค่าโฆษณาไปยังประเทศเวียดนาม, สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมเป็นเงินจำนวน 188 ล้านบาท อีกทั้งบริษัทยังมีเงินหมุนเวียนทั้งสิ้นมากกว่า 660 ล้านบาท

คลิปอีจันแนะนำ
ดีด เต้น กลางถนน โดนตัวไหนมาลูกพี่?