ทำความรู้จัก โรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยด์ โรคหน้าฝนที่มาจาก ดิน

โรคเมลิออยด์ หรือ โรคไข้ดิน ที่มากับหน้าฝนโรคติด เชื้อแบคทีเรีย ที่อยู่ในดินและน้ำสามารถพบได้ทั่วประเทศไทย มีอัตราการป่วยตายสูง

โรคติดเชื้อในประเทศไทยที่ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องโรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยโดสิส ซึ่งความรุนแรงของโรคทำให้เสียชีวิตได้ หากติดเชื้อในกระแสเลือด จึงควรทำการศึกษาร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจและปฏิบัติตนให้เหมาะสม

โรคเมลิออยด์ หรือ เมลิออยโดสิส (Melioidosis)

เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ปนเปื้อนมาในน้ำและดิน แพร่กระจายสู่คนผ่านการสัมผัสเชื้อโดยตรงหรือโดยการติดต่อจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น สุนัข แมว หมู ม้า วัว ควาย แกะ แพะ เป็นต้น พบอัตราการป่วยมากที่สุดในช่วงฤดูฝน โดยในประเทศไทยจะพบมากในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นโรคที่มีอัตราการป่วยตายสูง

นอกจากนี้ ทั้งคนและสัตว์ต่างเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อจากการสูดหายใจเอาฝุ่นผงเข้าไป ทั้งการได้รับละอองน้ำเล็ก ๆ หรือการรับประทานน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้เจือปนอยู่ ยิ่งในฤดูฝนจะเป็นช่วงที่เชื้อแพร่กระจายได้ง่ายที่สุด ส่วนการแพร่กระจายระหว่างมนุษย์กับมนุษย์นั้นมีการรายงานว่าพบได้น้อย

อาการติดเชื้อองโรคเมลิออยด์

การติดเชื้อผ่านทางผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการแผลเรื้อรัง เกิดฝีหรือหนองตามผิวหนัง และอาจมีตุ่มขึ้น เป็นที่อยู่ของเชื้อแบคทีเรีย หากรับเชื้อผ่านทางน้ำลาย เช่น การรับประทาน จะทำให้ติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย มีลักษณะบวมขึ้นมาเป็นฝีหรือหนอง หรืออาจบวมบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่คอ มีอาการกดเจ็บได้

เมื่อเกิดการติดเชื้อในปอด จะทำให้มีอาการไข้ขึ้น และอาการทางเดินหายใจ ไอ มีเสมหะ หากนำเสมหะมาตรวจดูอาจพบเชื้อได้ และหากเอ็กซเรย์ที่ปอดอาจพบก้อนหนอง บางครั้งแพทย์สับสนระหว่างวัณโรค

การติดเชื้อในกระแสเลือด เชื้อสามารถเข้าทางผิวหนังหรือปอด เช่น กรณีที่มีบาดแผล เชื้ออาจเข้าทางบาดแผลและติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ความดันโลหิตต่ำ ช็อค เป็นฝีในตับหรือในม้าม สามารถเสียชีวิตได้ภายใน 2-3 วัน หากได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง นอกจากการติดเชื้อตามที่กล่าวมา ยังมีการติดเชื้อชนิดเรื้อรังอีกหนึ่งประเภทในโรคเมลิออยโดสิส

ปัจจัยเสี่ยง

ผู้ที่ทำการสัมผัสดินและน้ำจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเมลิออยด์ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องสัมผัสดินและน้ำเป็นเวลานานๆ เช่นเกษตรกร ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันทางเซลล์ลดลง (Cell Mediated Immunity) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง จะมีความเสี่ยงสูงมากในการติดเชื้อเมลิออยด์

สำหรับโรคอื่นๆ ที่พบว่ามี ความเสี่ยงในการติดเชื้อเมลิออยด์ประกอบไปด้วย โรคทาลัสซีเมีย โรคมะเร็ง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา ด้วยเคมีบำบัด การรับประทานสุราและการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเมลิออยด์ อย่างไรก็ตามผู้ป่วย เมลิออยด์ร้อยละ 25 ไม่มีประวัติโรคประจำตัวใดๆ แต่มาตรวจพบว่ามีน้ำตาลในเลือดสูงเมื่อแรกรับ และอีกร้อยละ 25 ไม่มีโรคประจำตัว แม้ว่าจะทำการตรวจหาแล้วก็ตาม ดังนั้นแพทย์จึงไม่ควรวินิจฉัยแยกโรคเมลิออยด์ออกเพียงเพราะว่าผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว

ระยะฟักตัว

ผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลันจะอยู่ระหว่าง 1-21 วัน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 9 วัน ผู้ป่วยร้อยละ 90 ที่มาโรงพยาบาลมักเป็นผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลัน (Acute infection) ผู้ป่วยร้อยละ 10 อาจมาด้วยอาการเรื้อรัง (Chronic infection) หรือจากการแสดงออกของการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการใน อดีต (Latent infection) การติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการนั้นระยะฟักตัวอาจนานเป็นเดือน จนถึงหลายปี(นานที่สุดที่เคยมีรายงานคือ 62 ปี) และผู้ป่วยเหล่านี้มักจะมีอาการเมื่อมีภูมิคุ้มกันลดลง เช่น มีอาการเบาหวาน หรือ มีการติดเชื้ออื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่

การรักษา

1.แยกผู้ป่วยไม่ให้ผู้อื่นสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากทางเดินหายใจและโพรงจมูก

2.นำสารคัดหลั่งสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย เช่น เลือด ปัสสาวะ เสมหะ หรือหนอง มาเพาะเลี้ยง แล้วนำมาทดสอบดูว่ามีเชื้อนี้อยู่หรือไม่ ซึ่งจะใช้เวลา 3-5 วันจึงจะรู้ผล

3.พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วย โดยให้ยาฉีดในระยะแรก 2 สัปดาห์ และให้ยารับประทานต่อจนครบ 20สัปดาห์เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

4.เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว การใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ยาที่นิยมใช้กันได้แก่ tetracycline, chloramphenicol, kanamycin, cotrimoxazole และ novobiocin ที่ใช้ได้ผลดีคือ ceftazidime 4 กรัม/วัน นาน 1 เดือน ต่อเนื่องด้วย tetracycline นาน 6 เดือน

5.ปัจจุบันมีแนวทางการรักษาแบบยาชนิดเดียว โดยใช้ ceftazidime 120 มก./กก./วัน โดยฉีดเข้ากล้าม หรือฉีดเข้าเส้นเลือดนาน 14 วัน ในผู้ป่วยอาการหนัก ซึ่งให้ผลอัตราการรอดชีวิตประมาณร้อยละ 60 แบะการรักษาแบบยา 2 ชนิด ceftazidimne 100 มก./กก./วัน ร่มกับ cotrimoxazole นาน 7 วัน อัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยหนักถึงร้อยละ 70-75จากนั้นผู้ป่วยควรได้ยาชนิดรับประทานต่อไป

6.ในรายที่ฝีจะต้องมีการผ่าตัดเอาฝีออกซึ่งจะให้ผลดีกว่าการใช้เข็มเจาะหรือดูดเอาแต่หนองออกการทำผ่าตัดควรทำเมื่อตรวจไม่พบเชื้อในกระแสโลหิตแล้ว

7.โรคเมลิออยโดสิสนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยเนื่องจากพบมีอัตราป่วยตายสูงโดยเฉพาะผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตและมักพบอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตในคนที่เป็นโรคเรื้อรังเช่นโรคเบาหวานโรคไตทั้งนี้มักมีการกลับซ้ำของโรคในกรณีให้การรักษาระยะสั้นและผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง นอกจากนั้นอาการของโรคยังคล้ายกับโรคติดเชื้ออื่นหลายโรคอาจทำให้วินิจฉัยผิดได้ซึ่งจะมีผลต่อการรักษาเพราะการรักษาโรคเมลิออยโดสิสมีรูปแบบจำเพาะไม่เหมือนโรคติดเชื้ออื่นและยามีราคาค่อนข้างแพงจึงจำเป็นต้องพัฒนาวิธีตรวจกรองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถตรวจได้ทุกห้องปฏิบัติการ

การป้องกันโรค

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเมลิออยโดสิสการควบคุมป้องกันโรคทำได้ยากเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ต้องสัมผัสดินและน้ำขณะทำงานผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานบกพร่องผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคเรื้อรังหรือมีบาดแผลที่ผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินโดยสวมรองเท้าบูทขณะทำงานลุยน้ำลุยโคลนรวมทั้งบุคคลที่มีอาการของโรคเบาหวานและแผลบาดเจ็บรุนแรงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำเช่นในไร่นา

ป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลเมื่อต้องสัมผัสดินและน้ำหรือรีบทำความสะอาดร่างกายหลังการทำงานในบุคคลที่มีอาการของโรคเบาหวานและแผลบาดเจ็บรุนแรงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดินและน้ำถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้อาจต้องสวมถุงมือรองเท้ายางเพื่อป้องกัน

หากมีแผลถลอกหรือไหม้ซึ่งสัมผัสกับดินหรือน้ำในพื้นที่ที่เกิดโรคควรทำความสะอาดทันที

เมื่อมีบาดแผลและเกิดมีไข้หรือเกิดการอักเสบเรื้อรังควรรีบไปพบแพทย์นอกจากนี้แล้วการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆและการดูแลสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆได้

การป้องกันโรคเป็นไปได้ยากเพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนาที่ต้องทำงานสัมผัสดินและน้ำซึ่งในถิ่นระบาดพบเชื้อสาเหตุอยู่ทั่วไป

ขอบคุณข้อมูล ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ , / www.melioidosis.info / คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

คลิปแนะนำอีจัน
อูน Diamond Grains เมื่อนักธุรกิจ ก้าวสู่การเป็นบุคคลสาธารณะ