Must Have – Must Carry กฎเหล็ก กสทช.เรื่องน่ารู้ที่คอกีฬาไม่ควรพลาด

มัสต์แฮฟ (Must Have) และ มัสต์แคร์รี่ ( Must Carry ) ? กฎเหล็ก ของ กสทช. เกี่ยวอะไรกับจอดำ ดาบ 2 คมของคอกีฬาเรื่องน่ารู้ที่ไม่ควรพลาด

เคยได้รู้จักกันไหม มัสต์แฮฟ (Must Have) และ มัสต์แคร์รี่ ( Must Carry ) คำศัพท์เทคนิคที่กลับมามีการพูดถึงอีกครั้งหลายคนอาจสงสัย ? โดยศัพท์เทคนิคนี้มีการพูดถึงบ่อยครั้งจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เกี่ยวกับรายการทีวีที่มีความสำคัญ ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถดูได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นมัสต์แฮฟ (Must Have) และ มัสต์แคร์รี่ ( Must Carry ) คืออะไร ? และมีผลบนความเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์รายการกีฬาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไรมาทำความรู้จักกัน

must carry

must carry คือ ประกาศ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศนท์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป เป็นประกาศที่ออกมาเพื่อป้องกันจอดำ โดยกำหนดให้รายการใน”ฟรีทีวี” ต้องสามารถดูได้ผ่านทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นภาคพื้นดินหรือระบบผ่านดาวเทียมหรือเคเบิ้ลทีวี ไม่ว่าจะมีค่าสมาชิกหรือไม่ก็ตาม ซึ่งในปัจจุบันมีฟรีทีวีที่อยู่ในรายการ must carry แค่ 6 ช่อง 3, 5, 7, 9, 11, และ ไทยพีบีเอส แต่ในอนาคตรายการ must carry จะเพิ่มขึ้นเป็น 36 ช่อง คือ ทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ 24 ช่อง และทีวีดิจิตอลบริการสาธารณะ 12 ช่อง (ไม่รวมทีวีดิจิตอลบริการชุมชน 12 ช่อง ซึ่งแต่ละชุมชนจะมีช่องไม่เหมือนกัน) เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถรับชมการเผยแพร่กีฬาที่สำคัญของโลกได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

must have

must have คือ ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สําคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะทางฟรีทีวี ประกาศนี้ออกมาปี 2555 หรือปี 2012 ก่อนฟุตบอลโลก 2014 โดยออกมาเพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงเนื้อหารายการโทรทัศน์ได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งกำหนดรายการทีวีที่สำคัญ ให้ออกอากาศได้เฉพาะฟรีทีวีเท่านั้น ซึ่งบริการทีวีระบบบอกรับสมาชิก เช่น ทรู, CTH, หรือเคเบิ้ลทีวีอื่นๆก็จะดูได้ผ่านทางช่องฟรีทีวีเช่นกัน

  • การแข่งขันกีฬาระหวางประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือกีฬาซีเกมส์ (South-East Asian Games, SEA Games)

  • การแข่งขันกีฬาสำหรับนักกีฬาคนพิการอาเซียนพาราเกมส์ (ASEAN Para Games)

  • การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย หรือเอเชียนเกมส์ (Asian Games)

  • การแข่งขันกีฬาสาหรับนักกีฬาคนพิการเอเชียนพาราเกมส์ (Asian Para Games)

  • การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games)

  • การแข่งขันกีฬาสาหรับคนพิการหลายประเภทจากทั่วโลก หรือกีฬาพาราลิมปิก (Paralympic Games)

  • การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดทาย้ (FIFA World Cup Final)

โดยผู้ที่ซื้อลิขสิทธิ์เกี่ยวกับกีฬา 7 มหกรรมที่จะนำมาเผยแพร่ในประเทศจะต้องปฏิบัติตามภายใต้สภาพบังคับทางกฎหมายดังกล่าวด้วย พร้อมกับต้องแจ้งเจ้าของลิขสิทธิ์ในต่างประเทศทราบว่ามีระเบียบดังกล่าว เพื่อไม่ให้มีผลต่อการละเมิดลิขสิทธิ์