เกาะพะงัน จะไร้ถัง ไร้ขยะ

เริ่มเเล้ว ! “รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง” MOU เเก้ไข้ปัญหาขยะ ล้นลงสู่ทะเล เริ่มที่เกาะพะงันที่เเรก สร้างโมเดล ขยายไปสู่เกาะอื่นๆ

เกาะพะงัน จะไร้ขยะ เเล้วนะ!

อีจันมาที่เกาะพะงันค่ะ มาดูการจัดการขยะบนเกาะพะงัน ที่อยู่ภายใต้โครงการ Green Living “รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง” เกิดขึ้นจากนโยบาย 7 Go Green เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมงของ บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่นและเซเว่น เดลิเวอรี่

ต้องเล่าย้อนกลับไปก่อนค่ะว่า

ข้อมูลสถิติปี 2564 สถานการณ์ขยะในประเทศไทย ติดอันดับ 5 ของโลกจากการที่มีขยะพลาสติก ล้นทะเล ซึ่งเกิดมาจากการทิ้งขยะ บนพื้นดินแล้วไหลลงสู่ทะเล

สิ่งของที่พบเป็นขยะในทะเลมากที่สุด

1. ก้นบุหรี่

2. บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร

3. ขวดเครื่องดื่ม

4. ถุงพลาสติก

5. หมวก

6. ช้อน ส้อม มีดและจาน

7. หลอดและที่คนแก้ว

8. แก้วและขวด

9. กระป๋องเครื่องดื่ม

10. ถุงกระดาษ

ซึ่งขยะเหล่านี้ ส่งผลทำให้เกิด #ภาวะโลกรวน

ไม่ว่าจะเป็น ธารน้ำแข็งละลาย น้ำทะเลสูงขึ้น เกิดภัยเเล้งยาวนาน สัตว์น้ำสูญเสียที่อยู่อาศัยระบบนิเวศถูกทำลายจนกระทั่งสูญพันธุ์ ทะเลเป็นกรด ปะการังฟอกขาวเสี่ยงต่อโรคใต้ทะเล เมื่อคนกินสัตว์ทะเล ก็เสี่ยงโรคตามมาด้วย

นี่จึงเป็นที่มาของ

โครงการ Green Living “รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง”

โครงการ Green Living “รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง”เป็นการต่อยอดขยายผลจาก โครงการต้นกล้าไร้ถัง ถือเป็นความร่วมมือทั้งโรงเรียน ชุมชน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศการจัดการขยะทั้งด้าน Reuse, Recycle, Upcycle มาร่วมแก้ปัญหาขยะ ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมบนเกาะพะงัน โดยร่วมผลักดัน “โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา” ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน และสนับสนุนองค์ความรู้ในการ Upcyling จากขยะพลาสติกสู่ “อิฐรักษ์โลก” เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการจัดการขยะและคัดแยกวัสดุอย่างถูกต้อง ตลอดจนสร้างรายได้จากอิฐรักษ์โลกสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชน

ซึ่งเป้าหมายหลักในการสร้าง Model  Green Living “รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง” เพื่อแก้ปัญหาการจัดการขยะระดับ “เกาะ” และนำ Model ขยายผลไปสู่เกาะอื่นๆ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มักจะมีปริมาณขยะเป็นจำนวนมาก ให้มีปัญหาด้านการจัดการขยะลดลง นำวัสดุต่างๆ ไปรีไซเคิลได้มากขึ้น เเละมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสังคมสีเขียวด้วย

การดำเนินการ คือ

ขั้นตอนเเรก จะส่งเสริมให้เกิดแนวทางในการจัดการขยะที่ต้นทาง ผ่านแนวคิด Green Living  “รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง” ด้วย 3 หลักการ คือ ลด เเยก ขายเครือข่าย

ลด – การใช้พลาสติก หันมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ECO-Packaging

เเยก – คัดแยกวัสดุรีไซเคิล วัสดุย่อยสลาย ออกจากขยะ

ขยายเครือข่าย – เสริมสร้าง รวบรวมองค์ความรู้ในการจัดการต่างๆผ่านการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ การจัดขยะ วัสดุรีไซเคิล วัสดุย่อยสลาย

ขั้นตอนที่สอง คือ จัดให้มีศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในนาม “โรงเรียนไร้ถัง” ของชุมชน ซึ่งที่นี้คือโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา ที่จะพัฒนาไปสู่ “โรงเรียนเกาะพะงันศึกษาไร้ถัง” ต่อไป

ขั้นตอนที่สาม คือ จัดให้มีหลักสูตรการแปรรูปวัสดุรีไซเคิลชนิดต่างๆ รวมถึงการแปรรูปวัสดุย่อยสลาย

ขั้นตอนที่สี่ คือ จัดให้มีเครื่องมือในการบันทึกข้อมูลการจัดการขยะ วัสดุรีไซเคิล วัสดุย่อยสลาย ที่สามารถติดตาม ประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินการของแต่ละหน่วยงานได้

สุดท้าย จัดให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ระหว่าง หน่วยงาน องค์กร ชุมชน บริษัท ห้างร้านบนพื้นที่เกาะพะงัน ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ริเริ่มประสานงานดำเนินโครงการ “เกาะพะงันไร้ถัง”

ซึ่งที่ผ่านมามีโรงเรียนเข้าร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อร่วมภาคีแล้ว ในปีการศึกษา 2566 โครงการต้นกล้าไร้ถังดำเนินการมาถึงรุ่นที่ 4 มีโรงเรียนเข้าร่วม 21 แห่ง ทั้ง 4 รุ่นจำนวน 524 แห่ง

สำหรับผลสำเร็จของการดำเนินโครงการทั้ง 3 รุ่นที่ผ่านมาสามารถช่วยลดปริมาณขยะเหลือ 20 -30% ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 161 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 11,421 ต้น และขยายผลไปยังสถานศึกษาและชุมชนรวมกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ