ผ่าคลอดกับคลอดเองต่างตั้งแต่การพักฟื้นคุณแม่ จนถึงพัฒนาการเด็ก

สมองของเด็กผ่าคลอดกับคลอดตามธรรมชาติ ความจริงที่แม่ต้องรู้ถึงความต่างในการพัฒนา

เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เร็วกว่า

บ้าน เป็นสถานที่ที่ให้ความสบายใจกับทุกคนในครอบครัวมากที่สุด ไม่มีที่ไหนที่จะสะดวกสบายเท่ากับบ้านของตัวเอง โดยเฉพาะคุณแม่ผ่าคลอดที่ต้องการการพักฟื้นในช่วงแรกรวมถึงเจ้าตัวน้อยที่ต้องการดูแลเอาใจใส่ในช่วงแรก เพราะคุณแม่ผ่าคลอดมักใช้เวลาในการฟื้นตัวที่นานกว่า

แม่ผ่าคลอดจะมีวิธีการดูแลตัวเองหลังคลอดที่แตกต่างกับแม่ที่คลอดธรรมชาติ ทำให้ข้าวของที่ใช้ต้องมีการเตรียมพร้อมต่างกัน และการจัดเตรียมบ้านที่แตกต่างกัน เพื่อให้คุณแม่สามารถพักฟื้นได้ดี มีเวลาดูแลลูกน้อยอย่างเต็มที่ และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น

วิธีจัดเตรียมบ้านสำหรับแม่ผ่าคลอดและเด็กผ่าคลอด

  • เตรียมหมอนรองให้นม : แม่ผ่าคลอดอาจมีความลำบากในการให้นมลูก หลังผ่าคลอดคุณแม่ควรให้นมลูกให้เร็วที่สุดเพื่อเริ่มสร้างสมองไวและภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับลูกน้อย โดยการใช้หมอนรองให้นมไว้เหนือท้อง วิธีนี้จะช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้สบายมากขึ้น1

  • เตรียมหมอนหนุนใบใหม่ : การพักผ่อนเป็นสิ่งที่แม่ผ่าคลอดควรทำมากที่สุดถึงแม้ว่าจะมีเวลาพักผ่อนน้อยก็ตาม วิธีที่ช่วยให้แม่ผ่าคลอดหลับสบาย คือ การนำหมอนหนุนสักใบมาหนุนระหว่างขาบริเวณเข่า เพื่อให้ลดอาการเกร็งหน้าท้องของคุณแม่ผ่าคลอด ทำให้คุณหลับได้ยาวนานมากขึ้น

  • ใช้เก้าอี้ที่สามารถปรับระดับได้ : คุณแม่ผ่าคลอดอาจจะหาเก้าอี้ตัวเก่งสักตัวที่สามารถปรับเอนได้ตามความต้องการสำหรับการนั่งพักผ่อน ให้นมลูก ปั๊มนม หรือแม้แต่การทานอาหาร เพื่อลดอาการเจ็บแผลผ่าคลอด 

  • เติมอาหารและของว่างให้เต็มตู้เย็น : หลังผ่าคลอดคุณแม่ควรดื่มน้ำมาก ๆ และทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงอย่างผักและผลไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องผูก และไม่ทำให้ร่างกายขาดน้ำ และช่วงนี้คุณแม่ควรทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวเร็ว

หาผ้าขนหนูที่อ่อนนุ่มเป็นพิเศษ : หลังจากอาบน้ำคุณแม่ควรใช้ผ้าเช็ดตัวที่อ่อนนุ่มเพื่อป้องกันการเสียดสีบริเวณแผลผ่าคลอด

จัดสวนให้เหมาะกับการเดินเล่น : การเดินเบา ๆ รอบบ้านยังเป็นสิ่งที่แม่ผ่าคลอดควรทำเป็นประจำในแต่ละวัน เพื่อให้คุณแม่ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยเริ่มจากการเดินครั้งละ 5 นาที หลังจากนั้นค่อยเพิ่มเวลาขึ้น หรืออาจจะพาลูกน้อยออกมาเดินเล่นด้วยก็ได้

นอกจากการดูแลตัวเองแล้ว คุณแม่ผ่าคลอดจำเป็นต้องดูแลเด็กผ่าคลอดให้มากขึ้น เพราะเด็กที่ผ่าคลอดอาจเสียโอกาสในการพัฒนาสมองและระบบภูมิคุ้มกันตั้งต้นทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ โดยการสร้างสมองไวพร้อมเสริมภูมิคุ้มกันในเด็กผ่าคลอดที่รวดเร็วจากสารอาหารในนมแม่

สมองของเด็กผ่าคลอด ความจริงที่แม่ผ่าคลอดต้องรู้!

จากการเปรียบเทียบภาพสแกนสมองระหว่างระหว่างเด็กคลอดธรรมชาติและเด็กผ่าคลอด เมื่ออายุ 2 สัปดาห์ Deoni (2019) พบว่า สมองของเด็กผ่าคลอดมีการเชื่อมโยงการทำงาน (Brain connectivity) น้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ แถมยังมีการศึกษาที่ชี้ว่า สมองของเด็กผ่าคลอดมีการสร้างไมอีลินบริเวณสมองส่วนของคอร์ปัส คาโลซัม (Corpus Callosum) สมองที่เชื่อมโยงการทำงานระหว่างสมองซีกซ้ายและซีกขวาในเด็กอายุ 3 เดือนจนถึง 3 ปี ในปริมาณที่น้อยกว่า

ไม่เพียงแค่นั้น การผ่าคลอดยังส่งผลต่อพัฒนาการทางระบบประสาทของเด็กอายุ 1 – 5 เดือน ทำให้เด็กมีผลการเรียนรู้และคะแนนพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (gross motor), กล้ามเนื้อมัดเล็ก (fine motor), พัฒนาการทางภาษา (language), การแก้ปัญหา (problem solving) และการช่วยเหลือตัวเองและสังคม (personal-social) อยู่ในระดับต่ำกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ โดยที่ 1 ใน 7 ของเด็กผ่าคลอดช่วงอายุ 4-9 ปี มีคะแนนสอบที่น้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติด้วย

อย่างไรก็ตาม สมองของเด็กวัยทารกยังคงเสริมสร้างได้ ด้วยโภชนาการในนมแม่โดยเฉพาะสฟิงโกไมอีลิน สารอาหารสำคัญที่ช่วยในการพัฒนาสมองของลูกน้อยได้ไว เพราะสมองของเด็กในขวบปีแรกมีพัฒนาการที่ไวมาก ซึ่งเป็นโอกาสทองแห่งการพัฒนาสมองลูกน้อย

o children born to mothers with gestational diabetes,

which is linked with maternal obesity, are at higher risk for

lower neurodevelopment and behavioral problems (33,34).

However, we did not consider maternal BMI and gestational

diabetes in this study, which may have some confounding

effect on the results.

There are several possible mechanisms to explain the

relationship of delivery mode and child overweight and

neurodevelopment. First, the gut microbiota composition was

different by mode of delivery (35–37). The gut microbiota

of children born by cesarean section was seeded from the

mother’s skin and the hospital environment because they were not exposed to the mother’s birth canal. Hence, the infant’s

gut microbiota differs from that of vaginal births (38) and this

difference persists into adolescence or early adulthood (39).

สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารในนมแม่ ต้องเสริมให้เร็ว เพื่อสมองที่ไวกว่า

สมองของลูกน้อยจะเกิดการเรียนรู้ได้ต้องอาศัยการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาท รวมถึง “ไมอีลิน” ในการส่งสัญญาณประสาท เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาท (brain connectivity) ในสมองของลูกน้อยมีเซลล์ประสาทมากมาย แต่มีความสามารถในการส่งสัญญาณประสาทต่างกัน

เซลล์ประสาทที่มี “ปลอกไมอีลิน” จะช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทในสมองได้ไวและเร็วกว่าเซลล์ประสาทที่ไม่มีปลอกไมอีลินถึง 100 เท่า7  ทำให้ลูกน้อยมีสมองไว เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น8  และเกิดการจดจำ การคิดวิเคราะห์ที่รวดเร็ว

นมแม่ มีสารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างปลอกไมอีลินในสมองที่เพิ่มโดยเฉพาะสฟิงโกไมอีลิน ทั้งยังมีโพรไบโอติกที่ช่วยเสริมพัฒนาการทางระบบประสาทของเด็กผ่าคลอดได้ดีขึ้นด้วยการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในลำไส้

เริ่มสร้างภูมิคุ้มกันเด็กผ่าคลอดให้เร็วกว่า เพื่อเกราะป้องกันแรกที่เหนือกว่า

ปกติแล้วทารกที่คลอดธรรมชาติจะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพหรือโพรไบโอติกผ่านทางช่องคลอดของแม่ และการกลืนน้ำคร่ำเข้าไป(9) ต่างจากเด็กผ่าคลอดที่จะถูกนำตัวออกมาทางหน้าท้องของคุณแม่ทำให้เสียโอกาสในการรับจุลินทรีย์ทางช่องคลอด ส่งผลให้ลูกน้อยมีพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันที่ช้ากว่า และยังเสียงต่อพัฒนาการทางสมองที่ช้ากว่าด้วย คุณแม่จึงควรเริ่มเสริมสร้างสมองและระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยให้ไว

ในลำไส้ของคนเราจะมีจุลินทรีย์สุขภาพมากมายหลายชนิด เรียกว่า “ไมโครไบโอตา” ซึ่งปริมาณไมโครไบโอตาในลำไส้มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกันในช่วงแรกของชีวิตในช่วงวัยทารกอย่างมาก เพราะปริมาณจุลินทรีย์สุขภาพจะส่งผลต่อการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาทของเด็กผ่าคลอดได้

บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) จุลินทรีย์สุขภาพที่พบได้มากในนมแม่10 และลำไส้ของเด็กที่คลอดธรรมชาติ11 มีบีแล็กทิส (B. lactis) ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร12 ทั้งยังช่วยให้จุลินทรีย์ในลำไส้

นมแม่ สร้างสมองไวและเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็กผ่าคลอดในช่วงแรกของชีวิต

สมองของทารกจะเริ่มเชื่อมโยงพัฒนาการตั้งแต่วินาทีแรกที่ลูกน้อยเกิดมา นมแม่เป็นโภชนาการแรกที่เด็กควรได้รับตั้งแต่แรกเกิด เพราะเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่จำเป็นต่อการสมองของเด็กโดยเฉพาะ “สฟิงโกไมอีลิน” ที่ช่วยในการสร้างปลอกไมอีลิน ให้ลูกน้อยสามารถคิดได้เร็ว เรียนรู้ได้ไวทั้งยังมีบีแล็กทิส แหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารของทารกช่วยพัฒนาภูมิคุ้มกันตั้งต้นให้กับลูกน้อยได้

น้ำนมแม่ 1 หยด สร้างสมองไว และภูมิคุ้มกันของเด็กผ่าคลอดได้ เพราะนมแม่มีสารอาหารที่ช่วยพัฒนาสมองและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้เด็กแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย และสามารถเริ่มต้นได้ทันที หากคุณแม่เริ่มต้นให้ไว จะช่วยสร้างสมองไวและสร้างภูมิคุ้มกันให้เร็ว

นอกจากนี้ พ่อแม่จึงควรกระตุ้นให้สมองเกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการทางสมองให้ลูกน้อย ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างโภชนาการจากนมแม่ เพื่อให้เจ้าตัวเล็กพัฒนาทักษะที่จำเป็นในด้านต่าง ๆ และสามารถต่อยอดเป็นทักษะที่โดดเด่นในอนาคตได้อย่างรวดเร็ว

อ่านเคล็ดลับคุณแม่ 

พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับคุณแม่ตั้งแต่เตรียมตัวผ่าตลอด ไปจนถึงการดูแลตัวเอง และลูกผ่าคลอด ได้เลยที่ S-mom club[SP(R1] 

References

1. Web md (https://www.webmd.com/baby/recovery-after-c-section)

2. What to expect (https://www.whattoexpect.com/pregnancy/labor-and-delivery/advice-on-c-section-recovery/)

3.Raising children (https://raisingchildren.net.au/pregnancy/labour-birth/recovery-after-birth/after-caesarean)

4.Deoni S.C., et al. AJNR Am J Neuroradiol. 2019 Jan;40(1): 169–177.

5.Zheng, et al., August 2022; Frontiers in Pediatrics 10

6.Polidano C, et al. Sci Rep. 2017; 7: 11483.

7.Susuki K. Nature Education. 2010;3(9):59.

8.Deoni S, et al. Neuroimage. 2018 Sep;178: 649-659.

9. Bentley J, et al. Pediatrics. 2016; 138:1-9.

10.Gueimonde M, et al. Neonatology. 2007;92(1):64-6.

11.Yang B, et al. Int J Mol Sci. 2019 Jul 5;20(13):3306.

12.Floch M.H., et al. J Clin Gastroenterol. 2015 Nov-Dec;49 Suppl 1:S69-73.

13.Chevalier et al. PLos ONE 2015.

ปิยะนุช, Thai Bull Pharm Sci 2016