เปิดประวัติ พระอาจารย์พบโชค พระผู้มีเมตตา เหลือล้น เเห่งวัดห้วยปลากั้ง

จากวัดร้างสู่สถานธรรมเพื่อคนยากไร้ เปิดประวัติธรรมเเห่งบุญนิมิตร พระอาจารย์พบโชค ผู้สร้างวัดห้วยปลากั้ง จ.เชียงราย

จากวัดร้างที่ไร้คนรู้

สู่สถานธรรมยิ่งใหญ่ ที่ใครๆก็เเวะเวียน

งดงามสมคำร่ำลือ ยิ่งใหญ่สมชื่อ #วัดห้วยปลากั้ง

ทีมอีจันมาเที่ยวเชียงรายอีกเเล้วค่ะ #อีจันกอดเชียงราย ครั้งที่เท่าไหร่ไม่รู้ เเต่มากี่ครั้งก็มีความสุขแบบไม่ซ้ำกันสักครั้งเลย

เเละวันนี้บุญเราถึงมากๆค่ะ เราได้มา #วัดห้วยปลากั้ง วัดชื่อดังเเละมีเเต่เรื่องราวดีๆ ล้นวัดจริงๆค่ะ

ครั้งนี้เราได้มากราบพระอาจารย์พบโชค เเละพูดคุยถึงเรื่องราวดีๆมากมาย ทำให้จันรู้สึกว่าท่านคือเทวดาขอของคนยากไร้ เหมือนที่คนพูดไว้จริงๆ

วันนี้จันจจึงขอเล่าถึงประวัติท่านให้ลูกเพจฟังกันค่ะ

พระอธิการพบโชค ติสฺสวํโส เดิมชื่อ ท่านมีชื่อเดิมชื่อ พบโชค มาไพศาลกิจ เกิดวันเสาร์ที่ 13 กรกฏาคม 2502 ที่บ้านตลาดสำรอง ต.พังตรุ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

โดยพระอาจารย์เป็นบุตรคนที่ 4 ของคุณพ่อเซ่ติด และคุณแม่ลิ้มฟ้า มาไพศาลกิจ มีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 6 คน

ตั้งแต่วัยเยาว์จนเติบใหญ่พระอธิการพบโชคเวียนว่ายอยู่ในทางโลก ได้รู้ได้เห็นในความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทั้งสุข ทุกข์ และการเกิด แก่ เจ็บ ตาย จนทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายและเกิดศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา จึงขออนุญาตบิดามารดากราบลาอุปสมบทเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เมื่ออายุ 38 ปี

ต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม 2540 ณ พัทธสีมาวัดบางกระวนาราม จ.ราชบุรี โดยมี พระครูบรรพตพัฒนคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ติสสะวังโส” แปลว่า ผู้อยู่ในตระกูลพระติสสะครั้นอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว พระอาจารย์พบโชค ได้พำนักอยู่ที่วัดบางกระวนาราม จ.ราชบุรี เพื่อปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ ศึกษาพระธรรมวินัย ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและเล่าเรียนสรรพวิชาต่าง ๆ ด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่นจนแตกฉาน เชี่ยวชาญพระกรรมฐานยิ่งนัก

ก่อนที่พระอธิการพบโชค ได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ของท่านเดินทางจาริกแสวงบุญไปทุกแห่งหน จนกระทั่งมีโอกาสเดินทางไปที่ จ.เชียงราย เห็นว่า ภูมิประเทศเป็นป่าเขาและเงียบสงบเหมาะกับการบำเพ็ญเพียรภาวนาสั่งสมบารมีธรรม จึงตัดสินใจไปพำนักที่วัดร่องธาร ต.ท่าสาย อ.เมือง จ.เชียงราย นานถึง พรรษา

หลังจากนั้นพระอธิการพบโชค ทราบข่าวว่ามีวัดร้างเก่าแก่แห่งหนึ่ง (วัดห้วยปลากั้ง) ในพื้นที่ อ.เมือง จ.เชียงราย ด้วยความตั้งใจอันเป็นกุศลแรงกล้า ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 พระอธิการพบโชคจึงย้ายไปพำนักและบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้างให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ขณะนั้นท่านได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากคณะผู้ศรัทธาและลูกศิษย์หลายร้อยคน หลวงพ่อพบโชคได้ประชุมกับชาวบ้านในพื้นที่ พร้อมแนะนำตัว และรับปากว่าจะทำให้พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นที่นี่

ด้วยใจมุ่งมั่นรับใช้ต่อพระศาสนา หลวงพ่อพบโชค ติสสะวังโส จึงยอมทนเหน็ดเหนื่อยกับการรับแขกที่มามากมายไม่เว้นแต่ละวัน ญาติโยมผู้ศรัทธากระจายกออกไปเรื่อยๆ หลายจังหวัด จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง แรกเริ่มนั้นท่านอายที่ต้องทำหน้าที่เป็นพระหมอดู ทำให้หลายคนดูถูกดูแคลน ท้อใจหลายครั้งจะเลิกหลายหนแต่ก็ทนเพื่อให้สู่จุดหมายที่คิดไว้

ท่านได้กล่าวว่า “การดูดวงเป็นเพียงเปลือกกระพี้ของศาสนาเท่านั้น ไม่ใช่แก่น แต่ตราบใดที่ต้นไม้ยังต้องมีเปลือกกระพี้หุ้มแก่นจึงเติบโต ศาสนาก็เช่นกัน

” ท่านได้ช่วยศิษย์มากหน้าหลายตาให้ได้ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างมหัศจรรย์และด้วยความมีวินัยทางการเงิน ซื่อสัตย์ต่อศาสนา จากสำนักสงฆ์ห้วยปลากั้งที่มีเพียงศาลาเล็กๆ ก็เริ่มสร้างกุฏิเล็กๆ ให้พระอยู่ จาก1 เป็น 2 จนกระทั่งตอนนี้มากกว่าร้อยหลัง

    จากเดิมท่านมีชื่อเสียงด้สนการดูดวงมาก ดูดวงวันละเป็นกว่าร้อยคน จนกระทั่ง คนเริ่มน้อยลงทำให้ท่านเริ่มมีเวลาในการปฏิบัติกิจทางศาสนามากขึ้น มีเวลาบำเพ็ญมากขึ้น วัดเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง จำได้ว่าวันแรกที่มาจำวัดนี้ นิมิตฝันเห็นบนดอยลูกนี้เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่สูงมาก เป็นชั้นๆ มี 9 ชั้น สวยงามมาก เก็บความคิดนี้ไว้ในใจ จนกระทั่งมีวิศวกรจากกรุงเทพฯ มานั่งดูดวง

ดูเสร็จเขาถามว่าจะสร้างอะไร ก็บอกว่าจะสร้างเจดีย์เป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วเป็นชั้นๆ 9 ชั้น อีกวันต่อมามีคนถือรูปเจดีย์เป็นภาพสีแต่งโดยคอมพิวเตอร์กราฟฟิค ท่านเห็นแล้วขนลุกทั้งตัว เพราะนั้นคือภาพในนิมิต นอนฝันไปหลายเดือนอยากจะสร้างเจดีย์แบบนี้ให้คนกราบไหว้

กระทั่งมีนักธุรกิจชาวไต้หวันขึ้นมาเที่ยววัดและดูดวง ได้สนทนากันจนถูกคอ เขาสนใจจะสนับสนุนการสร้างเจดีย์พร้อมเงินก้อนแรกจำนวนหนึ่งล้านบาท เริ่มตอกเสาเข็มวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 โดยให้ชาวบ้านในชุมชนเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์

จากนั้นก็มีคณะศรัทธาญาติโยมเข้าร่วมทำบุญสร้างพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นภาพปัจจุบัน

จนถึงตอนนี้ท่านก็ยังไม่หยุดที่จะสร้างสถานธรามเเห่งนี้ให้อานิสงน์กับชีวิตคนยากไร้ต่อ ไม่ว่าจะต้องเเลกด้วยความเหน็ดเหนื่อยเเค่ไหนก็ตาม

เเละสิ่งที่ขะเกิดขึ้นเร็วๆนี้คือ โรงพยาบาล เพราะเป็นหนึ่งสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือชีวิตคนทุกข์ โดยจะเป็นโรงพยาบาลทรงเรือยาว 108 เมตร สูง 7 ชั้น ใช้งบประมาณเบื้องต้น 30 ล้านบาท และคาดว่าทั้งหมดจะต้องใช้รวมกันประมาณ 400 ล้านบาท

โรงพยาบาลดังกล่าวจะมีขนาด 30 เตียง ลักษณะเป็นศูนย์การแพย์ที่ประกอบด้วยศูนย์ทันตกรรม ศูนย์โพลีคลินิก ศูนย์ฝึกวิชาชีพ และจะให้บริการเฉพาะผู้ปวยนอกหรือโอพีดีเท่านั้น โดยไม่มีบริการนอนพัก โดยผู้ป่วยฉุกเฉินหรือทั่วไปจะเข้ารับการตรวจรักษาและกลับบ้านได้ หรือหากหนักกว่านั้นก็จะส่งตัวต่อไป

ทั้งนี้จะเน้นหนักไปที่เรื่องของทันตกรรมหรือเกี่ยวกับฟันและช่องปาก ตั้งเป้าว่าจะสามารถรองรับผู้ป่วยทั่วไปได้วันละประมาณ 500 คน และผู้ป่วยด้านทันตกรรมวันละประมาณ 120 คน ซึ่งในยุคที่มีการป้องกันไวรัสโควิด-19 สิ่งสำคัญคือการให้บริการเน้นการทำบุญ โดยรับรักษาฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ส่วนแพทย์ พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์จะเป็นอาสาสามัครที่รับเพียงเบี้ยเลี้ยง ทำให้ทุกคนไปทำงานด้วยใจเหมือนญาติกัน

ยิ่งฟังปริ่มหัวใจ พระอาจารย์พบโชคบอกกับจันอีกว่า ยังไม่หยุดสร้าง ถ้ามีโอกาสจะขอสร้างบ้านเเละสิ่งอำนวยความสะดวกกับชีวิตคนทุกข์ต่อไปเรื่อยๆ

กราบสาธุค่ะ