ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะ มาตรการแก้หนี้ระยะยาว และ การรวมหนี้

ข้อมูลควรรู้สำหรับลูกหนี้รายย่อย ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะ มาตรการแก้หนี้ระยะยาว และ การรวมหนี้ เพิ่มเติม พร้อมชี้เป้าธนาคารขานรับมาตรการ

แบงก์ชาติได้ออกมาตรการแก้หนี้ระยะยาวในเดือนกันยายน 2564 ยังพบว่าลูกหนี้ยังได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ​จึงได้ออกมาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ (refinance)* และการรวมหนี้เพิ่มเติม เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีหรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

*รีไฟแนนซ์ คือ การปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมและย้ายไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ที่ให้เงื่อนไขดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยถูกลง

มาตรการแก้หนี้ระยะยาว

มาตรการแก้ไขหนี้เดิม

โดยเน้นให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบระยะยาว ซึ่งครอบคลุมสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน ฯลฯ ภายใต้หลักการดังนี้

(1) มองสถานการณ์ระยะยาว โดยกำหนดการจ่ายคืนหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ปัจจุบันที่ลดลงมากและทยอยจ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อรายได้กลับมา

(2) สามารถช่วยลูกหนี้จำนวนมากได้เร็ว

(3) ตรงจุดให้เหมาะกับปัญหาของลูกหนี้แต่ละรายที่มีปัญหาและการฟื้นตัวต่างกัน โดยแต่ละธนาคารจะพิจารณาความช่วยเหลือตามความเหมาะสม และ

(4) เป็นธรรมกับทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายผ่านความยากลำบากไปด้วยกัน

มาตรการเพื่อรักษาสภาพคล่องเดิมและเติมเงินใหม่แก่ลูกหนี้รายย่อย

แบงก์ชาติได้ผ่อนปรนผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสำหรับสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เพื่อบรรเทาภาระการจ่ายชำระหนี้ โดยลดอัตราการผ่อนชำระหนี้ขั้นต่ำของบัตรเครดิต ในปี 2565 – ปี 2566 รวมถึงขยายเพดานวงเงินบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) และ สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 รายละเอียด ดังนี้

มาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์

แบงก์ชาติออกมาตรการห้ามสถาบันการเงิน/ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับของแบงก์ชาติ เรียกเก็บ ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (prepayment fee) ** ของสินเชื่อส่วนบุคคลหรือสินเชื่อรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพิ่มเติมจากเดิมที่กำหนด

**ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด คือ ค่าปรับที่ลูกหนี้ต้องจ่ายให้เจ้าหนี้ในกรณีที่ปิดสินเชื่อก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา โดยทั่วไปการรีไฟแนนซ์อาจไม่คุ้มค่า หากค่าปรับส่วนนี้สูงกว่าดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ประหยัดจากการรีไฟแนนซ์ได้

มาตรการสนับสนุนการรวมหนี้

แบงก์ชาติออกมาตรการให้สถาบันการเงินผ่อนปรนให้ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ สินเชื่อบ้านและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นเข้าด้วยกัน โดยขยายขอบเขตจากเดิมที่ดำเนินได้เฉพาะแบงก์เดียวกันให้สามารถรวมหนี้ข้ามแบงก์ได้ เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวดให้แก่ลูกหนี้ในระยะยาว

การปรับโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีการรวมหนี้ คืออะไร?

การรวมหนี้สินเชื่อบ้านกับสินเชื่อรายย่อยเพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวด โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านไม่เพิ่มขึ้นจากเดิม และในส่วนของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยอื่น ๆ กำหนดไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านภายหลังช่วงจัดรายการส่งเสริมการขาย (teaser rate) บวก 2% ต่อปี

รูปแบบการรวมหนี้มีแบบไหนบ้าง?

การรวมหนี้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ดังนี้

1) การรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกัน

2) การรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงิน โดยโอนหนี้บัตรจากธนาคารแห่งหนึ่งไปรวมกับหนี้บ้านของธนาคารอีกแห่งหนึ่ง หรือจะเป็นการโอนหนี้บ้านไปรวมกับหนี้บัตรก็ได้

3) การโอนหนี้บ้านและหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นไปรวมกันที่สถาบันการเงินแห่งใหม่ที่ลูกหนี้ไม่เคยมีหนี้ด้วยมาก่อน

ประโยชน์จากการรวมหนี้

1) อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยลดลงเมื่อนำมารวมหนี้ ลูกหนี้จะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น

2) ชำระหนี้ได้ง่ายขึ้น เพราะเหลือหนี้ก้อนเดียวและอัตราดอกเบี้ยอัตราเดียว

3) ลูกหนี้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต หากเจรจารวมหนี้สำเร็จตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้เสีย

ข้อควรรู้สำหรับลูกหนี้

1) ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ได้ไม่เกินมูลค่าของหลักประกัน ทั้งนี้ หากยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยสูงกว่ามูลค่าหลักประกันสามารถขอรวมหนี้บางส่วนได้

2) ลูกหนี้ต้องให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อเจ้าหนี้ ยอดหนี้คงค้าง แก่ธนาคารที่ทำการรวมหนี้

3) ลูกหนี้อาจถูกพิจารณาปรับลดวงเงินส่วนที่นำไปรวมหนี้ เพื่อให้อยู่ในระดับที่ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการได้

เช็กมาตรการหรือลงทะเบียนรับความช่วยเหลือแต่ละธนาคารตามลิงค์ได้เลย

ธนาคารกรุงเทพ
>>> https://www.bangkokbank.com/th-TH/COVID19-Update
ธนาคารกรุงไทย
>>> https://krungthai.com/th/krungthai-update/promotion-detail/1015
ธนาคารกรุงศรี
>>> https://www.krungsri.com/th/support/coronavirus-covid-19-debt-consolidation

ธนาคารกสิกรไทย
>>> https://www.kasikornbank.com/th/announcement/Pages/dept-consolidation.aspx
ธนาคารเกียรตินาคินภัทร
>>> https://bank.kkpfg.com/th/news-activities/2022040549052
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
>>> https://www.cimbthai.com/th/personal/calendar.html
ธนาคารทหารไทยธนชาต
>>> https://www.ttbbank.com/th/tang-luk/debt-consolidation
ธนาคารทิสโก้
>>> https://www.tisco.co.th/th/fi-support-3.html
ธนาคารไทยพาณิชย์
>>> https://www.scb.co.th/th/about-us/news/jan-2564/customers-support-covid-2021.html
ธนาคารยูโอบี
>>> https://www.uob.co.th/personal/covid19/covid-19_financial-assistance-program.page
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
>>> https://www.lhbank.co.th/th/personal/debt-consolidation/
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
>>> https://www.ibank.co.th/th/product/credit/detail/2020-04-22-17-59-47/2020-10-08-13-47-31
ธนาคารไอซีบีซี
https://www.icbcthai.com/icbc/COVID_19.htm

ข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย

คลิปแนะนำอีจัน
เมื่อ 18 มงกุฎ เจอ 32 มงกุฎ