ถ้าเกิดเหลือ “ ไต ” แค่ข้างเดียว จะมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

ทำความรู้จักหน้าที่ของ ไต คืออะไรถ้าเกิดเหลือแค่ข้างเดียว จะใช้ชีวิตต่อได้ไหมและมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร

จากกระแสเดือดบนโลกโซเชียลเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมี กับการสร้างคอนเทนต์ “ขายไตแลกไอโฟน”  ของประเทศเพื่อนบ้านที่ทำให้ไม่ถูกใจชาวเน็ตไทย จนเกิดวาทะโต้กันสนั่นโซเชียล ต่างมุมมอง บ้างก็ว่าแค่แค่สร้างคอนเทนต์เพื่อความสนุกเอาฮาไม่ถึงต้องซีเรียส แต่อีกมุมโต้ว่าเป็นการสร้างคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะไม่ควร หวั่นสร้างค่านิยมผิดๆ ทำให้การประเด็นเรื่องการขายไตกลับมาพูดถึงอีกครั้ง แต่วันนี้จันไม่ได้จะมาแนะขายไตแต่อย่างใด แต่จะมาไขข้อสงสัยเรื่องถ้าคนเรามีไตขางเดียวจะใช้ชีวิตอยู่อย่างไร

จึงได้นำข้อมูลจากอายุรแพทย์โรคไต ว่าถ้าหากเราได้บริจาคไตให้แก่ผู้อื่นแล้ว เราจะมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร และการบริจาคไตแก่ผู้อื่นนั้นเป็นอันตรายหรือไม่ แต่ไตจะเหลือข้างเดียวได้อย่างไร หากเคยได้ยินข่าวลูกกตัญญูที่ตัดสินใจสละไตของตนเอง เพื่อมอบไตให้กับคุณแม่ ที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังทำให้ต้องฟอกเลือดอยู่เป็นประจำ ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่น่าประทับใจมาก  แล้วถ้าเหลือไตเพียงข้างเดียวเราจะมีวิธีรับมือและดูและตัวเองอย่างไร

มารู้จักลักษณะและหน้าที่ของไต

ไต เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง อยู่บริเวณบั้นเอวข้างกระดูกสันหลัง 2 ข้าง มีหน้าที่สำคัญ ดังนี้

  • ขับถ่ายของเสีย ยา หรือสารแปลกปลอมต่างๆ ออกทางปัสสาวะ

  • รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรด และด่างของร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ

  • ควบคุมความดันโลหิต

  • สร้างสารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง

  • เปลี่ยนวิตามินดีที่ได้รับให้มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างกระดูก

แต่ในผู้ที่เหลือไตข้างเดียวควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับไตที่เหลืออยู่ด้วย นอกจากการบริจาคไตจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพแล้วผู้ที่ให้จะรู้สึกมีความภาคภูมิใจและยังได้บุญกุศลที่ได้ให้ชีวิตใหม่แก่ผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายอีกด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจสร้างบุญใหญ่หรือมีเหตุต้องให้ได้บริจาคไต โดยในประเทศไทยนั้นกฎหมายแพทยสภา ระบุแหล่งที่มาของไตบริจาคที่ผู้ป่วยจะได้รับมาจาก 2 แหล่ง คือ

  • ผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยตามกฎหมายระบุว่าต้องเป็นญาติทางสายเลือด คือ พ่อแม่พี่น้องร่วมสายเลือด บุตรหลานที่เป็นสายเลือดเดียวกันอย่างแท้จริง และรวมถึงสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการบริจาคไตจากคนที่มีชีวิตจะต้องยินยอมด้วยความเต็มใจ ไม่เป็นการซื้อขายไต 

  • ผู้ประสงค์ที่จะบริจาคไตหลังจากเสียชีวิตไปแล้ว เนื่องจากปัจจุบันยังมีผู้บริจาคไตตรงส่วนนี้ค่อนข้างน้อย ถือโอกาสนี้ขอเชิญชวนและฝากข้อมูลเบื้องต้นหากมีผู้สนใจที่ต้องการบริจาคไต โดยสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย นอกจากผู้บริจาคจะได้บุญกุศลใหญ่หลวงแล้ว ยังสามารถช่วยให้ชีวิตใหม่แก่คนไข้โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูล นพ.สุรวัฒน์ อดิเรกเกียรติ อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลปิยะเวท / organdonate / zeekdoc

คลิปอีจันแนะนำ
ปวีณา พาเหยื่อค้ามนุษย์ 8 รายพบบิ๊กโจ๊ก