มันนิ ภูผาเพชร กลุ่มชาติพันธุ์ ที่น่าสงสารที่สุดในไทย?

จากป่า สู่เมือง ชนเผ่ามันนิ ภูผาเพชร กลุ่มชาติพันธุ์ ที่น่าสงสารที่สุดในไทย? พยามเอาตัวรอดในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

“คนเหมือนกันแต่โอกาสต่างกัน” อยู่ๆ คำนี้ก็ลอยมาในหัว เชื่อว่าหลายคนคงรู้ว่า ประเทศไทย ไม่ได้มีแค่กลุ่มชาติพันธุ์เดียว มันนิ หรือ มานิ รูปร่างตัวเล็ก ผิวดำ หัวหยิก คนทั่วไปมักเรียก เงาะป่า หรือซาไก

ชาวมันนิ กลุ่มชาติพันธุ์ ที่เหลือเพียง 400 คน กระจายอยู่ทั่วผื่นป่าเทือกเขาบรรทัด แต่ละกลุ่มแต่ละทับ จะเคลื่อนย้ายถิ่นฐานทั่วผื่นป่า รอยต่อระหว่างจังหวัดสตูล ตรัง พัทลุง และสงขลา เหลือเพียงไม่กี่กลุ่ม ที่ยังคงมีวิถีชีวิตดั้งเดิมที่สุด

อีจันได้มีโอกาส เข้าไปในทับของมันนิ แห่งป่าภูผาเพชร จ.สตูล ในทับแห่งนี้ มีชาวมันนิ อาศัยอยู่ประมาณ 40 คน มีลูกเล็กเด็กแดง อยู่ในกระท่อมที่ทำจากไม้ หลังคามุงจาก และใบไม้ เดิมที ทับของมันนิ จะไม่ลงหลักปักฐานอยู่เป็นหลักแหล่ง จะย้ายเปลี่ยนทับตามฤดูกาล ถ้าที่อยู่ตรงไหน ไม่มีสัตว์ป่าก็จะย้ายทับไปเรื่อยๆ เร่ร่อนไปเรื่อยๆ ตามป่าที่พอจะล่าสัตว์ได้

วิถีชีวิตของชาวมันนิ ที่หลายคนรู้จัก อาจจะรู้จักในชื่อ เงาะป่า ซาไก ชาวมันนิ ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งลักษณะทางกายภาพ ใกล้เคียงกัน แต่กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้โอเคที่จะให้เรียกว่า “ชาวมันนิ”

อาหารกลารกิน นิยมหาของป่า ล่าสัตว์ ซึ่งชาวมันนิ ไม่กินผักใบ แต่หลังๆ พอได้เข้ามาคลุกคลีกับคนเมือง ก็ลองเปิดใจกินผัก

ซึ่งวิถีชีวิตของชาวมันนิ ค่อนข้างเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เช้าออกไปล่าสัตว์ เย็นกลับมาแบ่งปันอาหารที่หามาได้ ซึ่งชาวมันนิ จะแบ่งปันอาหารตามธรรมเนียม หาสัตว์ หาอาหารได้เยอะ มื้อนั้น ก็จะมีอาหารกิน แต่ถ้าวันไหน ไม่ได้สัตว์ หาอาหารไม่ได้ ก็จะไม่ได้กินกันทั้งหมู่บ้าน เรียกว่า ไม่มีก็ไม่กิน แต่ชาวมันนิ ก็จะมีคลังข้าวสาร ที่ได้รับจากการช่วย และแลกเปลี่ยนจากชาวบ้านใกล้เคียง บางวันอด กันทั้งหมู่บ้าน ไม่มีกิน คืออดเป็นปกติ แต่พวกเขาก็อยู่ได้

มันนิ กลุ่มภูผาเพชร อาศัยอยู่ในป่าและเริ่มคลุกคลีกับชาวบ้าน กล้าออกจากป่า ไปมาหาสู่ชาวบ้านคนเมือง มาช่วยงาน และมาขอความช่วยเหลือ บ้างขอแลกเปลี่ยนอาหาร มีสัตว์ ขอแลกข้าวสาร อาหารแห้ง

ในทับมันนิ ภูผาเพชร มีเด็กๆ เยอะพอควร ในยุคสมัยเปลี่ยนไป เริ่มเข้าใจวิถีชีวิตคนเมืองมาขึ้น เด็กๆ มันนิ เริ่มเข้าถึงการศึกษา

“ลุงกอบ” ชายผู้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือกับชาวมันนิ มามากกว่า 20 ปี จนชาวมันนิ ไว้วางใจ เชื่อใจ

ลุงกอบ บอกว่า เด็กมันนิ ได้เข้าเรียนในระบบการศึกษาภาครัฐมาประมาณ 1 ปีครึ่งแล้ว ตนเป็นคนนำเรื่องเด็กๆ เข้าหารือกับผู้ใหญ่ในจังหวัด อบต. และ ผู้อำนวยการโรงเรียน เพราะเห็นว่า อนาคตข้างหน้า เด็กๆ จะต้องพึ่งพาตนเองได้ และเอาความรู้ไปพัฒนาทับ หรือกลุ่มชาติพันธุ์ของตน

ลุงกอบเล่าต่อว่า ตอนเช้าๆ เด็กจะเดินเท้าจากทับจากป่า ระยะทางกว่า 2 กม.มาถึงบ้าน ลุงกอบ เปลี่ยนชุดเป็นชุดนักเรียน และลุงกอบจะขับรถยนต์ของตนเองไปส่งที่โรงเรียนอีก 7 กมและไปรับกลับบ้านในตอนเย็น หลังเลิกเรียน รวมระยะขับรถไปรับส่งต่อวันประมาณ 20 กม.

ลุงกอบ อาชีพตัดยาง หาเช้ากินค่ำ มีบ้านอยู่ใกล้ทับมันนิภูผาเพชร อยากให้เด็กมันนิได้รับการศึกษา และช่วยเหลือมันนิภูผาเพชรทุกเรื่องมายาวนาน เจ็บไข้ได้ป่วย คลอดลูก พาทำบัตรประจำตัวประชาชน แบ่งปันอาหาร จนได้รับความไว้วางใจจากมันนิภูผาเพชรเสมอมา

ที่ผ่านมาลุงกอบใช้เงินตัวเอง เติมน้ำมัน รับส่งเด็กมันนิ ไปเรียนตลอดมา มีบ้าง อดบ้าง แต่ก็ต้องทำ เรียกว่าเป็นหน้าที่ไปแล้ว โดยปริยาย บางวันไม่มีเงินเติมน้ำมันเด็กๆ ก็จะไม่ได้ไปเรียน เปลี่ยนเสื้อผ้า เดินกลับเข้าป่า

ลุงกอบพูดด้วยสายตาเป็นห่วง แต่ก็ยังหวังให้หน่อยงานทมี่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาช่วยดูแลเพิ่มเติมจากตน เพราะไม่รู้จะมีแรงช่วยไปถึงเมื่อไหร่ หวังเรื่องเดียว ให้เด็กๆ มันนิ ได้เรียนหนังสือ พัฒนาตามยุคสมัยทัน และดูแลพึ่งพาตัวเองได้

ช่องทางการช่วยเหลือ

สำหรับผู้ใจบุญที่อยากจะส่งข้าวสาร อาหารแห้ง มาม่า ปลากระป๋อง อาหารเพื่อดำรงชีพให้กับชาวมันนิ กลุ่มภูผาเพชร สตูล

สามารถส่งมาได้ที่ นายไพโรจน์ ดำพลับ 152 หมู่ที่ 9 ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล 91130  โทร. 082 – 8260591 (ส่งของให้มันนิ)

คลิป อีจันแนะนำ
ลุงกอบ เทวดาของคนป่า ชาวมันนิ ภูผาเพชร สตูล
ภาพมันนิ กลุ่มภูผาเพชร สตูล