กทม. ประกาศ 10 นโยบายสุขภาพดี นำร่อง คลินิกสุขภาพ LGBTQI

กทม. ประกาศ 10 นโยบายสุขภาพดี นำร่อง คลินิกสุขภาพ LGBTQI ใน 4 รพ. เพื่อคุณภาพคนกรุงที่ดีขึ้น

วันนี้ 3 มิ.ย. 65 เฟซบุ๊กชื่อ ศูนย์ข้อมูล COVID-19 โพสต์ 10 นโยบายสุขภาพดีของกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยระบุว่า

1. นำร่องพัฒนาคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย Pilot LGBTQI+ Clinic โดยเปิดบริการให้คำปรึกษาสุขภาพจิต และการให้ฮอร์โมน โดยเปิดให้บริการ 1 ตุลาคม 2565 (โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลสิรินธร)

2. ขยายโครงการโรงพยาบาล 10,000 เตียง ซึ่งสำนักการแพทย์ดำเนินการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านระบบ Tele Consult ร่วมกับสำนักอนามัย และเชื่อมโยงโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมเป็นภาคีในการดูแลผู้ป่วยทุกสิทธิการรักษา

3. หมอถึงบ้าน ผ่าน Telemedicine ซึ่งสำนักการแพทย์ได้จัดทำโครงการ Smart OPD ผ่าน Application “หมอ กทม.” ใน รพ. 9 แห่ง และครบ 11 แห่งในปี พ.ศ.2567 และจะเชื่อมโยง Application ต่างๆ ที่มีระบบ Telemedicine รวมถึงขยายบริการเจาะเลือดถึงบ้าน (Mobile Lab) และ Drive Thru Medicine (รับยาและเจาะเลือด)

4. จัดกิจกรรมคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยการตรวจสุขภาพประจำปี และฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในชมรมผู้สูงอายุใน 11 โรงพยาบาล สำนักการแพทย์วางแผนก่อสร้างโรงพยาบาลเพื่อรองรับการให้บริการประชาชนในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ภายในปี พ.ศ. 2570

5. เพิ่มจำนวน Excellence Center และยกระดับศูนย์เวชศาสตร์เขตเมือง ซึ่งเพิ่มจำนวนศูนย์ Excellent ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ศูนย์โรคไต ศูนย์มะเร็ง เป็นต้น รวมถึงการต่อยอดโครงการ 4 ทศวรรษ 4 โรคคนเมืองเพื่อคนกรุงเทพฯ พัฒนาเป็นศูนย์เวชศาสตร์เขตเมืองใน 8 โรงพยาบาล และจัดตั้งศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้สูงอายุ

6. บัตรคนพิการ จุดเดียวจบ ทุก รพ.สังกัด กทม. ออกบัตรประจำตัวคนพิการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันและเวลาราชการ (โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน)

7. กรุงเทพฯ มั่นใจ ปลอดภัยโควิด โดยได้ดำเนินการตามมาตรการโรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น

8. ชมรมผู้สูงอายุ สร้างสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพใจ (Active Aging) จัดกิจกรรมคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยการตรวจสุขภาพประจำปี และฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในชมรมผู้สูงอายุใน 11 โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์

9. ถอดบทเรียนโควิด-19 ไม่ผิดพลาดซ้ำสอง ในภารกิจการบริหารจัดการรับส่งต่อผู้ป่วย การบริหารเตียง การขยายศักยภาพโรงพยาบาลสนาม ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation) ระบบรักษากักตัวที่บ้าน (Home Isolation) และระบบรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OP Self Isolation)

10. การรักษาและส่งตัวผู้ป่วยไร้รอยต่อด้วยการบูรณาการข้อมูล โดยได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสำนักการแพทย์ สำนักอนามัยและภาคีเครือข่ายผ่านระบบ Health Link พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Bangkok EMS) และจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการเตียงกรุงเทพมหานคร

คลิปแนะนำอีจัน
หนุ่ม งง มีเงินสด แต่ซื้อรถมอเตอร์ไซค์ไม่ได้?