แดงเดือด! ไทยอุณหภูมิสูงสุด ในช่วงวันที่ 19-25 ก.พ.67

เตรียมตัวไทยร้อนระอุ! กราฟสภาพอากาศแดงดำเดือด จากเพจ พยากรณ์อากาศประเทศไทย พยากรณ์อุณหภูมิสูงสุด 19-25 ก.พ.

แดงเดือน ประเทศไทยร้อนระอุ เตรียมตัวให้พร้อม เลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งนานๆ นะคะ

เพจพยากรณ์อากาศประเทศไทย ได้เผยภาพวิเคราะห์สภาพอากาศ พร้อมระบุข้อความว่า โดยพบว่า แดงดำเดือด ! พยากรณ์อุณหภูมิสูงสุด 19-25 ก.พ. รูปนี้แสดงพยากรณ์อุณหภูมิเวลา 13.00 น. ของแต่ละวัน

และได้ให้ข้อมูลว่า การอุ่นขึ้นหรือเย็นลง หมายถึง การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอุณหภูมิ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับวันอ้างอิง ไม่ได้หมายความว่าร้อนหรือหนาว แต่ละรูปมีแถบสีและตัวเลขกำกับอยู่ว่าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเท่าใด

ภาพจากเพจ พยากรณ์อากาศประเทศไทย

ประเดิมวันแรก 19 ก.พ. 67

พยากรณ์อากาศ มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่มีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจาก
สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย 

พยากรณ์อากาศประจำวัน จากกรมอุตุนิยมวิทยา

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง  ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร  ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย 

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย

06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน 
โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 11-24 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส 
บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง 
อุณหภูมิต่ำสุด 4-14 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน 
โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู และอุดรธานี 
อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส 
บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ภาคกลาง

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี 
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส 
ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส 
อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล
โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

เมฆบางส่วน โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน 
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส 
ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 


โดยที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 18 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ในช่วงวันที่ 18 – 24 ก.พ. 67 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนบางแห่ง สำหรับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกปกคลุมภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 18 – 19 ก.พ. 67 ทำให้ภาคเหนือจะมีอุณหภูมิลดลง 2 – 3 องศาเซลเซียส 

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ขอบคุณข้อมูลจาก พยากรณ์อากาศประเทศไทย