รมว.ดีอีเอส เตรียมแถลงข่าว เฉลย #เลือกตั้ง66 นี้ เจอฝนหรือไม่

รมว.ดีอีเอส เตรียมแถลงข่าว (8 พ.ค.66) เฉลย #เลือกตั้ง66 นี้ เจอฝนหรือไม่ ‘กรมอุตุนิยมวิทยา’ คาดการณ์ ไทยเข้าหน้าฝนปลาย พ.ค.นี้

อากาศร้อนเบอร์นี้ กับค่าไฟที่เพิ่มขึ้นเป็นของคู่กัน ล่าสุด ‘กรมอุตุนิยมวิทยา’ ก็ได้เปิดตัวเลขค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ให้ได้เห็นกันแบบชัดๆ อีก เรียกได้ว่า แนวโน้มความร้อนระอุนี้ ไม่มีทีท่าว่าจะไม่ลดลงเลย

สภาพอากาศวันนี้ (5 พ.ค. 66) รายงานสภาพอากาศ 8 จว. รับมือฝน

ดังนั้น กรมอุตุนิยมวิทยา จึงได้ร่วมกับ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดทำค่าดัชนีความร้อน มาจากการคำนวณจากค่าอุณภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ ถ้าความชื้นสัมพัทธ์สูงและอุณหภูมิอากาศสูง ยิ่งทำให้ค่าดัชนีความร้อนสูงมากยิ่งขึ้นไปด้วย และร่างกายของคนเราจะขับเหงื่อออกไม่ได้ จึงทำให้รู้สึกร้อนมากกว่าปกติและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่แล้วค่าดัชนีความร้อน จะมีค่าสูงสุดในช่วงบ่ายของวัน จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

สำหรับวันที่ 5 พ.ค.66 พบว่า จังหวัดที่มีค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายภาค ดังนี้

ภาคเหนือ จ.เพชรบูรณ์ อยู่ที่ 49.6 องศาเซลเซียล

ภาคอีสาน จ.ศรีสะเกษ อยู่ที่ 46.4 องศาเซลเซียล 

ภาคกลาง เขตบางนา กทม. อยู่ที่ 53 องศาเซลเซียล 

ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี อยู่ที่ 52.1 องศาเซลเซียล 

ภาคใต้ จ.ภูเก็ต อยู่ที่ 52.7 องศาเซลเซียล

สำหรับค่าดัชนีความร้อน แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

ระดับเฝ้าระวัง แทนค่าดัชนีความร้อน 27-32 องศาเซลเซียล ผลกระทบต่อสุขภาพ คืออ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อน หรือออกกำลังกาย หรือทำงานใช้แรงงานท่ามกลางอากาศที่ร้อน

ระดับเตือนภัย แทนค่าดัชนีความร้อน 32-41 องศาเซลเซียล ผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดดหากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

ระดับอันตราย แทนค่าดัชนีความร้อน 41-54 องศาเซลเซียล ผลกระทบต่อสุขภาพ มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะฮีทสโตรกได้หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

ระดับอันตรายมาก แทนค่าดัชนีความร้อน มากกว่า 54 องศาเซลเซียล ผลกระทบต่อสุขภาพ จะเกิดภาวะฮีทสโตรก โดยมีอาการตัวร้อน เวียนศีรษะ หน้ามืด ซึมลง ระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายล้มเหลว และทำให้เสียชีวิตได้หากสัมผัสความร้อนติดต่อกันหลายวัน

ขณะที่ น.ส.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เผยว่า กรณีที่เขตบางนา มีค่าดัชนีความร้อนสูงสุดในภาคกลางต่อเนื่อง เพราะเขตบางนามีความชื้นสูง เพราะได้รับความชื้นที่พัดมาจากทะเล

ทั้งนี้ คาดว่า ฤดูฝนปีนี้จะเริ่มในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพ.ค.66 สิ้นสุดประมาณกลางเดือน ต.ค.66 ซึ่งช้ากว่าปกติประมาณ 1 สัปดาห์ ช่วงต้นฤดู (ปลาย พ.ค.-มิ.ย.) โดยปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปีนี้จะมีน้อยกว่าปี 2565 และจะน้อยกว่าค่าปกติประมาณ 5%

จะเป็นช่วงที่ฝนตกต่อเนื่อง 40-60% ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตก 60-80% ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง จากนั้นกลางเดือน มิ.ย.-กลางเดือน ก.ค.66 ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรใช้น้ำเพื่อประโยชน์สูงสุด

หลังจากนั้นจะเข้าสู่ช่วงที่ฝนตกชุกหนาแน่นที่สุดในเดือน ส.ค.-ก.ย.66 มีฝนตก 60-80% ของพื้นที่เป็นส่วนใหญ่กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่

นอกจากนี้ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ยังเปิดเผยกับ ‘อีจัน’ ว่า วันที่ 8 พ.ค.66 นี้ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เตรียมแถลงข่าวใน 3 กรณี ได้แก่

1.พายุที่จะเข้าไทย 2 ลูก จริงหรือไม่ /ผลกระทบต่อไทยพื้นที่ไหน อย่างไร /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรเตรียมรับมืออย่างไร

2.สภาพอากาศ ในวันที่ 14 พ.ค.66 เป็นอย่างไร มีผลกระทบต่อประชาชน ที่จะออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง อย่างไรบ้าง

3.สถานการณ์เอลนีโญ ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง ในปีนี้

คลิปอีจันแนะนำ
แม่ ไอซ์ ปรีชญา เปิดใจ สั่งไซยาไนด์ มาไล่สัตว์พิษจริงๆ