ประธานสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร สำคัญอย่างไร?

ประธานสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร สำคัญอย่างไร? ทำไมวันนี้พรรคการเมืองจึงอยากนั่งตำแหน่งนี้

วันนี้ (24 พ.ค.66) ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภา กำลังถูกพูดถึงอย่างมาก เนื่องจากในช่วง 1-2 วันนี้ มีการคาดการณ์ คาดคะเน คาดเดา กันว่า พรรคไหนจะได้ตำแหน่งประธานสภาไปครอง

ในวันที่ 23 พ.ค.66 นายปิยบุตร แสงกนกกุล ผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กระบุ พรรคก้าวไกลจะเสียตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ไม่ได้ หากหวังผลักดันนโยบายของพรรค โดยใจความคือ…

[“ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ตำแหน่งที่พรรคก้าวไกลเสียไปไม่ได้เป็นอันขาด]

การเมือง คือ ศิลปะของการทำสิ่งที่คนเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้

แต่เมื่อดุลกำลังอำนาจยังไม่เพียงพอ การประนีประนอมกันเพื่อรักษาสถานะความเป็นไปได้ของการทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ ก็เป็นเรื่องจำเป็น

พรรคก้าวไกลมี ส.ส. 152 คน ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพียงพรรคเดียว จำเป็นต้องตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคเพื่อไทยซึ่งมี ส.ส.141 คน

เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ค่อยปรากฏในแวดวงการเมืองทั้งไทยและต่างประเทศเท่าไรนัก

หากพรรคก้าวไกลต้องการเป็นรัฐบาล ก็ต้องมีพรรคเพื่อไทยร่วมด้วยสถานเดียว

หากไม่มีพรรคเพื่อไทยร่วมด้วย ก็ไม่มีทางที่พรรคก้าวไกลได้เป็นรัฐบาล

สองสามวันมานี้ มีข่าวปรากฏออกมาตามสื่อมวลชนว่า พรรคเพื่อไทยขอให้พรรคก้าวไกลปล่อยตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้กับ ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย

ผมเห็นว่าพรรคก้าวไกลปล่อยตำแหน่งนี้ให้กับพรรคใดๆไม่ได้

นายปิยบุตร ระบุว่า โดยทั่วไป ประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็มาจาก ส.ส.ของพรรคอันดับที่หนึ่งอยู่แล้ว

กรณีสมัยที่แล้ว เป็นข้อยกเว้นอย่างยิ่ง เพราะ จำนวน ส.ส.ซีกรัฐบาลมีมากกว่าอีกฝ่ายไม่กี่เสียง ทำให้พรรคพลังประชารัฐต้องยอมเสียตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อแลกกับการสนับสนุนประยุทธ์

นอกจากนี้ นโยบายของพรรคก้าวไกลที่ใช้รณรงค์หาเสียงจนได้คะแนนมากกว่า 14 ล้านเสียง หลายเรื่องต้องผลักดันผ่านสภา ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ จึงจำเป็นต้องมี ส.ส.ของพรรคตนเองทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคุมวาระและญัตติ

กล่าวจำเพาะกรณีการนิรโทษกรรมในคดีความผิดเกี่ยวกับการแสดงออกทางการเมือง และการแก้ไข ป อาญา มาตรา 112 (ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้ไม่อยู่ใน MOU และไม่อยู่ในวาระร่วมหรือนโยบายของรัฐบาลแน่ๆ) พรรคก้าวไกลก็ต้องใช้กลไกสภาในการผลักดัน หากไม่ได้ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรมา ก็อาจประสบปัญหาอุปสรรคได้

พรรคก้าวไกลต้องมีคนของตนเองทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคุมเกม ใช้และตีความข้อบังคับการประชุม และกำหนดทิศทางในการประชุมเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย

“ประธานสภาผู้แทนราษฎร” มีบทบาทหน้าที่อะไร

จับตาดูว่าการจัดตั้งรัฐบาล 2566 พรรคไหนจะได้เป็นประธานสภา ที่มีตำแหน่งใหญ่ที่สุดในสภา

จากข้อมูลของเว็บไซต์รัฐสภา พบว่า ตั้งแต่ปี 2475 ประเทศไทยมีประธานรัฐสภาแล้ว 31 คน ดังนี้

1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

2.เจ้าพระยาพิชัยญาติ

3.พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)

4.เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิต ณ สงขลา)

5.พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา)

6.พันตรีวิลาศ โอสถานนท์

7.พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก)

8.พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)

9.นายทวี บุญยเกตู

10.พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)

11.พลตรีศิริ สิริโยธิน

12.พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

13.นายประภาศน์ อวยชัย

14.นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์

15.นายอุทัย พิมพ์ใจชน

16.พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ

17.พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล

18.นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ

19.ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน

20.ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ

21.นายมีชัย ฤชุพันธ์

22.ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค

23.นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ

24.นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา

25.นายพิชัย รัตตกุล

26.นายโภคิน พลกุล

27.นายยงยุทธ ติยะไพรัช

28.นายชัย ชิดชอบ

29.นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

30.ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย

31.นายชวน หลีกภัย

อ้างอิงข้อมูล : https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/more_news.php?offset=0&cid=4558&filename=index

คลิปอีจันแนะนำ
พิธา ประกาศ MOU 23 ข้อ ร่วม 7 พรรค ตั้งรัฐบาล