จับแล้ว! ทุจริต คนละครึ่ง พบยังมีร้านค้า-ผู้เข้าร่วม เข้าข่ายผิดปกติ อีกกว่า 700 ราย

4 ผู้ต้องหา ทุจริต คนละครึ่ง ตรวจสอบพบ ยังมีร้านค้า-ผู้เข้าร่วม เข้าข่าย ทุจริต ในโครงการ อีกกว่า 700 ราย

จากกรณีที่ กระทรวงการคลัง ได้มีการรวบรวมข้อมูลที่เข้าข่าย ทุจริต ในโครงการ คนละครึ่ง หลังพบความผิดปกติ ทั้งร้านค้า-ผู้เข้าร่วม กว่า 700 ราย นั้น

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
18 ธ.ค. 2563 พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. , พล.ต.ต.ปัญญา ปิ่นสุข รอง ผบช.ก. , พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผบก.ปอศ. , นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมายธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกันแถลงผลการตรวจสอบและดำเนินคดีผู้ ทุจริต ในโครงการ คนละครึ่ง
ภาพจากอีจัน
การตรวจสอบ และการดำเนินคดี สืบเนื่องมาจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคารกรุงไทย ได้ตรวจสอบเบื้องต้น และพบความผิดปกติในการใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโครงการ โดยมีรูปแบบการกระทำความผิดอยู่ 2 แบบ คือ ร้านแลกหรือรับเงินเป็นผู้ดำเนินการ และแบบมีเจ้ามือเป็นผู้ดำเนินการจำนวนหลายราย จึงได้มีการระงับการใช้แอปพลิเคชั่น “ถุงเงิน” และระงับการจ่ายเงินให้แก่ร้านค้าดังกล่าว จากนั้นได้จัดส่งข้อมูลร้านค้าและผู้เกี่ยวข้องที่กระทำผิดเงื่อนไข ให้ตำรวจดำเนินการ
ภาพจากอีจัน
ผลการดำเนินคดี ผู้ต้องหา 4 คน จากการตรวจสอบพบว่าเป็นบุคคลมีพฤติการณ์เป็นแบบเจ้ามือ ใช้เฟซบุ๊ก โฆษณาชักชวนให้ประชาชนที่ร่วมโครงการฯ มาแลกรับเงินจากเจ้ามือโดยไม่ต้องมีการซื้อ โดยมีการสแกนใช้สิทธิ์กับร้านขายของชำแห่งหนึ่งในเขต จ.สมุทรสาคร ซึ่งประชาชนหลายรายมีภูมิลำเนาและที่อยู่ปัจจุบันห่างไกลจากร้านค้าดังกล่าวมาก บางรายอยู่ จ.เชียงใหม่ , จ.สงขลา เป็นต้น แต่กลับมีการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง กับแอปพลิเคชั่นถุงเงินของร้านค้าดังกล่าวซึ่งตั้งอยู่ใน จ.สมุทรสาคร ประชาชนได้รับโอนเงินส่วนต่างจากเจ้ามือ จำนวน 80-100 บาท ต่อการทำธุรกรรมใช้จ่ายผ่านร้านดังกล่าว
ภาพจากอีจัน
ต่อมาวันที่ 9 ธ.ค. 2563 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้แทนจากธนาคารกรุงไทย ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านค้าขายของชำที่ ต.คอกระบือ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร พบ น.ส.สมปอง (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 62 ปี แสดงตนเป็นเจ้าของร้านขายของชำดังกล่าว และพบ นายสรัล (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี บุตรชายเจ้าของร้านดังกล่าว จากการตรวจสอบพบ -โทรศัพท์มือถือที่ใช้ในระบบ G Wallet จำนวน 5 เครื่อง -iPad จำนวน 1 เครื่อง -คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก จำนวน 1 เครื่อง -บัญชีเงินฝากธนาคาร 6 เล่ม จึงได้ตรวจยึดไว้เป็นของกลางในคดี และจากการสอบสวนปากคำ น.ส.สมปอง เจ้าของร้าน การดำเนินการทั้งหมดนายสรัลบุตรชายเป็นผู้ดำเนินการ โดยนายสรัลให้การยอมรับว่าได้ตกลงร่วมมือกับผู้ใช้เฟซบุ๊กรายดังกล่าว และใช้ไลน์ Jeerapot ในการติดต่อ และเมื่อได้รับเงินจากรัฐบาล ได้โอนเงินคืนให้กับเจ้ามือผ่านบัญชีธนาคาร ชื่อ นายจีรพจน์ (ขอสงวนนามสกุล) โดยทางร้านค้าจะได้ผลประโยชน์ 30 บาทต่อราย ส่วนผู้ใช้ไลน์ชื่อ Jeerapot ได้ 30 บาทต่อราย ซึ่งคนที่มาขายสิทธิจะได้เงิน รายละ 90 บาท อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลงพื้นที่สอบสวนปากคำประชาชนที่ใช้สิทธิ์ผ่านร้านค้าดังกล่าวจำนวน 14 จุด ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ อาทิเช่น จ.ลพบุรี ,ชลบุรี ,ชัยภูมิ ,บุรีรัมย์ ,สุรินทร์ ,เชียงใหม่ ,สงขลา เป็นต้น
ภาพจากอีจัน
จากการสืบสวนสอบสวน ทำให้ทราบว่า เจ้ามือ หรือ ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กรายดังกล่าว คือ นายจีรพจน์ (ขอสงวนนามสกุล) และ นางกนกภณณ์ (ขอสงวนนามสกุล) ทั้งคู่เป็นสามีภรรยากัน อยู่ใน จ.ลพบุรี ต่อมาในวันที่ 17 ธ.ค. 2563 จึงได้แจ้งข้อกล่าวหากับ น.ส.สมปอง ,นายสรัล , นายจีรพจน์ และ นางกนกภรณ์ ในความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น” เบื้องต้น น.ส.สมปอง ให้การปฏิเสธ ส่วน นายสรัล ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ส่วนนายจีรพจน์ ก็ให้การปฏิเสธเช่นกัน โดยให้การว่าไม่รู้เรื่องมาก่อน ส่วนนางกนกภรณ์ ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา โดยยอมรับว่า นางกนกภรณ์ จะเป็นคนหาลูกค้าผ่านเฟซบุ๊ก จากนั้นจะนำข้อมูลมาล็อคอินผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตังค์ สแกนใช้สิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชั่นถุงเงินร้านค้าของนายสรัล โดยไม่มีการซื้อขายจริง 

นอกจากนี้ ยังตรวจสอบพบว่า ยังมีกลุ่มที่อาจจะเข้าข่ายกระทำความผิดในลักษณะนี้อีกกว่า 700 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม

ภาพจากอีจัน