เปิดร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ปม ครูสาวสอง เบิกรักษาแฟนป่วยมะเร็งไม่ได้

ครูสาวสอง จี้ถาม ถึงเวลาจริงจังหรือยัง กับ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม หลังตน ใช้สิทธิข้าราชการ เบิกรักษาแฟนป่วยมะเร็งไม่ได้ เพราะเป็นคู่รักต่างเพศ

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กลายเป็นประเด็นที่สังคมกลับมาพูดถึงกันอีกครั้ง หลังจากมีเรื่องราวบีบหัวใจ ของข้าราชการครูสาวสอง กับแฟนหนุ่มที่ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย แต่ไม่สามารถเบิกรักษาได้ ทั้งที่ตนและแฟน แต่งงานและอยู่กินกันมานานกว่า 5 ปี จนสุดท้ายแฟนจากไปในที่สุด ยืดเวลาสุขได้ไม่ได้


อ่านข่าว : ครูสาวสอง พ้อ ใช้สิทธิข้าราชการ รักษาแฟนป่วยมะเร็งไม่ได้ เพียงเพราะไม่ได้สมรสเท่าเทียม 

ซึ่งก่อนหน้านี้ กฎหมายดังกล่าวเป็นที่เรียกร้องและถกเถียงกันในสังคม หลังจาก พ.ร.บ.คู่ชีวิต ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว มันส่งผลให้ในตอนนี้ แน่นอนว่า ความเห็นของคนไทย มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และแบ่งออกเป็น 2 อย่างชัดเจน

ภาพจากอีจัน


ซึ่งวันนี้ จันจะนำร่างกฎหมายที่ยังเป็นร่าง พ.ร.บ.มาให้ลูกเพจได้ทำความเข้าใจคร่าวๆ
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2563 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุม ครม. วันนี้ (8 ก.ค. ) ว่า ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เสนอโดยกระทรวงยุติธรรม ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่าง พ.ร.บ. แล้ว
ระบุว่า
สำหรับร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต มีขึ้นเพื่อให้กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี

สาระของ พ.ร.บ. คู่ชีวิตมีอะไรบ้าง

คู่ชีวิต หมายถึง บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิดและได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ.นี้
การกำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้
กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
กำหนดให้กรณีที่ผู้เยาว์จดทะเบียนคู่ชีวิตจะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือ ศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต
กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย เช่นเดียวกับสามีหรือภรรยา และมีอำนาจ ดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกันกับสามีหรือภรรยา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิตโดยแบ่งเป็นสินส่วนตัวและสินทรัพย์ร่วมกัน
คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ และคู่ชีวิตสามารถฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่ง มาเป็นบุตรบุญธรรมของตนเองก็ได้
เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคู่สมรส (มาตรา 1606, 1652, 1563) ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม

ภาพจากอีจัน


ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระสำคัญ ดังนี้

กำหนดให้ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมี "คู่สมรส" หรือ "คู่ชีวิต" อยู่ไม่ได้
กำหนดให้เหตุฟ้องหย่า รวมถึงกรณีสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉัน "คู่ชีวิต"
กำหนดให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไป ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่ หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต
นอกจากนี้ ครม.เห็นชอบให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญภายหลังจากที่ร่าง พ.ร.บ. รวม 2 ฉบับในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับแล้ว รวมทั้งให้ร่วมกับกระทรวงอื่น ๆ พิจารณาศึกษาผลกระทบและแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของคู่ชีวิตให้มีความเป็นธรรม เท่าเทียม และไม่เป็นการเลือกปฏิบัติต่อสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างแท้จริง

ขณะเดียวกัน โลกออนไลน์ ผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างทวิตข้อความเชิญชวนให้ชาวโซเชียลร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายสมรส เพื่อให้บุคคลธรรมดาทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ สามารถทำการหมั้นและสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งเสนอให้มีการปรับถ้อยคำชายและหญิง เป็น ผู้หมั้น ผู้รับหมั้น หรือการใช้คำว่าสามีภริยา เป็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส เพื่อผลักดันความเท่าเทียมในการสมรสของคนทุกเพศ กระทั่งวันนี้แฮชแท็ก #สมรสเท่าเทียม ติดอันดับเทรนด์ทวิตเตอร์ไทยอยู่หลายชั่วโมง

แม้ตอนนี้กฎหมายในไทย ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า การสมรสเท่าเทียมที่เรามีอยู่ ยังมีบางข้อที่คลุมเครือ กฏหมายบางข้อควรแก้ให้เป็นคู่สมรสเพศเดียวกันและต่างเพศ มีสิทธิและหน้าที่ ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ให้เหมือนความสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภรรยาที่ควรได้รับหรือไม่?