ฟังอีกด้าน! ปม โซลาร์เซลล์ 45 ล้าน ใน 5 พื้นที่ อมก๋อย ไม่แพงเกินจริง?

บริษัท ผู้ชนะการประกวดราคาโครงการ โซลาร์เซลล์ ใน 5 พื้นที่ อมก๋อย ชี้แจง งบประมาณ 45 ล้านบาท โปร่งใส – อยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้อง

จากประเด็นร้อน พิมรี่พาย แม่ค้าออนไลน์ ยูทูบเบอร์ชื่อดัง ขึ้นเขาไปหมู่บ้านแม่เกิบ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และได้บริจาคติดตั้งแผง โซลาร์เซลล์ เป้นจำนวนเงินกว่า 5 แสนบาทนั้น ต่อมาได้มีเอกสารของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ( กอ.รมน. ) ที่มีการติดตั้งแผง โซลาร์เซลล์ ใน 5 พื้นที่ใน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ โดยใช้งบประมาณ 45 ล้านบาท เมื่อปี 2562 ทำให้กลายเป็นประเด็นดรามาว่า โซลาร์เซลล์ ที่หน่วยงานรัฐทำ เหตุใดจึงใช้งบประมาณที่สูงนัก

ซึ่งต่อมา ทาง กอ.รมน. ได้ออกมาชี้แจงว่า ราคาที่จัดทำ โซลาร์เซลล์ ไม่ได้แพงเกินจริง แต่เป็นไปตามราคามาตรฐานกรมบัญชีกลาง รวมถึงยืนยันว่าทำทุกอย่างด้วยความโปร่งใส

และล่าสุด วันนี้ (16 ม.ค. 2564) อีจัน ได้โทรศัพท์สอบถามถึงกรณีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ กับทาง บริษัท บี.เอ็น.โซล่าร์ เพาเวอร์ จำกัด ที่เป็นผู้ชนะการประกวดราคาในการรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ โดย ดร.สุชัจจ์ ศรีแก้ว กรรมการผู้จัดการ บริษัท บี.เอ็น.โซล่าร์ เพาเวอร์ จำกัด ได้เปิดเผยว่า

ภาพจากอีจัน
บริษัทของตนเป็นผู้ชนะการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างในการติดตั้ง โซลาร์เซลล์ และได้รับงบประมาณมาในปี 2562 ซึ่งทางภาครัฐเป็นผู้พิจารณาในการจัดสรรงบประมาณในเบื้องต้น รวมถึงได้มีการตรวจสอบในเบื้องต้นแล้วว่ามีความเหมาะสม ในส่วนของการทำงาน ปี 2562 บริษัทตนได้รับงบประมาณมา ซึ่งตนก็ต้องจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์ในปีนั้นเลย ซึ่งราคาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว กับปัจจุบัน มันก็ต้องต่างกัน ส่วนในเรื่องของการซื้อขาย ภาครัฐ กับเอกชนก็ต่างกัน คือ งานของทางภาครัฐจะประกอบไปด้วยการคำนวนทางวิศวกรรม เงื่อนไขต่างๆ ระยะเวลาการทำงาน ซึ่ง โซลาร์เซลล์ที่ตนชนะการประกวดราคามาแล้ว นำขึ้นไปติดตั้งในพื้นที่ อ.อมก๋อย มีการคำนวนในทุกๆ ด้านตามหลักวิศวกรรม โดยคำนวนตั้งแต่การติดตั้งจะต้องได้พลังงานตามที่ของบประมาณไป อาคารที่จะนำโซลาร์เซลล์ไปติดรองรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ได้ขนาดไหน การคำนวนสายไฟในการต่อระบบต่างๆ ก็ต้องคำนวนออกมาว่าควรใช้สายไฟเบอร์อะไร กระบวนการในการทำงานที่ยากและซับซ้อน หลายขั้นตอน ต้องมีการขออนุมัติทุกครั้ง รวมไปถึงพื้นที่หน้างาน มีความยาก อยู่กลางป่า และการขนของ ขนอุปกรณ์ขึ้นไป ในช่วงนั้นเป็นช่วงหน้าฝน ดร.สุชัจจ์ เผยอีกด้วยว่า การติดตั้งแผง โซลาร์เซลล์ บริษัทตนได้มีการติดตัวป้องการป้องกันฟ้าผ่าด้วย ซึ่งระบบพวกนี้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ และมีราคาที่สูง ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำโครงการติดตั้งโซลาร์เซลล์ จำนวน 215 กิโลวัตต์ พร้อมติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน (แบตเตอรี่ลิเธียม) ขนาดความจุ 998 กิโลวัตต์ – ชั่วโมง พร้อมติดตั้งโครงข่ายไฟฟ้าชุมชนระยะทาง 5,409 เมตร ติดตั้งเสาไฟฟ้าแสงสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 120 ชุด และโรงคลุมแบตเตอรี่ ในพื้นที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ จำนวน 5 แห่ง ด้วยกัน คือ 1.หมู่บ้านพะอัน ต.สบโขง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 30.72 กิโลวัตต์
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

2.หมู่บ้านจกปก ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 51.20 กิโลวัตต์

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

3.หมู่บ้านห้วยไก่ป่า ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 51.20 กิโลวัตต์

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

4.หมู่บ้านมูเซอหลังเมือง ต.ม่อนจอง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 51.20 กิโลวัตต์

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

5.ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงพื้นที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 30.72 กิโลวัตต์

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ซึ่งแค่การติดตั้งเสาไฟฟ้าแสงสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 120 ชุด ราคากลางก็อยู่ที่ต้นละประมาณ 25,000 บาท แล้ว นอกจากนี้ ทางโครงการก็ยังมีการรับประกันอีก 2 ปีด้วย ทั้งนี้เมื่อคิดจำนวนเงินในส่วนของ โซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่ ก็เกิน 30 ล้านบาทแล้ว เมื่อลองบวกตัวเลขในจำนวนที่เกิน 30 ล้านบาท กับการติดตั้งเสาไฟฟ้าแสงสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นแบบกลมๆ ตัวเลขราคาที่ออกมาก็อยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้อง ซึ่งต้องรวมค่าแรง ค่าขนส่ง ค่าอุปกรณ์อื่นๆ และกำไรของบริษัทรวมอยู่ด้วย ดร.สุชัจจ์ กล่าว