ถามโซเชียล จิตสำนึกสาธารณะ กรณี ไรเดอร์ ส่งฟรี แต่ ลูกค้า สั่งเล่น !!

พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ พิธีกร ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ โพสต์เฟซบุ๊ก ถามโซเชียล ถึง จิตสำนึกสาธารณะ จาก กรณี ไรเดอร์ ส่งฟรี แต่ ลูกค้า สั่งเล่น !!

กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นดราม่า เพียงชั่วอึดใจ จากกรณีแอปพลิเคชั่น Robinhood ซึ่งเป็นผู้ให้บริการจัดส่งอาหาร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ที่ไม่ต้องการเดินทาง ลดการแออัด ซึ่งล่าสุดได้ประกาศให้บริการส่งฟรี เป็นระยะเวลา 15 วัน เพื่อช่วยกระตุ้นศรษฐกิจ รวมถึงเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหาร

แต่ไม่วาย เกิดกรณีดราม่า สนั่นโซเชียล เมื่อผู้ใช้บริการบางราย ไม่ได้คำนึงถึงจิตสำนึกสาธารณะ เท่าที่ควร เห็นแต่ผลประโยชน์ส่วนตนที่จะได้รับฝ่ายเดียว หรือ บางราย เพียงแค่ต้องการทดสอบระบบ ว่าจัดส่งฟรีจริงหรือไม่ จนเกิดกรณีศึกษา เมื่อลูกค้าจำนวนมาสั่งอาหารราคาหลักสิบ แต่กำหนดพื้นที่จัดส่งข้ามเขตเป็นระยะทางไกล เป็นเหตุให้พนักงานจัดส่ง หรือ ไรเดอร์ รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้าต่างได้รับความเดือนร้อน

ซึ่งจากกรณีนี้ นายพงศ์สุข หิรัฐพฤกษ์ พิธีกร และ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ชื่อดัง ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถามโซเชียล ถึง จิตสำนึกสาธารณะ จากกรณี ไรเดอร์ ส่งฟรี แต่ลูกค้า สั่งเล่น!! โดยข้อความต้นฉบับ ระบุว่า

เรื่องนี้สืบเนื่องจากคำคม “ช่วยคนอย่าเขียม” ความฟีลกู้ดเมื่อวานนี้…ตื่นเช้ามา…ขุ่นเลย!

เห็นรายงานการ “สั่งเล่นๆ” ของคนจำนวนไม่น้อย บนแอป Robinhood ที่ประกาศ “ส่งฟรี” 15 วัน เพื่อ “ช่วยเศรษฐกิจ” ช่วยร้านเล็กๆ ให้รอดได้ หลากหลายเคสถูก Cap ขึ้นรายงานบนโซเชียล

เช่น “สั่งไข่ดาว 5 บาท” แล้วให้มาส่ง 10 กม. หรือ “สั่งข้ามเมือง 40 กม. บ้านอยู่พระราม 3 สั่งจากปทุมธานี” เหนือสุดขอบเขตบริการ ไปส่งใต้สุดขอบ … นี่ลืมไปแล้วใช่ไหมว่า ไรเดอร์คือมอเตอร์ไซค์ ??? (ไรเดอร์ได้ค่าจ้างส่งจาก SCB ที่ Absorb ดูแลค่าใช้จ่ายแทนลูกค้า ก็เพลิดเพลินแหละครับ)

แต่ที่เลวสุดคือ สั่งปลาแซลมอนซาซิมิ ข้ามเมืองเหมือนเคสนั้น แต่ดันไม่พอใจสินค้า เนื่องจากใช้เวลาส่งนาน 2 ชั่วโมง (แอปแจ้งแล้ว) แต่พอมาถึงก็แจ้งเคลมเงินคืน อ้างว่าไม่สด …อันนี้เจ้าของร้านต้องคืนเงินตัวเอง จะเรียก Grab ไปเปลี่ยนสินค้าก็ 900.- สุดท้ายก็ต้องให้สินค้าแก่ลูกค้ารายนั้นไปพร้อมคืนเงินให้ด้วย เพราะคำ ๆ เดียวเลยคือ “ลูกค้าไม่พอใจ”

… จะตักตวงอะไร เอาแต่พอดีนะครับ ถ้าสติรู้สึกผิดชอบไม่มี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ก็จะผุดขึ้นมาให้ยากขึ้นเพื่อป้องกันคนฉกฉวยประโยชน์จากความใจดี … ก็เหมือนกฎหมายแหละ บางประเทศไม่ต้องมีกฎหมายบางตัวก็เพราะประชากรเขาไม่ทำกันอยู่แล้ว

ผมเคยชวนเพื่อนๆ บนเฟซบุ๊กคุยเรื่องประเด็น “ขยะที่เกิดจากการสั่งของอีคอมเมิร์ซ” ผมคิดว่ามัน Wrap ห่อหุ้มมามากไป

แต่หัวอกพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่สะท้อนกลับมาคือ “การห่อหุ้มไปให้น้อย (ทั้งๆ ที่มันไม่แตกแน่ๆ) ก็ = การถูกหักดาว” จากทัศนะคนจำนวนไม่น้อยที่อยากเห็นการห่อหนาๆ แม้สินค้าชิ้นเล็กจิ๋ว เบาโหวง หรือแม้กระทั่ง “ฟองน้ำ” ที่ต้องการการห่อ!! … (ตลกร้ายมากนะอันนี้)

เมื่อคืนทีม SCB ผู้พัฒนาแอป Robinhood เขาระดมความคิดกันถึงตี 2 เพื่อปรับแอป ป้องกันคนแกล้งสั่งทั้งหลายแล้ว

จะโทษแอปก็ได้ว่า “ทำไมไม่ป้องกันไว้แต่แรกล่ะ ?” … แต่สำหรับผม ผมยึดถือสาระที่ว่า “ถ้าประเทศไหนไม่มีคนทำผิดเรื่องใด ก็ไม่จำเป็นต้องออกกฎหมายห้ามในเรื่องนั้น”

จิตสำนึกสาธารณะ จำเป็นมาก หากเราอยากเป็นประเทศที่เจริญแล้ว
พงศ์สุข หิรัฐพฤกษ์ พิธีกร และ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์

จากกรณีที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะสั่งเพื่อทดลองระบบส่งฟรี หรือ อยากทดสอบการจัดส่ง หรือจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม หากทุกคนมีจิตสำนึกสาธารณะ ที่ดี นึกถึงจิตใจคนอื่น แม้จะถึงขั้นเป็นลำดับแรกก็ตาม แต่คิดย้อนกลับกัน หากเป็นตัวเราเอง ที่โดนกระทำจากเหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้ จะรู้สึกอย่างไร ร้านค้า ร้านอาหาร ผู้ประกอบการ ต่างได้รับความเดือนร้อน ย่ำแย่กันมากพอควรแล้ว จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดที่เกิดขึ้น เราเองในฐานะผู้บริโภค ก็ลำบากไม่แพ้กัน ในเมื่อมีใครสักคน ยื่นมือเข้ามา ช่วยแบ่งเบาบางเรื่องได้ ก็อยากให้คิดตักตวงกันแต่พอเหมาะพอควร นะคะ ใจเขา ใจเรา เขาลำบาก เราก็ลำบาก ความสุขสบายบนความทุกข์ยากของผู้อื่น ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริงนะคะ