รวม 10 ศัพท์โซเซียล พร้อมความหมาย ใครเคยใช้คำไหนกันบ้าง? ไหนเล่าสิ !

เทรนด์ภาษาวัยรุ่น กำลังแรง มีคำศัพท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย วันนี้ อีจัน รวม 10 ศัพท์โซเซียล พร้อมความหมาย ใครเคยใช้คำไหนกันบ้าง? ไหนเล่าสิ !

ไอเดียของวัยรุ่นไทย ถือได้ว่าสดใหม่ ไม่แพ้ชาติใดในโลกเลยนะคะ เรื่องนี้ตกทอดมายาวนาน จากรุ่นสู่รุ่น ก่อนหน้านี้ หากย้อนกลับไปหลายสิบปี ในยุคสมัยที่ยังไม่มีโซเซียล รุ่นเก๋าๆ เขาก็มีการตั้งคำศัพท์ที่ใช้เฉพาะกลุ่มกันไว้มากมาย อย่างคำว่า “จ๊าบ” ที่ตอนนั้น ใครไม่รู้จักคำนี้ ต้องลาออกจากการเป็นวัยรุ่นไปเลย ^^ แต่ตอนนี้ หากใครยังพูดคำว่า จ๊าบ อยู่ละก็ แหม่! รู้อายุกันเลยนะคะ คุณพี่!

เอาละ! เพื่อไม่ให้ตกกระแส เทรนด์โซเซียล ของเด็กยุคใหม่ วันนี้ อีจัน รวบรวม 10 ศัพท์โซเซียล ในช่วงปีที่ผ่านมา พร้อมความหมายเริ่ดๆ ที่ต้องเกริ่นไว้ก่อนเลยว่า บางคำ ไม่ต้องกับความหมายเลยนะ แต่วัยรุ่นยุคโซเซียลเขาใช้กันบ่อย แถมเข้าใจกันดีซะด้วย เพื่อไม่ได้ตกเทรนด์ ไปเริ่มกันเลย!

“ว่าซั่น” ศัพท์คำแรก ติดเทรนด์ ติดปาก มาจากเน็ตไอดอลสาวมากความสามารถ นามว่า หยาดพิรุณ ที่เรียกได้ว่าฮิตกันภายในช่วงข้ามคืนเท่านั้น “ว่าซั่น” เป็นคำหนึ่งที่ใช้กันบ่อยทางภาคอีสาน ความหมายคือ ว่าอย่างนั้น ประมาณนั้น ตามนั้น อย่างนั้น มักเอาไว้พูดต่อท้ายประโยคบอกเล่า เพื่อการเล่าเรื่องให้ได้ อรรถรส มากขึ้น ว่าซั่น!

ปั๊วะ” คำนี้ มักใช้ควบคู่ กับคำว่า “ปัง” หรือจะใช้แยกกันก็ได้ ความหมายคือ มันดีมาก เริ่ด สุดยอด ยอดเยี่ยม ยกตัวอย่างการใช้แบบคำเดียว “วันนี้สวยนะ แต่งหน้าได้ ปั๊วะมาก” แต่ถ้าใช้คู่กันทั้ง 2 คำ ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มอารมย์เข้าไปในขั้นกว่า เช่น “เห้ยแก..วันนี้สวยนะ ปั๊วะปัง! มาก”

“ปังปุริเย่” มี 2 คำด้านบนแล้ว ก็ต้องมีคำนี้แล้วแหละ โดยคำนี้เป็นรูปประโยคคำยาวๆ ขั้นกว่า ขั้นสุด ของคำว่า ปั๊วะ ปัง หรือเปรียบเทียบความหมายให้เข้าใจง่ายขึ้น คือแบบ มันเริ่ดดดดดดดดดด มันดีมากกกกกกก “ปังปุริเย่” เริ่ดแบบไม่ไหวแล้ว แม่!

“แกง” อีกคำศัพท์ที่ฮิตติดเทรนด์อย่างมาก เริ่มต้นจากการใช้เฉพาะกลุ่ม LGBTQ โดยมีความหมายย่อจากคำว่า แกล้ง หลอก โกหก ทำให้ขายหน้า ซึ่งยังมีศัพท์อีกหลายคำที่ใช้ในทำนองเดียวกัน แต่ต่างบริบท อาทิ “จกตา” หมายความว่า โกหก คือ โดนโกหก หลอกลวง จนตาบอดแล้วเนี้ย อีกคำคือ “ฉีดยา” ความหมาย เป็นการกลั่นแกลง ประมาณว่า หลอกให้ฉีดยาพิษ ทำให้ทรมาน ยกตัวอย่าง เวลาที่เพื่อนรู้ตัวทีหลังว่า โดน “แกง” ก็บอกเพื่อนซ้ำไปว่า ฉันว่าแก โดน “ฉีดยา” แล้วเนี้ย

“อย่าหาทำ” คำนี้ ก็ฮิตสุดๆ ในหมู่วัยรุ่นยุคนี้กันเลยทีเดียว คำนี้เริ่มต้นมาจากคำว่า อย่าทำ อย่าไปทำแบบนั้น หรือ อย่าหาเฮ็ด ในภาษาอีสาน นั้นแหละค่ะ ตัวอย่างประโยค เอาไว้ใช้เป็นการตักเตือน แบบนี้มันไม่ดี ไม่งาม “อย่าหาทำ”

“หนึ่ง” คำนี้เป็นอีกศัพท์ ที่มาจากเหล่า LGBTQ ซึ่งพื้นฐานมาจากคำศัพท์เดิม ที่ใช้กันเฉพาะกลุ่มอยู่แล้ว แต่ตัดให้สั้นลงไปอีก จากคำว่า “ยืนหนึ่ง” ความหมายคือ ยืนที่หนึ่ง ดีที่สุด แต่พอเหลือแค่คำเดียว ว่า “หนึ่ง” จะไว้ใช้ต่อท้ายประโยค โดน แกงแล้ว หนึ่ง เหมือนเป็นการเล่าเรื่องต่างๆ เอาไว้ต่อท้าย เรื่องต่อๆ ไป ให้เรื่องเล่าไม่ดูจืดเกินไป เพิ่มอารมย์ร่วมกับผู้ฟังไปอีก!

“โอเค นัมเบอร์วัน” คำนี้ถือเป็นวลี เริ่มต้นมาจากการสัมภาษณ์ของสื่อ ที่ไปพูดคุยกับแม่ค้า ถึงเหตุการณ์ผู้ชุมนุม ซึ่งเหล่าพ่อค้าแม่ค้า ต่างได้รับผลกระทบการจากออกมาชุมนุม บางรายขายไม่ได้ ขาดรายได้ แต่ก็ใจดี บอกว่าไม่เป็นไร ยังโอเค! แล้วพูดออกมาจนเป็นคำฮิตติดเทรนด์ ว่า “โอเค นัมเบอร์วัน” จากนั้นบรรดาเน็ตไอดอล ต่างนำมาใช้พูดจนติดปาก แต่ที่เห็นนำมาใช้บ่อยๆ เห็นจะเป็นเน็ตไอดอลสาวสอง พี่หญิงลี นั้นเอง โดยความหมายคือ ได้ ได้เลย จัดมาเลย จัดมาอีก “โอเค นับเบอร์”

“แหก” คำนี้นั้น ที่มาที่ไป ไม่ชัดเจนเท่าไหร่ แต่ความหมายคือ การเปิดโปง ออกมาแฉ บอกความจริง ในเรื่องหรือกรณีต่างๆ ที่คนหนึ่งได้เคยออกมาโกหก หรือ จกตา ไว้ก่อนหน้านี้นั้นเอง ยกตัวอย่างประโยค จกตาเพื่อนมาได้ตั้งนาน สุดท้ายเป็นไงละ โดน “แหก” จนได้

“เบอร์” ศัพท์นี้ เป็นการใช้บอกขนาด ความน่าสนใจ ใช้แทนได้กับทุกอย่าง เหมือนเป็นการบอกไซส์ของเรื่องที่กำลังจะเล่าให้เพื่อนฟัง หรือ บอกให้เพื่อนรู้ว่าสิ่งนี้มันสำคัญมากน้อยแค่ไหน ยกตัวอย่างประโยค แหม่! แก ดูสิ เรื่องแค่นี้ ทำเป็นเล่น “เบอร์ใหญ่” ก็ประมาณว่า เรื่องเล็กน้อยนิดเดียว แต่ทำให้เป็นเรื่องใหญ่เกินไป นั้นเอง

“วงวาร” จุดเริ่มต้นของศัพท์คำนี้ มาจากคำว่า สงสาร นั้นแหละค่ะ โดย ส.เสือ และ ว.แหวน ในแป้นพิมพ์ จะอยู่ติดกัน ทำให้บางครั้งรีบเมาท์กับเพื่อนสาวงี้! พิมพ์เร็วไปหน่อย รีบ! นิ้วเลยไปโดน ว.แหวน แทน ส.เสือ แต่ก็ออกมาแล้ว ดูน่ารักดีนะ ก็เลยใช้ไปละกัน “วงวาร” ก็ตรงตัว ความหมายคือ สงสาร นั้นเองค่ะ ไม่มีอะไรซับซ้อน