เข้าใจตรงกัน ดื่มน้ำเยอะ อันตรายถึงชีวิต

เปิดข้อมูลโรงพยาบาล ยืนยัน ดื่มน้ำเยอะส่งผลเสียต่อสุขภาพ มากกว่าดี

กรณีนักแสดงสาวสวยสุดแซ่บอย่าง ‘เจนิส เจณิสตา พรหมผดุงชีพ’ ออกมาโพสต์ข้อความผ่านอินสตาแกรม พร้อมภาพสวมชุดคนไข้ในโรงพยาบาล ระบุว่า วันเกิดปีนี้ต้องฉลองในโรงพยาบาล โดยหมอวินิจฉัยว่า เกิดจากการพักผ่อนน้อย กินน้ำมากเกินไป จนทำให้แร่ธาตุเจือจาง

ซึ่งหลังเรื่องดังกล่าวถูกนำเสนอไป พบว่า ผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็น ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจผิดมาตลอดว่า ดื่มน้ำปริมาณมากแล้วจะส่งผลดีต่อร่างกาย

เจนิส แอดมิทโรงพยาบาล รับวันเกิด เพราะดื่มน้ำเยอะทำร่างกายขาดแร่ธาตุ

แต่ข้อมูลจาก ‘โรงพยาบาลเพชรเวช’ ระบุว่า การดื่มน้ำมากเกินไป ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพราะไตต้องทำงานหนักขึ้น จากการขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย และยิ่งถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับไตอยู่แล้ว จะยิ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายยิ่งขึ้น อีกทั้ง ร่างกายยังสามารถเกิดภาวะน้ำเป็นพิษได้

  • ผลเสียถ้าดื่มน้ำเยอะเกินไป

โซเดียมต่ำกว่าปกติ : ค่าปกติของโซเดียมในร่างกายนั้นจะอยู่ที่  135-145 mEg/L.แต่ถ้าดื่มน้ำมากเกินไปร่างกายเสียสมดุล โดยค่าของโซเดียมจะอยู่ต่ำกว่า 135 mEq/L เรียกว่า ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ทำให้มีอาการสับสนเล็กน้อย หรือเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ หากอาการรุนแรง จะรู้สึกง่วงนอน และไม่รู้สึกตัวในที่สุด

เซลล์บวม : ร่างกายมนุษย์จะมีโซเดียม และโพแทสเซียมไอออน ที่ทำหน้าที่เป็นอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย และรักษาสมดุลของเหลว ระหว่างเซลล์ และเลือด หากดื่มน้ำมากเกินไป น้ำจะเข้าไปในเซลล์ ทำให้เซลล์บวมมากขึ้น จะมีอาการปวดศีรษะ ชัก และไม่รู้สึกตัว มีความเสี่ยงในการเสียชีวิต

กล้ามเนื้อเป็นตะคริว : เมื่อร่างกายเสียสมดุลจากการดื่มน้ำมากเกินไป กล้ามเนื้อจะเกิดการหดเกร็ง และเป็นตะคริวในที่สุด

ไตทำงานหนัก : ดื่มน้ำครั้งละมากๆ ไตจะกรองน้ำส่วนเกินออกจากเลือดอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดโรคไตเรื้อรัง และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

หัวใจทำงานหนัก : เมื่อดื่มน้ำเข้าไปในร่างกาย ลำไส้เล็กจะทำการออสโมซิส (Osmosis) น้ำไปในกระแสเลือด เมื่อปริมาณน้ำเข้าสู่ร่างกายเยอะ ปริมาตรเลือดก็เพิ่มสูงขึ้น หัวใจจึงต้องทำงานหนัก จนเกิดอาการชักได้

โพแทสเซียมต่ำกว่าปกติ : เมื่อได้รับน้ำมากเกินไป ทำให้ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายต่ำลง ทำให้ความดันโลหิตต่ำ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้

เหนื่อย อ่อนเพลีย : หากไตทำงานหนักขึ้น ร่างกายจะมีความรู้สึก อ่อนเพลีย และเหนื่อยได้เช่นกัน

  • อาการที่เกิดขึ้น หากดื่มน้ำมากเกินไป

ไตไม่สามารถขับน้ำออกไปได้หมด จะเกิดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และอ่อนเพลีย

ขณะเดียวกัน เมื่อเซลล์เกิดการบวมน้ำ จะเกิดอาการสับสน มึนงง ปวดศีรษะ ง่วงซึม ริมฝีปาก มือ และเท้า มีอาการบวม

ระดับแร่ธาตุในร่างกายลดลงผิดปกติ จะเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อหรือตะคริว เกิดอาการชัก สูญเสียการรับรู้ และเสียชีวิตได้

  • บุคคลที่มีความเสี่ยงดื่มน้ำมากเกินไป

 ผู้ป่วยโรคไต

ผู้ป่วย โรคหัวใจ

นักกีฬา หรือผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก

ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตอากาศร้อน

ผู้ที่เคยใช้ยาเสพติด รวมถึงการติดแอลกอฮอล์

ผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก

ทารกที่ไม่ได้รับนมแม่ หรือทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดาที่ติดยาเสพติด

ผู้ป่วยจิตเวช เช่น ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์

  • การดื่มน้ำให้เหมาะสมกับร่างกาย

 ผู้ชายควรดื่มน้ำไม่เกิน 3.7 ลิตรต่อวัน

ผู้หญิงควรดื่มน้ำไม่เกิน 2.7 ลิตรต่อวัน

ควรจิบน้ำทีละน้อยตลอดทั้งวัน

หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำทีละมากๆ ในเวลาสั้นๆ

นอกจากการดื่มน้ำแล้ว การปัสสาวะก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ปกติแล้วควรปัสสาวะทุกๆ 3-4 ชั่วโมง ใน 1 วัน และสีปัสสาวะต้องเป็นสีเหลืองอ่อนๆ หากมีการปัสสาวะน้อยกว่า 3-4 ครั้ง ต่อวัน และปัสสาวะเป็นสีเข้ม แสดงว่าร่างกายได้รับน้ำน้อยจนเกินไป หากมีการปัสสาวะมากกว่า 6–8 ครั้งต่อวัน และปัสสาวะมีสีใส แสดงว่าร่างกายได้รับน้ำมากเกินไป

คลิปแนะนำอีจัน
นาทีชีวิต พลังซูม 100 เท่า ช่วยชีวิตหนุ่มตกเจ็ทสกี