ใช้งานปีเดียวพัง? เพจดังโพสต์ภาพ ถนนคนเดิน จ.อุบลฯ ทรุดหนัก

“คนอุบลฯ บอกได้ใช้งานเเค่ปีเดียว ตอนนี้พัง” เพจดังโพสต์ถนนคนเดิน จ.อุบลฯ ทรุดหนักว่า 100 เมตร

เพจดังโพสต์ภาพถนนคนเดินเรียบแม่น้ำมูล จ.อุบลราชธานี ที่ทรุดตัวพังทั้งแถบ พร้อมแคปชั้น

“ทางเดินริมน้ำที่อุบลราชธานี …

คนอุบลฯ บอกได้ใช้งานเเค่ปีเดียว ตอนนี้พัง สภาพแบบนี้แล้ว”

อีจันได้สอบถามกับทางทีมข่าวในพื้นที่ถึงข้อเท็จจริง ทางทีมได้ลงพื้นที่บริเวรถนนเลียบแม่น้ำมูล เทศบาลนครอุบลราชธานี ซึ่งทรุดยาว 100 เมตร และต้องปิดการจราจร ขณะนี้อยู่ระหว่างรอวิศวกรและบริษัทรับเหมาแก้ไข คาดเกิดจากมีน้ำในดินมากเกินไป

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.66 นายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัด และนายธรธรรม์ ชินโกมุท รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครอุบลราชธานี

ได้เข้าสำรวจถนนเลียบแม่น้ำมูลป้องกันตลิ่งพัง เกิดการทรุดตัวเป็นแนวยาวเกือบ 100 เมตร บริเวณด้านหลังของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทำให้เทศบาลต้องนำแท่งแบริเออร์มาวางปิดกั้นห้ามรถทุกชนิดแล่นผ่านเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะทำการซ่อมแซมเสร็จ

โดยสาเหตุทางด้าน ทางด้านนายธรธรรม์ ได้แจ้งว่าเกิดการทรุดตัวของดินใต้ผนังกันน้ำเขื่อน ที่ทำเป็นถนนเกิดการทรุดตัว ทำให้เกิดพังทลายลงถึงเสาที่ทำเป็นตอม่อกันหน้าดินไม่ให้พังทลายลงแม่น้ำ

และโครงการนี้เป็นของกรมโยธาธิการและผังเมืองที่ก่อสร้างต่อเนื่องมานานหลายปี หลังเสร็จก็ได้ส่งมอบพื้นที่ถนนให้เทศบาลดูแล ต่อมาเทศบาลได้มาจัดทำเป็นถนนคนเดินช่วงวันหยุดศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เพื่อให้พ่อค้าแม่ขายมาขายสินค้าให้ประชาชน เมื่อเกิดการทรุดตัวก็จะย้ายการจัดถนนคนเดินให้พ่อค้าแม่ค้าไปขายในจุดใกล้เคียงที่ถนนยังอยู่ในสภาพดี แต่ไม่อนุญาตให้นำรถทุกชนิดเข้ามาในบริเวณที่จัดทำเป็นถนนคนเดิน เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดลงไปบนถนนในช่วงนี้

ส่วนการแก้ไขทราบว่า เจ้าหน้าที่กรมโยธาธิการและผังเมือง จะร่วมกับบริษัทที่รับเหมาเปิดหน้าถนนตรงจุดที่ทรุดตัว เพื่อตรวจสอบดูน้ำในชั้นใต้ดิน หากเจาะแล้วระดับน้ำชั้นใต้ดินอยู่ในระดับห่างจากดินเพียง 1 เมตร ก็ยังทำให้เกิดดินทรุดตัวได้อีกแต่หากอยู่ลึกลงไป 2-3 เมตร หรือลึกในระดับเสมอกับใต้ท้องน้ำก็ถือว่าเดินได้หยุดการทรุดตัวแล้ว

หลังจากนั้นก็จะทำการบดอัดดินลงไปในจุดที่เกิดการทรุดตัวใหม่ เพื่อให้เกิดความแข็งแรงดินไม่เกิดเป็นโพลง ก็จะสามารถกลับมาใช้งานได้อีก จึงต้องรอให้กรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับบริษัทผู้รับเหมาทำการแก้ไข ช่วงนี้ ก็จะปิดถนนที่ทรุดตัวไว้ก่อน

ในส่วนของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุเล่าว่า ก่อนทรุดตัวถนนมีรอยแยก ถนนเริ่มเกิดการทรุดตัวตั้งแต่ช่วงบ่ายที่มีฝนตกหนัก จนเช้าถนนทรุดตัวเป็นแนวยาว เทศบาลได้นำแผงมาปิดกั้นห้ามใช้ถนน สำหรับถนนเส้นนี้ สร้างเสร็จมาก่อนเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2565 ก็ทำให้ชาวบ้านสามารถค้าขายได้ในช่วงเป็นถนนคนเดิน และใช้สัญจรไปมาได้สะดวก หากต้องการเดินทางไปยังถนนสายเลี่ยงเมือง 231 ก็ถือว่ามีประโยชน์ไม่ต้องเดินทางอ้อมไกล

ซึ่งหลังจากการสอบความชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงจึงได้คำตอบที่เราตั้งข้อสงสัยว่าสร้างเพียง 1 ปี แล้วพังเลยหรือไม่ คำตอบที่ได้จากชาวบ้างคือสร้างมามากกว่า 1 ปี และในส่วนของการซ่อมแซม อยู่ระหว่างการเข้าตรวจสอบหลังเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ

อีจันชวนโหวต
var d=document,w=”https://tally.so/widgets/embed.js”,v=function(){“undefined”!=typeof Tally?Tally.loadEmbeds():d.querySelectorAll(“iframe[data-tally-src]:not([src])”).forEach((function(e){e.src=e.dataset.tallySrc}))};if(“undefined”!=typeof Tally)v();else if(d.querySelector(‘script[src=”‘+w+'”]’)==null){var s=d.createElement(“script”);s.src=w,s.onload=v,s.onerror=v,d.body.appendChild(s);}