หาคำตอบ มีทะเบียนสมรส เเต่เเต่งงานใหม่ ทำได้หรือไม่ ?

กองปราบปราม เฉลยคำตอบ มีทะเบียนสมรส เเต่แอบไปจัดงานแต่งงาน กับคนอื่น ทำได้หรือไม่ ? ผิดกฎหมายข้อไหนหรือเปล่า ?

จากกรณีที่มีคลิปเเม่ผัวพาลูกสะใภ้เดินถือใบทะเบียนสมรสบุกเข้างานเเต่งงานของลูกชายหรือสามี ที่กำลังจะเเต่งงานกับหญิงคนใหม่ เเละตั้งคำถามว่าทำแบบนี้ได้ยังไง ก่อนจะตบหัวสั่งสอนลูกชาย เเละเดินออกไปจากงานเเต่งงาน จนชาวโซเชียลต่างตั้งฉายาให้เเม่สามีเป็น เเม่ผัวแห่งชาติไปในชั่วข้ามคืน

พร้อมๆ กันกับที่หลายคนอาจสงสัยว่า การที่มีใบทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เเต่ไปแต่งงานใหม่ ทำได้ด้วยหรือ ?

ซึ่งทางเพจกองปราบปราม ก็ได้ชี้เเจงกรณีนี้เเล้วว่า

การที่สามี หรือภริยา ที่จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย แอบไปจัดงานแต่งงาน กับชาย หรือหญิงอื่น นั้นไม่สามารถทำได้ !

เพราะ นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแล้ว ยังเป็นการหักหาญน้ำใจของอีกฝ่ายอีกด้วย

ซึ่งตามกฎหมาย หากสามี หรือภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้แอบไปจัดงานแต่งงานกับหญิง หรือ

ชายอื่น มีแขกมีเพื่อน มีญาติพี่น้องมาร่วมแสดงความยินดีด้วยนั้น

พฤติการณ์เช่นนี้ทางกฎหมายถือว่า หญิง หรือชายคนนั้นได้ยกย่องชายหรือหญิงอื่นอย่างสามี หรือภริยาของตนแล้ว ในกรณีเช่นนี้ สามารถดำเนินการได้คือ

1. สามารถฟ้องหย่า “สามี หรือภริยา” ได้ (ป.พ.พ. 1516(1))

2. สามารถฟ้อง “ชาย หรือหญิงอื่น” เพื่อเรียกค่ทดแทนได้ (ป.พ.พ.มาตรา 1523)

3. สามารถฟ้อง “สามี หรือภริยา” เพื่อเรียกค่าทดแทนได้ (ป.พ.พ.มาตรา 1523)

4. สามารถฟ้องทั้ง “สามี หรือภริยา” และ “ชาย หรือหญิงอื่น” เพื่อเรียกค่าทดแทนพร้อมกันก็ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 1523)

5. ถ้าการหย่าทำให้ “สามี หรือภริยา” ยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ ค่าเลี้ยงชีพนี้ ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับ (ป.พ.พ มาตรา 1526 และฎีกาที่ 8046/2556)

หากคู่สามี หรือภริยาใด มีความประสงค์ที่จะฟ้องร้องหย่าคู่ของตนสามารถเข้าปรึกษาได้ที่ “ศาลเยาวชน และครอบครัว” ในท้องที่ที่ท่านอาศัยอยู่