ไบโพลาร์ ” โรคอารมณ์สองขั้ว ซึมเศร้าสลับอารมณ์ดีผิดปกติ

คำจำกัดความโรคไบโพลาร์

นพ.พิชัย อิฏฐสกุล รองศาสตราจารย์ สาขาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ให้คำจำกัดความโรคไบโพลาร์ อย่างง่ายๆ ว่า "อารมณ์สองขั้ว" โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ

1. ซึมเศร้า (depression)
2. อารมณ์ดีผิดปกติ (mania)

สาเหตุของโรคไบโพลาร์ นั้นมีได้หลายสาเหตุไม่ว่าจะทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม หรือการเลี้ยงดู โดยทางพันธุกรรมนั้นในครอบครัวที่พ่อแม่ป่วยโรคนี้ลูกจะเสี่ยงเป็นไบโพลาร์ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะเป็นกันทุกคน รวมถึงการเลี้ยงดู หากเลี้ยงดูจนทำให้เด็กเกิดความเครียด หรือไม่สามารถปรับตัวได้ ก็เสี่ยงที่จะเกิดการกระตุ้นได้มากขึ้น ส่วนสิ่งแวดล้อม เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสมองทำให้การควบคุมอารมณ์เปลี่ยนไป


แนวทางในการรักษา ผู้ป่วยต้องพบจิตแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ตรวจเลือดรวมไปถึงซักประวัติผู้ป่วยว่ามีความผิดปกติอย่างไร จากนั้นช่วงระยะการรักษาช่วงแรกจะเป็นการให้ยา เพื่อคุมอาการให้กลับมาเป็นปกติ หลังจากนั้นจะเป็นการรักษาต่อเนื่องซึ่งอาจต้องใช้ยาคุมอาการด้วย เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นโรคซ้ำ ซึ่งผู้ป่วยทุกรายมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์


ทั้งนี้โรคซึมเศร้ากับโรคไบโพลาร์นั้นถือเป็นคนละโรค เพราะไบโพลาร์คืออารมณ์ 2 ขั้ว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย มีช่วงซึมเศร้ากับ mania ในขณะที่ โรคซึมเศร้า จะมีเพียงอาการซึมเศร้าอย่างเดียว ซึ่งในกระบวนการของการรักษาโรคซึมเศร้าคือให้ยาต้านเศร้า แต่ไบโพลาร์ จะให้ยาที่ทำให้อารมณ์คงที่

อย่าลืมกดติดตาม และกดกระดิ่งกันเยอะๆ นะคะ
Youtube : youtube.com/ejannews

ติดตามอีจัน ช่องทางอื่นได้ที่
Facebook : facebook.com/ejan2016
Twitter : twitter.com/ejannews
Website : ejan.co