นักวิทย์ฯ ชันสูตรซากหมาป่าดึกดำบรรพ์ หลังถูกแช่แข็งนาน 4 หมื่นปี

นักวิทยาศาสตร์รัสเซีย ผ่าพิสูจน์ซากหมาป่าดึกดำบรรพ์ หลังถูกแช่แข็งใต้พื้นดินเป็นเวลากว่า 44,000 ปี บริเวณตะวันออกของรัสเซีย หวังศึกษาเข้าใจเรื่องราวของหมาป่าโบราณ

นักวิทยาศาสตร์ ผ่าพิสูจน์ซากหมาป่าดึกดำบรรพ์ ที่ถูกแช่แข็งนานกว่า 44,000 ปี บริเวณภาคตะวันออกของรัสเซีย หลังถูกพบโดยชาวบ้าน หวังศึกษาถึงความเป็นมาของหมาป่ายุคไพลสโตซีนตอนปลาย 

สื่อต่างประเทศรายงานข่าว ทีมนักวิทยาศาสตร์ของรัสเซีย ในภูมิภาคยากูเตีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัสเซีย กำลังผ่าพิสูจน์ซากของหมาป่าดึกดำบรรพ์ที่ถูกแช่แข็งในดิน  บริเวณเขตอาบีสกี ในภูมิภาคยากูเตีย ทางตะวันออกของรัสเซีย ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นตลอดเวลา  

ภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอาร์กติกและเขตตะวันออกที่ห่างไกลของรัสเซีย พื้นส่วนใหญ่เป็นหนองน้ำและป่าไม้ขนาดกว้างใหญ่และประมาณกว่า 95% ของพื้นที่ถูกปกคลุมไปด้วยชั้นดินเยือกแข็งคงตัว โดยในช่วงฤดูหนาวบริเวณแห่งนี้จะมีอุณหภูมิต่ำสุดถึงติดลบ 64 องศาเซลเซียส  

นายโปรโตโปปอฟ กล่าวว่า โดยปกติสัตว์กินพืชมักจะตายและติดอยู่ในหนองน้ำ ทำให้มันถูกแช่แข็ง และยังคงสภาพเดิมไว้ได้ นี่ถือเป็นครั้งแรกที่พบสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่แบบนี้และถือว่ายังมีสภาพที่สมบูรณ์ถือเป็นเรื่องที่มีความพิเศษจริง ๆ ที่สำคัญหมาป่ายังเป้นหนึ่งในนักล่าที่ขนาดรองลงมาจากสิงโต หรือ หมี ที่มีความรวดเร็ว และคล่องแคล่ว 

อย่างไรก็ตาม สำหรับหรับการผ่าพิสูจน์ซากหมาป่าดึกดำบรรพ์ตัวนี้ เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภูมิภาคยากูเตียเมื่อ 44,000 ปีก่อน ว่าหมาป่าตัวนี้อยู่อาศัยอย่างไร กินอะไรเป็นอาหาร รวมถึงเรื่องราวอื่น ๆ เกี่ยวกับหมาป่าโบราณสายพันธ์อื่น ๆ ที่อยู่อาศัยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของแผ่นดินยูเรเซียอีกด้วย 

นี่ถือเป้นการค้นพบครั้งสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ที่อาจทำให้เราเข้าใจความเป็นมาของถิ่นที่อยู่ และสภาพแวดล้อมของโลกเมื่อครั้งอดีตกาลอีกด้วย 

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : nypost