ญี่ปุ่น ยัน พบผู้ป่วยติด โรคเห็บ จากคนสู่คนเป็นครั้งแรก

สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติญี่ปุ่น ยัน พบผู้ป่วยติดเชื้อ โรคเห็บ หรือโรคภาวะเกล็ดเลือดต่ำ จากคนสู่คนเป็นครั้งแรก

เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 67 สื่อในประเทศญี่ปุ่นได้รายงานข่าวพบการติดเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่มีการแพร่ระบาดจากคนสู่คนเป็นครั้งแรก นั่นก็คือ โรคเห็บ หรือ โรคภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากที่เดิมที่จะมีการแพร่ระบาดจากสัตว์สู่คนเท่านั้น 

เรื่องดังกล่าวถูกเปิดเผยและยืนยันโดย สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติของญี่ปุ่น (NIID) ที่กล่าวว่า โรคเห็บ (Severe Fever with Thrombocytopenia Syndrome : SFTS) หรือ โรคภาวะเกล็ดเลือดต่ำ มีการแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คนเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น 

โดยผู้ที่ติดเชื้อดังกล่าวคือ แพทย์หนุ่มวัย 20 ปี ที่มีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายหนึ่งวัย 90 ปี ที่เดินทางมารับการรักษาเนื่องจากมีอาการเนื่องจากอาการเบื่ออาหาร มีไข้ และเคลื่อนไหวลำบาก ก่อนที่ถัดมาเพียงไม่กี่วันชายชราคนนี้จะเสียชีวิตในที่สุด 

อย่างไรก็ตาม คุณหมอวัย 20 ปีที่ติดเชื้อดังกล่าวนี้ ได้ทำการรักษาดูแลผู้ป่วยที่เสียชีวิตแบบใกล้ชิดทั้งการทำแผล เย็บแผล ถอยสายยางที่ใช้ระบายสารคัดหลั่งต่างๆ เบื้องต้นมีรายงานเพิ่มเติมว่า หมอหนุ่มคนนี้สวมอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ อาทิ ถุงมือ หน้ากากอนามัย แต่ไม่ได้สวมแว่นตา หลังผ่านไปกว่า 11 วัน แพทย์วัย 20 ปี คนนี้ ก็มีอาการเป็นไข้ ปวดศรีษะ เขาได้เข้ารับการตรวจอย่างละเอียดก่อนที่แพทย์จะระบุว่าเขาเป้นโรคภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือ โรคเห็บ  

โดยแพทย์ได้มีการนำผลทางพันธุกรรมของชายวัย 90 ปี ที่เสียชีวิต กับหมอหนุ่มคนนี้มาเทียบเคียงกัน และพบว่าทุกอย่างมีความคล้ายกันมากจึงสรุปได้ว่า โรคเห็บ สามารถติดต่อกันผ่านคนสู่คนได้แล้ว ทางโรงพยาบาลจึงทำการส่งตัวแพทย์คนนี้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที 

สำหรับโรคเห็บ หรือโรคภาวะเกล็ดเลือดต่ำนั้น เป็นโรคที่มีการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน แพร่ระบาดในจีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 โดยอาการแรกเริ่มจะมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ และจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการสามารถยืนยันได้ว่า เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดใหม่ Fever Syndrome with Thrombocytopenia Virus (SFTSV)  โดยมีการรายงานครั้งแรกในประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ. 2554 

ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นของการติดเชื้อนั้น มักจะมาจากการถูกเห็บกัด โดยในสัปดาห์แรกผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไข้ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองบวม และอาการอื่น ๆ โดยมีแนวโน้มที่จะมีอาการเลือดออกในสัปดาห์ที่ 2 ต่อมาอาจทำให้ตับ ไต และอวัยวะอื่น ๆ ล้มเหลว นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือด หากผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และได้รับการรักษาถูกต้องก็อาจเริ่มฟื้นตัวในสัปดาห์ที่ 3 แต่ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหนักมากก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 5-15% ส่วนประเทศที่พบการแพร่ระบาดนั้น ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น 

ขอบคุณข้อมูลจาก : japantimes


คลิปอีจันแนะนำ

แค่หูอื้อ สัญญาณเตือน เฉียดตาย ?