จีน ขุดพบ ฟอสซิล ไดโนเสาร์ ขณะกำลังฟักไข่

ขุดพบ ฟอสซิล ไดโนเสาร์ ขณะกำลังฟักไข่ สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ในมณฑลเจียงซี ทางตะวันออกของ จีน

ซากฟอสซิล ไดโนเสาร์ ขณะกำลังฟักไข่ ถือเป็นฟอสซิลสุดหายาก ถูกขุดพบ ในพื้นที่มณฑลเจียงซี ทางตะวันออกของจีน ซึ่งจะสามารถช่วยส่งเสริมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการขยายพันธุ์ของไดโนเสาร์ กลุ่มเทโรพอด (Theropod) ที่มีลักษณะเด่นเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อและยืนสองขา

ภาพจากอีจัน


ทั้งนี้ ฟอสซิล ไดโนเสาร์ ดังกล่าวมีอายุประมาณ 70 ล้านปี ประกอบด้วย โครงกระดูกไดโนเสาร์วัยเจริญพันธุ์ ตัวอ่อนหรือเอ็มบริโอ (embryo) และรังฟักที่มีไข่เรียงรายอยู่ โดยเชื่อว่าเป็นซากไดโนเสาร์ ขนาดลำตัวยาวประมาณ 2 เมตร ที่กำลังนอนหมอบฟักไข่ในลักษณะท่าทางเดียวกับนกในยุคใหม่
โดยผู้เขียนหลักของงานวิจัย จากมหาวิทยาลัยอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) เปิดเผยว่า ฟอสซิลนี้ ไม่เพียงแสดงท่าทาง ขณะกำลังฟักไข่ ของไดโนเสาร์ แต่ยังรักษาสภาพตัวอ่อนไดโนเสาร์อย่างดี ถือเป็นหลักฐานสำคัญชิ้นล่าสุด เพื่อให้นักวิจัย สามารถทำความเข้าใจพฤติกรรมการฟักไข่ของไดโนเสาร์ กลุ่มเทโรพอด ได้
ขณะที่ ผู้เขียนร่วมของงานวิจัย จากสถาบันบรรพชีวินสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพมานุษยวิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ระบุ ตัวอ่อนในรังมีพัฒนาการที่ค่อนข้างแตกต่างกัน บ่งชี้ถึงการฟักออกจากไข่ที่ไม่พร้อมกัน นับเป็นรูปแบบการฟักไข ที่มักพบในนกยุคใหม่

ภาพจากอีจัน


โดยข้อมูลการศึกษาวิจัยซากฟอสซิล ไดโนเสาร์ ครั้งนี้ ถูกเผยแพร่ในวารสารไซเอนซ์ บูลเลติน (Science Bulletin)