วิธีฮีลความรู้สึก เมื่อเราและลูกเสพข่าวกราดยิงมากไป

อึดอั้น จุกความรู้สึก จนหายใจไม่ออก เมื่อเสพข่าวกราดยิง หนองบัวลำภูมากไป หมอแนะวิธีฮีลตัวเอง และลูกให้ไม่ดิ่ง และเกิดภาวะจิตเวช

หลังจากที่เกิดข่าวสะเทือนขวัญ และบีบหัวใจคนไทย อย่างข่าว #กราดยิงหนองบัวลำภู อ่านรายละเอียดคลิก

Live อัปเดต : โคตรเหี้ยม อดีตตำรวจ กราดยิงศูนย์เด็กเล็ก หนองบัวลำภู

แน่นอนว่าการสูญเสียครั้งนี้ ไม่มีใครตั้งตัว พ่อแม่ครอบึรัวของผู้เสียชีวิตร้องไห้ปริ่มขาดใจ เมื่อเสียคนรักไปแบบไม่มันตั้งตัว

และวลีนี้ที่เศร้าใจ ก็เป็นความจริง คนจากไป ไม่ทรมานเท่าคนอยู่

และวันนี้แอดได้ไปเจอโพสต์ดีๆของ “คุณหมอมิน-พญ.เบญจพร ตันตสูติ” จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น แอดมินเพจเฟซบุ๊กชื่อดังอย่าง @เข็นเด็กขึ้นภูเขา ที่มีผู้ติดตามกว่า 5.6 แสนคน ได้แสดงความเห็นระบุว่า “#สอนลูกให้จัดการอารมณ์ด้านลบหรือปัญหาต่างๆโดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง จากข่าวเศร้าที่เกิดขึ้นเรื่องเหตุการณ์กราดยิง ทำให้หมออยากเขียนบทความนี้ ซึ่งจริงๆ ก็เคยเขียนมาแล้ว แต่นำมาลงในโอกาสนี้ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์นะคะ

หากผิดหวัง โกรธ เสียใจ ไม่ได้ดังใจ แทนที่จะจัดการด้วยอารมณ์ด้านลบด้วยความรุนแรง จะทำยังไงให้ผ่านพ้นพายุอารมณ์ตรงนั้นไปได้อย่างไม่ต้องเกิดผลกระทบรุนแรง โดยเฉพาะต่อคนอื่นๆและตัวเอง เขียนไปเขียนมา ยาวหน่อย แต่คิดว่าสำคัญ อ่านเข้าใจไม่ยาก แต่คงต้องมีเวลาอ่านกันนะคะ

1) พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างของการไม่ใช้อารมณ์และความรุนแรงตัดสินปัญหา แน่นอน ครอบครัวเป็นจุดแรกที่เด็กสัมผัส ถึงจะเป็นเด็กที่มีพื้นอารมณ์ร้อน ถ้าผู้ใหญ่รอบข้างเป็นตัวอย่างให้เห็น สมมุติพ่อของเด็กเป็นคนใจร้อนมาก เวลาโกรธแม่ จะทำร้ายร่างกาย ทำลายของ ตะโกนอาละวาดเสียงดัง ลูกก็จะเห็นภาพนั้นและซึมซับเป็นตัวตน แม้ว่าพ่อจะสอนลูกว่า ลูกจ๋า ใจเย็นๆนะ ก็ไม่เป็นผล เด็กจะเรียนรู้จากสิ่งที่เห็นมากกว่าคำพูดที่ได้ยิน เวลาโกรธก็มีวิธีจัดการ ไม่ใช้ความเกรี้ยวกราดโวยวาย ไม่ตะโกนเสียงดัง เช่น แม่หงุดหงิด ก็บอกลูกดีๆ ขอตัวไปสงบอารมณ์ เด็กก็จะเรียนรู้ว่าไม่ควรทำอะไรเวลาที่หงุดหงิดหรือโกรธรุนแรง

2) ให้เด็กได้สัมผัสธรรมชาติตั้งแต่เล็ก ไปออกกำลังกายกลางแจ้ง สร้างความเชื่อมโยงให้เด็กรับรู้ว่า นอกจากตัวเขาเองก็มีโลกรอบข้าง จะทำให้เขายึดติดกับตัวเองน้อยลง และการจัดการอารมณ์ก็จะดีขึ้นด้วย

3) ไม่ควรให้เด็กอยู่แต่กับอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับจอมากเกินไป โดยที่ไม่ทำกิจกรรมอื่นๆเลย เพราะสื่อต่างๆบางทีก็มีความรุนแรง และทำให้เด็กขาดความเชื่อมโยงกับธรรมชาติด้วย

4) พ่อแม่ควรสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก ให้เด็กรู้สึกว่ามีเรื่องอะไรก็สามารถคุยกับพ่อแม่ได้ เวลามีปัญหาอะไรจะได้ไม่ต้องเก็บไว้ และปรึกษา ทำให้ความเครียดต่างๆลดลงไป แทนที่จะกลายเป็นปัญหาที่สายเกินแก้

5) สอนให้เด็กรู้จักและรับรู้เข้าใจอารมณ์ต่างๆ และสอนเรื่องความเห็นอกเห็นใจ ไม่ว่าจะเป็นด้านดีหรือไม่ดี บอกเด็กว่าอารมณ์เป็นเรื่องธรรมดา การรับรู้และเข้าใจจะทำให้คนคนนั้นจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้น เริ่มด้วยผู้ใหญ่แสดงความรับรู้และเข้าใจอารมณ์ของเด็ก อย่างเวลาที่เด็กโกรธ ไม่พอใจ ควรบอกให้เด็กรู้ว่าเรารับรู้และเข้าใจความโกรธของเขา อย่าเพิ่งไปดุว่า เช่น หนูจะโมโหทำไมเนี่ย เช่น เด็กโมโหโวยวายที่น้องสาวเอาสมุดของตัวเองไประบายเล่น เด็กร้องเสียงดัง ก็ควรบอกเด็กว่า “แม่รู้ว่าหนูคงจะโกรธที่น้องเอาสมุดหนูไปวาดเล่น” เด็กจะรู้สึกว่า แม่เข้าใจอารมณ์เขารับรู้ตัวตน ความโกรธจะลดลง การที่มีใครสักคนแสดงความเข้าใจอารมณ์เขา ตรงนั้นจะทำให้เด็กเข้าใจและรับรู้อารมณ์ตัวเอง และเป็นจุดเริ่มต้นของความเห็นใจคนอื่นด้วย (นอกจากจะคิดถึงแต่ความโกรธหรือผิดหวังของตัวเองอย่างเดียว)

6) ผู้ใหญ่ควรจะค่อยๆสอนเขาถึงวิธีจัดการอารมณ์ทางลบอย่างเหมาะสม ควรสอนเมื่ออารมณ์เบาบางลงไปแล้ว อย่าไปสอนตอนที่เด็กมีอารมณ์ เด็กไม่ฟังเราหรอกตอนนั้น เช่น เด็กที่โกรธหงุดหงิด เสียใจ บางทีเขาโวยวาย ร้องไห้ สังเกตอารมณ์ของเด็กก่อน เมื่อเขาหายโกรธหรือหายเศร้า ค่อยเข้าไปพูดคุย ไต่ถามความรู้สึก ให้เขาเล่าความรู้สึกให้ฟังเมื่อพร้อม และพูดคุยถึงการจัดการกับอารมณ์ของเขา คราวนี้เขาอาจจะจัดการแบบใช้ความรุนแรง เช่น ตะโกนเสียงดัง ทำของพัง ก็ไม่ต้องไปใช้อารมณ์กับลูก (แต่ควรให้เขาเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบเมื่อของพังไป เช่น หักค่าขนมสมทบเป็นค่าของที่เสีย) คุยกับเขาว่าถ้าไม่ใช้ความรุนแรง ทางออกในการจัดการอารมณ์ที่สร้างสรรค์ทำยังไงได้บ้าง และอาจจะให้เขาลองทำดูคราวหน้า (คราวนี้ก็ไม่เป็นไร) เช่น เด็กบางคนโกรธแล้วไปล้างหน้า ดื่มน้ำเย็นๆ ไปเตะฟุตบอลกับเพื่อน ไปเล่นกับสัตว์เลี้ยง เมื่อทำแล้ว อารมณ์โกรธลดน้อยลง ถ้าเขาจัดการอารมณ์ได้ดีก็ให้เราชื่นชมให้กำลังใจ… สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1550396/