ระวัง ‘มิจฉาชีพ’ โปรไฟล์เริ่ด หลอกให้รัก หลอกให้หลง และจบที่โอนเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตือน มิจฉาชีพ สวดบทหล่อ รวย โปรไฟล์เริ่ด พูดหวานหว่านล้อม หลอกให้รัก หลอกให้หลง จบที่โอนเงิน แล้วหายตัว

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ โพสต์ภาพพร้อมข้อความเตือน ประชาชนให้ระมัดระวังมิจฉาชีพ โดยการหลอกให้รักผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งวิธีการก็คือ หลอกให้รัก หลอกให้หลง และลงท้ายให้โอนเงิน

ซึ่งมิจฉาชีพกลุ่มนี้ จะมักสร้างภาพผ่านสื่อออนไลน์ เช่น ใช้รูปโปรไฟล์หน้าตาดี (แต่เป็นรูปคนอื่น) ระบุว่ามีการศึกษาสูง มีอาชีพและฐานะร่ำรวย และจะใช้คำพูดหว่านล้อมเพื่อให้เหยื่อเชื่อใจ หลงรักทั้งที่ยังไม่เคยเจอตัวจริง ท้ายสุดจะหลอกให้เหยื่อโอนเงินมาให้และหายตัวไป

ด้าน น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก รัชดา ธนาดิเรก – รองโฆษกรัฐบาล ว่า ครบ 1 ปี คนไทยถูกหลอกออนไลน์ 2.9 แสนคดี เสียหายเกือบ 4 หมื่นล้าน เป็นคดีหลอกขายสินค้ามากที่สุด

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือตำรวจไซเบอร์ รายงานสถิติการหลอกลวงทางออนไลน์ที่ผู้เสียหาย แจ้งความออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com ตั้งแต่ 1 มี.ค.65 ถึง 31 พ.ค.66 มีจำนวนคดีสูงถึง 296,243 คดี เฉลี่ย 525 คดีต่อวัน คิดมูลค่าความเสียหายเกือบ 40,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 74 ล้านบาทต่อวัน

คดีแจ้งความออนไลน์ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์มากที่สุดกว่า 1 แสนคดี (37.25%) รองลงมาเป็นเรื่องหลอกให้โอนเงิน 36,896 คดี (13.65%) อันดับ 3 เป็นการหลอกให้กู้เงิน 33,517 คดี (12.40%) อันดับ 4 หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 22,740 คดี (8.41%) และอันดับ 5 การข่มขู่ทางโทรศัพท์ 20,474 คดี (7.57%)

สำหรับสถานการณ์การหลอกลวงทางออนไลน์ปรับตัวดีขึ้นบ้าง หลังจากภาครัฐ มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ถึงกลหลวงของมิจฉาชีพ และออกกฎหมายที่เข้มงวดในการจัดการกลุ่มมิจฉาชีพ เช่น การจัดการบัญชีม้า ซิมผี และ SMS ปลอม นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศให้ สถาบันการเงิน ห้ามส่งลิงค์แนบไปยังผู้ใช้ และปรับปรุงระบบการโอนเงิน โดยใช้การสแกนใบหน้า ด้วย

อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังคงต้องระมัดระวังกลลวงรูปแบบใหม่ของมิจฉาชีพ เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อจน นำไปสู่การเสียทรัพย์สินและข้อมูลสำคัญ

ศูนย์ต้านเฟคนิวส์ เปิด 10 ข่าวปลอม ที่คนเชื่อมากที่สุด (9-15 มิ.ย.66)ข่าวปลอม!! พระจันทร์เสี้ยวในเล็บหาย เสี่ยงโรค