ระวังเจอแอปปลอม หลงกลโหลด โดนดูดเงิน ดูดข้อมูลส่วนตัว

เช็ก ให้ชัวร์ แอปที่โหลด ของจริงหรือเปล่า? เตือนภัยมิจฉาชีพส่ง SMS หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน ThaID กรมการปกครองปลอม หน้าตาเหมือนของจริงเป๊ะ

อ่านข่าวจบ ย้อนดูมือถือตัวเองด่วนค่ะ  

อีจันได้รับข้อมูลจาก กรมการปกครอง ว่า ตอนนี้มีผู้เสียหายจำนวนไม่น้อย เข้าร้องทุกข์ กับ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง พวกเขาโดนหลอก 

ผู้เสียหายเล่า มีข้อความ (SMS) ส่งมาหาว่า

“ThaiID อัปเดตข้อมูลเรียบร้อยแล้วโปรดยืนยันตัวตนของคุณ”

พร้อมแนบลิงก์มากับข้อความ

คลิกลิงก์ปุ๊ป โทรศัพท์จะเด้งเข้าเพิ่มเพื่อน LINE ชื่อ “Thai ID ” ปั๊ป

โปรไฟล์ LINE เป็นรูปสัฐลักษณ์ กรมการปกครอง 

เมื่อเพิ่มเพื่อน ก็จะคนอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ กรมการปกครอง มาสอบถามข้อมูลส่วนตัวทันที

เมื่อได้ข้อมูลส่วนตัว เจ้าหน้าที่ปลอมก็จะส่งลิงก์ แจ้งให้ติดตั้งแอป โดยอ้างว่า เป็นแอปของ กรมการปกครอง

ชื่อแอปพลิเคชันว่า ThaID

ทั้งชื่อ ทั้งหน้าตาแอป เหมือน แอป ThaID จริงอย่างกับแกะ

ตรงนี้แหละอันตรายที่สุดค่ะ 

แอปปลอมดูอย่างไร

โทรศัพท์เราจะเด้งขึ้นมาว่า มีการขอสิทธิ์ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (ไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย หรือไฟล์นามสกุล .APK)

เมื่อกดอนุมัติติดตั้งแอป และกรอกข้อมูลส่วนตัว พร้อมให้กรอกรหัสผ่าน 6 หลัก จำนวนหลายๆ ครั้ง

เพื่ออะไร ?

มิจฉาชีพ จะเอารหัส 6 หลักที่เรากรอก ไปสุ่มกรอกเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร

หลังจากนั้นจะมีการแจ้งเตือน ขอสิทธิ์ควบคุมโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเหยื่ออาจจะกดอนุมัติไปโดยไม่ทันตั้งตัวด้วยซ้ำ

เมื่อการควบคุมโทรศัพท์เหยื่อ อยู่ในมือมิจฉาชีพ แน่นอน อะไรที่มิจฉาชีพได้ประโยชน์ ก็จะดูดไปหมด โดยเฉพาะ เงิน และ ข้อมูลส่วนตัว

ตอนนี้มีผู้เสียหายจำนวนมาก มาแจ้งตำรวจขอความช่วยเหลือ อยากได้เงินคืน ต้องการให้ตำรวจช่วยยับยั้งขบวนการของมิจฉาชีพ เพื่อปปกป้องไม่ให้ข้อมูลส่วนตัว ที่โดนดูดไป ถูกลงถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ

แต่ก็เป็นเหมือนวัวหายล้อมคอกค่ะ ยากจะต้อนทั้งเงิน และข้อมูลกลับคืนมา

ทางกรมการปกครอง และตำรวจ ก็เร่งประสานและตรวจสอบเส้นทาง ต้องรีบช่วยให้ได้เร็วที่สุด ช่วยให้ได้มากที่สุด

วิธีการ ป้องกันคือ

  1. ไม่กดลิงก์ที่เเนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันต่างๆ เพราะอาจเป็นการดักรับข้อมูล หรือการฝังมัลแวร์ของมิจฉาชีพ

  2. ตรวจก่อนว่าข้อความ หรือ เสียงปลายสาย มาจากหน่วยงานที่ถูกอ้างถึง จริงหรือไม่ ผ่านหมายเลขคอลเซนเตอร์ตรงของหน่วยงาน

  3. ทางกรมการปกครอง ยืนยัน ไม่มีช่องทางไลน์ทางการ (LINE Official Account) ในการติดต่อกับประชาชน และไม่มีนโยบายในการส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังประชาชนแต่อย่างใด

  4. ไม่ดาวน์โหลด หรือติดตั้งโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันที่ผู้อื่นส่งมาให้โดยเด็ดขาด แม้จะเป็นโปรแกรมที่รู้จักก็ตาม เพราะอาจเป็นแอปพลิเคชันปลอม

  5. อย่าอนุญาตให้ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก หรือไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย ไฟล์นามสกุล .Apk

  6. อย่าอนุญาตให้ใครก็ตาม แม้กระทั่งแอปที่โหลด เข้าถึงอุปกรณ์ และควบคุมอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถือของเราได้เด็ดขาด

  7. ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงินใดๆ ลงในลิงก์ หรือแอปพลิเคชันโดยเฉพาะอย่างยิ่งรหัสผ่าน 6 หลัก ที่ซ้ำกับรหัสแอปพลิเคชันของธนาคาร หากตั้งซ้ำกันให้รีบเปลี่ยนทันที และไม่บันทึกรหัสไว้ในโทรศัพท์มือถือดังกล่าว

แต่ถ้าคุณ เผลอติดตั้งแอปไปตามกลลวงมิจฉาชีพแล้ว ก็ยังพอมีวิธีการแก้

  1. หากติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมแล้ว ให้รีบทำการ Force Reset หรือการบังคับให้อุปกรณ์นั้นรีสตาร์ต (ส่วนใหญ่เป็นการกดปุ่ม Power พร้อมปุ่มปรับเสียงค้างไว้)

    ในกรณีเกิดอาการค้างไม่ตอบสนอง ให้ ปิดเครื่อง ถอดซิมการ์ดโทรศัพท์ออก หรือทำการปิด Wi-fi Router เพื่อตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือในช่วงระหว่างนั้น

  2. อัปเดตระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

ทางที่ดีที่สุดคือ เราต้องรู้ให้ทันมิจฉาชีพ 

อย่าปล่อยให้ตัวเองโดนหลอกจากจากคนที่เราไม่เห็นแม้หน้าตา การหลงเชื่ออย่างง่ายดาย

หากมีใครมาแสดงตัวผ่านข้อความ หรือเสียง เป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานไหนก็ตาม และให้คุณทำธุรกรรม หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว  

หากไม่เหนือบ่ากว่าแรก ปฏิเสธ สายนั้น และขอนัดไปทำธุรกรรม ที่สำนักงาน เพื่อเป็นการยืนยันตัวเองว่าเราไม่โดนหลอกแน่นอน 

ป้องกัน อย่าให้ตัวเอง ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ 

คลิปอีจันแนะนำ
ใคร…อยู่ที่หัวเตียง?