รวบ วันเพ็ญ เจ้าแม่แชร์ทอง 360 ล้าน หมายจับกว่า 61 หมาย

รวบตัว วันเพ็ญ โคตรทะแก เจ้าของแม่แชร์ทอง 360 ล้าน หลังตำรวจตามหาตัวเกือบ 2 ปี ก่อนจะสืบเจอ จากร้าน หนังควาย อาหารโปรด ของวันเพ็ญ

ล่า วันเพ็ญ เจ้าแม่แชร์ทอง 2 ปีหนีไร้เงา แต่สุดท้ายเกมเพราะ อาหารโปรด

ย้อนกลับไปเมื่อปลายปี 2563 ต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2564 น.ส.วันเพ็ญ หรือ กวินา ได้มีการไลฟ์สดผ่านทางเฟซบุ๊ก เชิญชวนให้คนร่วมลงทุน “ขายทอง” 

โดยอ้างว่าจะนำทองมาจากต่างประเทศ โดยสามารถสั่งนำเข้ามาได้ในราคาเพียงบาทละ 3,000-4,000 บาท ถูกกว่าท้องตลาดทั่วไปมาก 

ซึ่งมีคนหลงเชื่อ และโอนเงินมาร่วมลงทุนเป็นจำนวนมาก 

ทาง วันเพ็ญ เองก็เนียนสร้างความน่าเชื่อถือ ใครสั่งซื้อ หรือร่วมลงทุน ก็ส่งทองหรือจ่ายเงินตอบแทนให้ ได้ทอง ได้เงิน จริง คราวนี้ยิ่งปากต่อปาก คนมาร่วมลงทุนเพิ่มอีกเพียบ

แต่ผ่านไปเพียงประมาณ 3 งวด วันเพ็ญ ก็ “หายตัวไป” ไร้ร่องรอยพร้อมเงินไม่ต่ำกว่า 37 ล้านบาท 

ผู้เสียหายเกิดขึ้นกว่า 200 รายทั่วประเทศ ทุกคนไม่นิ่งนอนใจ เข้าแจ้งความในพื้นที่ของตัวเอง

ต่อมาได้มีสอบสวนจนนำมาสู่การออกหมายจับ และหมายจับของศาล จำนวน  61 หมายจับทั่วประเทศไทย  

ตำรวจพยายามสืบหาตัว วันเพ็ญ แต่เธอหายไป แม้เงาก็ไม่มี ไม่พบความเคลื่อนไหวใดๆ เลยที่จะเชื่อมโยงไปหา วันเพ็ญได้

ทางทีมนักวิเคราะห์แผนประทุษกรรมของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากระบบการรับแจ้งความออนไลน์และข้อมูลแผนประทุษกรรมจากคดีเดิม

โดย พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. หรือ หน.PCT ชุดที่ 5 ได้วิเคราะห์ข้อมูลพบ “ร่องรอย” จากแผนประทุษกรรม ช่วงการก่อเหตุที่ผ่านมา 

พบ “ตัวละคร” สำคัญที่คอยดำเนินการทำธุรกรรมให้กับ วันเพ็ญ

พล.ต.ต.ธีรเดช จึงมอบหมายให้ พ.ต.ท.มาโนชย์ ทองแก้ว สว.กก.2 บก.สส.บช.น. ร่วมกับ พ.ต.ต.คณิตนนท์ ถนอมศรี  สว.กก.1 บก.สส.บช.น. และ พ.ต.ต.ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ สว.กลุ่มงานสอบสวนฯ ชุด PCT 5

นำกำลังแยกกันลงพื้นที่เพื่อแกะรอย

จนกระทั่งสืบพบว่า วันเพ็ญ หนีไปกบดาลอยู่ในพื่นที่ จ.สระบุรี 

โดยมี “ลูกน้อง” คอยเป็นผู้ทำธุรกรรมต่างๆให้

แม้ วันเพ็ญ จะปกปิดตัวตนอย่างมิดชิด แต่ชุด PCT5 ได้พบเบาะแสสำคัญจากร้านอาหารในละแวกพื้นที่กบดาลคือ “ร้านขายหนังควาย” ซึ่งเป็นอาหารที่ วันเพ็ญ ชอบทาน 

จนนำมาสู่การสืบทราบกบดาลของ วันเพ็ญ ซึ่งเป็น “เซฟเฮ้าส์ลับ” มีรั้วสูงล้อมรอบมิดชิด ภายในชนบทใกล้เขาใหญ่

17 มีนาคม 2566 

ตำรวจดักซุ่ม บริเวณป่าข้างทางใกล้กับเซฟเฮ้าส์ลับของ วันเพ็ญ จนกระทั่ง วันเพ็ญ ในสภาพแต่งกายมิดชิด สวมหมวกปิดบังอำพราง  เดินออกมาจากรั้วบ้าน

พ.ต.ท.มาโนชย์ ทองแก้ว จำได้แม่น นี่แหละผู้ต้องหาที่เขาติดตามตัวมากว่า 1 ปี 

จึงเข้าทำการจับกุมตัวตามหมายจับ โดยเจ้าหน้าที่ได้แสดงหมายจับให้ดู

ตำรวจได้คุมตัว วันเพ็ญ มาสอบปากคำที่ บก.สส.บช.น. ซึ่งระหว่างการสอบสวนขยายผล มีผู้เสียหายเดินทางมาติดตามคดีจำนวนมาก 

ผู้เสียหาย บอกว่า “ตามคดีมานานมาก ไม่คาดคิดว่าเจ้าหน้าที่จะจับกุมตัวได้เพราะทราบมาว่า วันเพ็ญ หลบหนีไปอยู่ในป่าแล้ว”

ในชั้นจับกุม วันเพ็ญ ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา โดยให้การว่า 

“ได้เริ่มชักชวนคนใกล้ตัวรวมถึงผู้อื่นให้ร่วมวงแชร์ทางออนไลน์ ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวที่ใช้ชื่อว่า วันเพ็ญ โคตรทะแก ซึ่งไม่เคยมีปัญหาใดๆ  

จนถึงเมื่อประมาณเดือน ต.ค.2563 ได้เริ่มคิดอยากจะเปิดวงแชร์แบบใหม่ในลักษณะให้ออมทอง โดยได้ทำระบบการลงทุนออมทองไว้คือให้ผู้ลงทุนลงเงินก่อนเป็นจำนวนเงินที่ถูกกว่าราคาทองจริงในตลาดเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ เป็นระยะเวลา 3 เดือน 

จากนั้นจะส่งทองจำนวน 1 บาทไปให้ โดยวิธีการคือ จะสั่งซื้อทองที่ห้างทองแห่งหนึ่ง ผ่านช่องทางออนไลน์ในราคาเต็มตามปกติ โดยในช่วงแรกที่เริ่มทำ ในขณะที่ทองคำราคาประมาณ 28,000 บาท เธอก็จะไปประกาศหาผู้ที่ต้องการ ลงทุนออมทอง 

โดยโฆษณาว่า สามารถออมทองในราคาเพียงแค่ 24,000 บาท โดยออมเป็นระยะเวลา 3 เดือน แล้วจะได้รับทองคำจริงจำนวน 1 บาท

ซึ่งสาเหตุที่ในช่วงแรกยังไม่ขาดทุนเพราะยังหาคนที่ อยากลงทุนออมทองต่อเนื่องลงเงินออมเพิ่ม และนำเงินส่วนต่างไปเพิ่มเติมในยอดเงินที่ขาด

เพื่อให้สามารถซื้อทองคำในราคาเต็มได้และจัดส่งทองคำที่ได้สั่งซื้อมาให้ผู้ลงทุนคนแรกๆ 

จึงทำให้น่าเชื่อถือว่าลงทุนจำนวนเงินน้อย แต่สามารถซื้อทองจริงได้จริง

ซึ่งในช่วงเวลาที่มีผู้คนสนใจมากที่สุด มีลูกค้าจำนวนประมาณ 100 คน และมีนักลงทุนบางคนที่ร่วมลงทุนหลายครั้ง จนสะสมเป็นยอดออมทองประมาณ 50 บาท และในขณะนั้นมียอดเงินที่มีผู้ลงทุนอยู่ประมาณหลักแสนบาท เนื่องจากต้องหมุนเวียนเงินเพื่อให้ ระบบยังดำเนินต่อไปได้

หลังจากนั้นเมื่อประมาณ ต้นปี 2564 เริ่มเกิดปัญหา เนื่องจากไม่สามารถหาผู้ลงทุนใหม่ๆ มาลงทุนต่อได้ จึงได้เริ่มลดราคาโดยเปิดให้เริ่มออมทองในราคาบาทละ 8,000 บาท จากราคาเต็มประมาณ 30,000 บาท ในขณะก่อเหตุ เพื่อทำให้เกิดความน่าสนใจ 

ซึ่งก็ได้มีผู้มาร่วมลงเงินออมทองจำนวนมากจริงๆ แต่ก็ยังไม่สามารถหมุนเวียนเงินได้ เพราะต้องนำเงินมาทบยอดไปมา จากลูกค้าหลายคนจนไม่สามารถซื้อทองให้ครบตามจำนวนของผู้ที่ลงทุนได้ 

ก็เริ่มมีผู้เสียหายเข้าแจ้งความดำเนินคดี จากนั้นก็เริ่มย้ายที่อยู่และเปลี่ยนชื่อนามสกุลจริงเพื่อหลบหนี”

พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. ฝากถึงทุกคน

“วิธีการที่ผู้ต้องหารายนี้ใช้หลอกลวงนั้นมีความน่ากลัว เพราะมีการสร้างความน่าเชื่อถือหลอกเหยื่อให้ตายใจก่อนซึ่งด้วยวิธีการนี้ทำให้จำนวนเงินที่ผู้เสียหายตัดสินใจนำมาลงทุนนั้นจะมีจำนวนที่สูงกว่าการถูกหลอกลวงทั่วๆไป จึงขอเตือนไปยังพี่น้องประชาชนว่า การร่วมลงทุนในโลกออนไลน์นั้นมีความเสี่ยง สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีการระดมปราบปรามผู้กระทำผิดทางออนไลน์อยู่ตลอด ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ฉะนั้นผู้ที่ยังทำหรือคิดจะทำขอเตือนว่า มันไม่คุ้มได้คุ้มเสีย เมื่อได้ลงมือก่อเหตุ

คลิปอีจันแนะนำ
นารา ร้อง รมว.ยุติธรรม ขอไกล่เกลี่ยลูกหนี้กล่องสุ่ม เสียหาย 12 ล้าน