พ่อเลี้ยง ฆ่าลูกรับเลี้ยง vs ลูกเลี้ยง ผิดต่างกันหรือไม่ มีคำตอบ!!!

‘ทนายเจมส์’ ยกเคส ‘ไอ้แจ๊บ’ ฆ่าโหดลูกรับเลี้ยงยัดถังน้ำแข็ง โบกปูนถมดินทับ หวังอำพรางศพ มาเฉลย พ่อเลี้ยงฆ่าลูกรับเลี้ยง vs ลูกเลี้ยง ผิดต่างกันหรือไม่

จากกรณีที่มีกระแสข่าวพ่อเลี้ยงฆ่าลูกเลี้ยงวัย 12 ปี ซึ่งมีกระแสข่าววิพากษ์วิจารณ์ถึงการใช้ความรุนแรงที่ไม่เหมาะสมของพ่อเลี้ยง รวมไปถึงการที่แม่เลี้ยงไม่ได้ห้ามปรามพ่อเลี้ยง แต่กลับนั่งดูพ่อเลี้ยงใช้ไม้เบสบอลตีลูกเลี้ยงจนแน่นิ่ง และถึงแก่ความตายในที่สุด หลังจากนั้นพ่อเลี้ยงและแม่เลี้ยง ก็ช่วยกันเคลื่อนย้ายศพ เพื่ออำพรางคดี โดยนำศพลูกเลี้ยงไปใส่ถังน้ำแข็งโบกปูน และเอาดินทับ

ต่อมามีข้อมูลชัดเจนยิ่งขึ้นว่า เด็กที่เสียชีวิตดังกล่าว ไม่ใช่ลูกติดภรรยา หากแต่เป็นเด็กที่สามีภรรยาคู่นี้ รับมาเลี้ยงเสมือนหนึ่งเป็นบุตรบุญธรรม แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฏหมาย บางท่านเรียกว่า ลูกรับเลี้ยง ก็มีครับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

อำมหิต พ่อฆ่าลูกที่รับมาเลี้ยงยัดถังน้ำแข็ง โบกปูนถมดินทับอำพรางศพ!

การใช้ความรุนแรงในครอบครัว มีกฎหมายคุ้มครอง ห้ามไม่ให้ใช้ความรุนแรงในครอบครัวไม่ว่าจะ กระทำต่อชีวิตร่างกายจิตใจสุขภาพเสรีภาพหรือชื่อเสียงของบุคคลในครอบครัว ซึ่งบุคคลในครอบครัว นอกจากจะเป็นบิดามารดาบุตรแล้ว ยังให้รวมไปถึงบุคคลใดๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกันด้วย

ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 มาตรา 4 ให้คำนิยามของคำว่า ความรุนแรงในครอบครัวและบุคคลในครอบครัวไว้ ดังนี้

“ความรุนแรงในครอบครัว” หมายความว่า การกระทำใดๆ ที่บุคคลในครอบครัวได้กระทำต่อกันโดยเจตนาให้เกิดหรือในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ สุขภาพ เสรีภาพ หรือชื่อเสียง ของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ

“บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กิน หรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตรบุญธรรม รวมทั้งบุคคลใดๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัย และอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน หากพบการกระทำความรุนแรงในครอบครัว สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

เปิดวงจรปิด ไอ้แจ๊บฆ่าลูก (รับเลี้ยง) โผล่บ้านเพื่อนขอยืมอุปกรณ์ตัด

นอกจากนี้ หากบุคคลใดใช้ความรุนแรงกับเด็ก ยังมีความผิดทางอาญาอีกด้วย ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

ทั้งนี้ หากการกระทำกับเด็กเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ผู้กระทำความผิดก็จะต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ ในกรณีของข่าวดังกล่าวข้างต้น การฆ่าคนตาย แม้จะเป็นลูกของตัวเอง หรือเป็นบุตรบุญธรรม หรือเป็นลูกเลี้ยง

ย่อมมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ซึ่งมีโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 10-20 ปีและการเคลื่อนย้ายทำลายศพ ก็มีความผิดตามมาตรา 199 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจจะมีความผิดอื่นๆ ตามมาอีกด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวน

ไอ้แจ๊บ นอนคุก! ไร้ญาติยื่นประกันตัว คดีฆ่าน้องปีใหม่ยัดถัง

นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เสียชีวิต ก็ถือว่าเป็นผู้เสียหายสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ที่กระทำความผิดในทางแพ่งได้อีกด้วย แต่จะได้มากหรือได้น้อย ขึ้นอยู่กับฐานานุรูป และข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไป โดยศาลจะใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพยานหลักฐาน และกำหนดค่าเสียหายตามความเหมาะสม

สุดท้าย แม่เลี้ยงที่นั่งดูพ่อเลี้ยงตีเด็กจนเสียชีวิต อาจจะถูกตั้งข้อกล่าวหาด้วย โดยแม่เลี้ยงอาจจะถูกตั้งข้อกล่าวหาว่า เป็นตัวการร่วม หรือ เป็นผู้สนับสนุนก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนว่า พยานหลักฐานจะพิสูจน์ข้อเท็จจริงเบื้องต้น และจะแสดงให้เห็นพฤติการณ์ของแม่เลี้ยงได้มากน้อยเพียงใด

ข่าวน่าสนใจอื่น:

คิดจะฟ้องชู้ ต้องรู้นะ อยู่สถานะไหนถึงเรียกค่าทดแทนได้ ‘ทนายเจมส์’ ไขปมกฎหมาย ให้ยืมรถ ยืมปืน เมื่อเกิดเรื่อง ใครรับผิดชอบ?ขายตั๋วผี-อัปราคา ทนายเจมส์ เฉลย ทางกฎหมายผิดต่างกันอย่างไร’ทนายเจมส์’ เตือนลูกจ้าง โพสต์ด่านายจ้าง ไล่ออกได้ ไม่ต้องจ่ายชดเชย
คลิปอีจันแนะนำ
เหี้ยม พ่อฆ่าลูก (รับเลี้ยง) ยัดถัง