กระทรวงพาณิชย์ รายงาน อัตราเงินเฟ้อ กันยายน เพิ่ม 1.68% จาก ราคาน้ำมัน

กระทรวงพาณิชย์ รายงาน อัตราเงินเฟ้อ กันยายน เพิ่ม 1.68% เทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คาดเป็นผลจาก ราคาน้ำมัน ที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง และสิ้นสุดมาตรการช่วยค่าครองชีพ ประชาชน

กระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 1.68% โดยเป็นการกลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากที่ลดลง -0.02% ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้คาดว่ามีปัจจัยสำคัญจากการสิ้นสุดลงของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ ด้านสาธารณูปโภค (ค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้้าประปา) ขณะที่ราคาน้้ามันเชื้อเพลิงขายปลีก ยังพุ่งสูงกว่าปีก่อนอย่างต่อเนื่อง

ส่วนราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดส่วนใหญ่ยังต่ำกว่าปีก่อน โดยเฉพาะข้าวสาร ข้าวสารเหนียว เนื้อหมู ไก่สด ผักและผลไม้สด ยกเว้นไข่ไก่ ที่ยังมีราคาสูงเมื่อเทียบกับปีก่อน สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตและความต้องการในการบริโภคของตลาด

โดยเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ 0.19% เฉลี่ย 9 เดือน ระหว่างมกราคม-กันยายน ปี 2564 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 0.83% และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้น 0.23% ส้าหรับเงินเฟ้อไตรมาสที่ 3 ปี 2564 สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 0.70% และสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 0.23%

ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2563 สูงขึ้น 1.68% โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้

หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 3.60% โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร 10.08% จากการสูงขึ้นของ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 32.44% และค่าโดยสารสาธารณะ 0.61% หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลจากการสูงขึ้นของราคาครีมนวดผม ค่าแต่งผมชายและสตรี 0.30% และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์จากการสูงขึ้นของราคาสุราและเบียร์ 0.03%

ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า จากการ ลดลงของราคาเสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ กางเกงขายาวบุรุษ -0.24% หมวดเคหสถาน จากการการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าเช่าบ้าน -0.10% หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ จากการลดลงของค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุก ระดับชั้น -0.94% และการสื่อสารลดลง – 0.01%

หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลง -1.16% โดยมีปัจจัยส้าคัญจาก การลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว -7.92% กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้้า ตามการลดลงของราคา เนื้อสุกร ไก่สด ไก่ย่าง -1.46% กลุ่มผักสดจากการลดลงของราคามะเขือเทศ มะนาว ผักชี -5.33% กลุ่มผลไม้สด จากการลดลงของราคาเงาะ ลองกอง มะม่วง -3.78% และ กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์จากการลดลงของราคาน้้าดื่ม กาแฟผงสำเร็จรูป -0.25% ส้าหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ ไข่เป็ด นมข้นหวาน 3.76% กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร จากการสูงขึ้นของราคาน้้ามันพืช ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม 4.81% กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน จากการสูงขึ้นของราคา กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ปลากระป๋อง 0.32% และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหาร ตามสั่ง) 0.28%

ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค โดยภาคใต้ขยายตัวในอัตราสูงที่สุด 2.49% รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และกรุงเทพฯ ปริมณฑล 2.12% 1.49% และ 1.38% ตามล้าดับ

สำหรับภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายตัวน้อยที่สุด 1.33% เมื่อพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า หมวดอาหารและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ราคาสินค้าโดยเฉลี่ยของทุกภาคปรับตัวลดลง โดยภาค ตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นภาคที่มีอัตราการลดลงมากที่สุดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสินค้าสำคัญที่มีอิทธิพลสูงในกลุ่ม อาทิ ผักสด และข้าวสารเหนียว ลดลงในอัตราที่สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ในขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น ในทุกภูมิภาค โดยมี ปัจจัยส้าคัญจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ในการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปีสิ้นสุดลง ประกอบกับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงมีการปรับราคาสูงขึ้น เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันพืช ไข่ไก่ ส้าหรับสินค้า สำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อหมู ค่ากระแสไฟฟ้า เป็นต้น