ขึ้นเงียบๆ! “ทีดีอาร์ไอ” เชียร์ขยับเพดาน VAT 10% ใน 5 ปี

ทยอยขึ้นได้! “ทีดีอาร์ไอ” เชียร์ขยับเพดาน VAT 10% ใน 5 ปี ชี้ปรับเงียบๆ ครั้งละ 1% หวั่นประกาศแล้วดันคาดการณ์ “เงินเฟ้อพุ่ง” ค้านภาษีเงินได้อัตราเดียว 15% ไม่ช่วยแก้เหลื่อมล้ำ

ตามที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่ากระทรวงการคลัง กำลังศึกษาการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ด้วยฐานภาษีไทยที่คงไว้ที่อัตรา 7% จากอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ที่ 10% 

วันนี้ (7 ธ.ค.67) ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึงสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ โพสต์เฟซบุ๊คถึงกรณีการที่รัฐบาลกำลังศึกษาแนวโน้มปรับโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7% ขึ้นเป็น 15%


ข่าวน่าสนใจอื่น


โดยข้อความระบุว่า ข้อเสนอปรับรายละเอียดมาตรการภาษี 1. ภาษี VAT ควรขึ้น แต่ค่อยเป็นค่อยไป เช่นขึ้น 1% ก่อนแล้วหาจังหวะในอนาคตขึ้นทีละ 1% แต่ไม่ประกาศล่วงหน้า เพราะอาจทำให้เกิดการคาดการณ์เงินเฟ้อ (inflation expectation) ได้ แล้วไปจบที่ 10% ภายใน 5 ปี

1.1 รัฐบาลสัญญาและทำตามสัญญาว่าจะเอาเงินภาษี VAT ที่เพิ่มขึ้นได้มาใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ต่อคนจน ผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบางเป็นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเลย แต่ไม่ใช่ประชานิยมระยะสั้น

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึงสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ

2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ควรเป็น flat rate อย่างที่เสนอ แม้จะมีข้อดีบางข้อ เช่น คำนวณง่าย ทำให้คนอยากทำงานมีรายได้สูง ๆ โดยไม่ต้องกลัวอัตราภาษีสูงตามไปด้วย แต่ข้อเสียมากกว่าคือไม่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ

2.1 ควรพิจารณาปรับลดพวกค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ให้ประโยชน์กับคนรายได้สูง
2.2 ถ้าจะใช้ flat rate ควรใช้กับเงินได้จากดอกเบี้ยและปันผลที่ปัจจุบันแยกคำนวณมากกว่า

3. ภาษีเงินนิติบุคคล ถ้าจะลดเหลือ 15% ก็ควรยกเลิกสิทธิประโยชน์ BOI ไปด้วย จะได้แฟร์และดึงดูดการลงทุนอย่างทั่วถึงแทนที่จะเป็นบางอุตสาหกรรมที่ก็ไม่รู้ว่าให้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยเท่าไรกันแน่ ใช้มาตรการอื่นดึงดูดแทนดีกว่า เช่นพัฒนาทักษะแรงงานไทย ปรับเลิกกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น ป้องกันการเรียกใต้โต๊ะของ ขรก. สารพัดสี

4. สำคัญคืออย่าลืมเก็บภาษีบนฐานทรัพย์สิน เช่น capital gain, windfall tax ด้วยนะจ๊ะ (กินยาไรไปถึงลืมได้อ่ะ)