ค่าไฟแพง กฟน. ไม่เกี่ยว ยืนยันคิดตามนโยบาย กกพ.

กฟน. ยืนยันคิดค่าไฟตามนโยบาย กกพ. บิลค่าไฟแพงขึ้น เพราะใช้ไฟเยอะ จากอากาศร้อน

ค่าไฟเดือน เม.ย.66 แพงขึ้นผิดหูผิดตา จนกลายเป็นไวรัล และถกเถียงกันบนโลกออนไลน์ บางบ้านที่ใช้จริง และขึ้นจริงก็ว่ากันไป แต่ก็มีหลายบ้าน ที่ไม่ได้ใช้จริงแต่ขึ้น ขณะเดียวกัน ก็มีบางบ้านที่ใช้ไฟแบบไม่ยั้ง แต่ค่าไฟกลับเท่าเดิม และมิหนำซ้ำ ลดลงอีกด้วย

ค่าไฟ เดือน พ.ค.-ส.ค.ขึ้นที่ 4.77 บาทต่อหน่วย

ขณะที่ นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ MEA ว่า กฟน. ไม่ได้ปรับขึ้นค่าไฟ แต่ใช้หลักเกณฑ์วิธีการคิดค่าไฟฟ้า จากหน่วยการใช้ไฟฟ้าในอัตราตามที่นโยบายของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนด (ตรวจสอบได้ที่ https://www.mea.or.th/profile/109/111

ส่วนสาเหตุที่ทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นนั้น เพราะช่วงนี้ประเทศไทยมีอากาศร้อนจัด บางพื้นอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำความเย็นต้องทำงานหนัก และใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น 

เห็นได้จาก ค่าพลังความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ที่ล่าสุด มีค่าเท่ากับ 8,904.66 เมกะวัตต์ เกิดขึ้นในวันที่ 18 เม.ย.66 ซึ่งค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด มักพบว่าในช่วงฤดูร้อน

“เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานมากขึ้นในฤดูร้อน คือเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ อย่างในสภาพอากาศปกติ อุณหภูมิภายนอกอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส หากเราปรับอุณหภูมิแอร์ในห้องที่ 26 องศาเซลเซียส แอร์จะต้องทำงานเพื่อลดอุณหภูมิให้ได้ 4 องศาเซลเซียส 

แต่ในช่วงที่อากาศร้อนจัด อุณหภูมิภายนอก 40 องศาเซลเซียส หากเรายังตั้งอุณหภูมิแอร์ในห้องไว้เท่าเดิม แอร์จะต้องทำงานเพื่อลดอุณหภูมิให้ได้ถึง 14 องศาเซลเซียล แอร์จึงทำงานหนักมากขึ้น และกินไฟมากกว่าเดิม 

อีกทั้ง ยังต้องรักษาอุณหภูมิในสภาวะที่อากาศร้อนจัดจากภายนอกรบกวน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น” นายจาตุรงค์ กล่าว

นายจาตุรงค์ กล่าวว่า จากการทดสอบพบว่า อุณหภูมิภายนอกที่เพิ่มขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส แอร์จะกินไฟเพิ่มขึ้นมากกว่า 3% แม้จะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในระยะเวลาเท่ากัน หรือปรับตั้งค่าอุณหภูมิเท่าเดิมก็ตาม

ประกอบกับช่วงอากาศร้อน พฤติกรรมการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ อาทิ การเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยๆ การประกอบอาหารด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงการใช้น้ำอุปโภคบริโภคมากขึ้น ยังทำให้ปั๊มน้ำทำงานมากขึ้น ซึ่งล้วนทำให้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น

หนุ่มโพสต์โชว์บิลค่าไฟ จากปกติจ่ายหลักพัน ปัจจุบันจ่ายไม่ถึงร้อย

อย่างไรก็ตาม กฟน. มีข้อแนะนำการประหยัดไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อน คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ดี โดยยึดหลัก ‘ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน- โดยปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ 

ปรับลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศมาอยู่ที่ระดับ 26-27 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลมควบคู่ จะเป็นการช่วยให้ประหยัดพลังงาน ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน เปลี่ยนไปใช้เครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพสูง และหมั่นล้างเครื่องปรับอากาศ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน

เปลี่ยนพฤติกรรมโดยไม่เปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยๆ ไม่ควรกักตุนอาหารไว้ในตู้เย็นเกินความจำเป็น ตรวจขอบยางประตูตู้เย็นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า(เบอร์ 5) ควรปิดสวิตช์ และดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า ออกทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน

คลิปอีจันแนะนำ
จุดจบ “ไอ้นิด” ฆาตกรฆ่าโหด!