อ่วม! เงินเฟ้อ ทำคนไทยมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนพุ่ง

สาหัส! ภาวะเงินเฟ้อ ทำคนไทยแบกค่าใช้จ่ายต่อเดือนสูง สวนทางกับรายได้ที่ยังเท่าเดิม

อัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้มนุษย์เงินเดือน และคนที่หาเช้ากินค่ำ แทบใช้เงินไม่ชนเดือน

ซึ่งเงินเฟ้อ หมายถึง ข้าวของมีราคาแพงขึ้น ในขณะที่เงินเดือนยังเท่าเดิม ทำให้ซื้อของได้น้อยลงแต่จ่ายเงินเพิ่มขึ้น

เรื่องนี้ไม่ได้คิดไปเอง เพราะมีข้อมูลจาก สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) สนับสนุน ซึ่งระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือน พ.ย.65 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 5.55 เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยเดือนกันยายน และตุลาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 6.41 และ 5.98 ตามลำดับ

ส่วนเงินเฟ้อรวม 11 เดือนของปี 2565 (ม.ค.-พ.ย.) อยู่ที่ 6.10% และกระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้ไว้ที่ 5.5 – 6.5%

สนค. เผยว่า สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น มาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 8.40%  อาหารสด 8.08% ส่วนสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 3.59% ตามการสูงขึ้นของสินค้ากลุ่มพลังงานที่สูงขึ้น 13.09% ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม รวมทั้งค่าโดยสารสาธารณะ

สำหรับค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในเดือน พ.ย.65 ที่คนไทยต้องจ่ายรวม 18,146 บาท ประกอบด้วย

-ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัทย์มือถือ 4,235 บาท

-ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าชหุงต้ม ค่าใช้ในบ้าน 4,018 บาท

-เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ 1,768 บาท

-อาหารบริโภคในบ้าน(เดลิเวอลรี่) 1,622บาท

-อาหารบริโภคในบ้าน(ข้าวราดแกง) อาหารตามสั่ง(เคเอฟซี พิซซ่า)1,247บาท

-ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริหารส่วนบุคคล  978 บาท

-ผักและผลไม้ 1,012 บาท

-ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน ค่าการกุศลต่างๆ 760 บาท

-ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง  675 บาท

-เครื่องปรุงอาหาร 430 บาท

-เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 396 บาท

-ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า  375 บาท

-ไข่และผลิตภัณฑ์นม 389 บาท

-ค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 240 บาท

ทั้งนี้ หากดูสัดส่วนการบริโภคต่อครัวเรือน พบว่า สินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อยู่ที่ร้อยละ 58.45%  พบว่าค่าใช้จ่ายที่เยอะที่สุด คือ ค่าโดยสารรถสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์ สูงถึง 23.34% รองลงมาเป็นค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าชหุงต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ22.14%  

ส่วนสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ อยู่ที่ร้อยละ 41.55% พบว่าค่าใช้จ่ายมากสุดคือการซื้อเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงถึง 9.74% รองลงมาเป็นอาหารบริโภคในบ้าน 8.94% และอาหารบริโภคนอกบ้าน 6.87% เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เงินเฟ้อในเดือน ธ.ค.65 สนค. คาดว่า คนไทยยังต้องเผชิญกับเงินเฟ้อที่จะยังขยายตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากราคาพลังงาน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม, สินค้ากลุ่มอาหาร อาทิ เนื้อสัตว์ ไข่และผลิตภัณฑ์นม และอาหารสำเร็จรูป และค่าโดยสารสาธารณะที่ยังสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน

เมื่อรู้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะทำให้เราซื้อของได้น้อยลงโดยใช้เงินที่เพิ่มขึ้น ก็อย่าลืมบริหารจัดการการใช้จ่ายให้ดีนะคะ

คลิปอีจันแนะนำ
แสบมาก! ลานกางเต็นท์เบี้ยวค่ามัดจำ