วัยรุ่นสร้างตัว ผ่อนบ้านต่อไม่ไหว ปีเดียวปล่อยยึดร่วม 200,000 ล้านบาท

ท่าจะแย่! ‘ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์’ เปิดยอดสินทรัพย์ถูกยึดปีนี้ ร่วม 200,000 ล้านบาท เพราะแบกหนี้ไม่ไหว ยอมทิ้งหนี้บ้านที่กำลังผ่อนอยู่

คนแห่ทิ้งบ้าน! โดย ‘ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์’ เผยตัวเลขทรัพย์สินรอการขาย หรือ Non-Performing Asset (NPA) ซึ่ง NPA คือ ทรัพย์สินที่เกิดจากเจ้าของเดิมซื้อมาแล้ว แต่ไม่สามารถผ่อนชำระแก่ธนาคารได้ตามกำหนด ธนาคารจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ แล้วค่อยทำการปล่อยขายทอดตลาด หรือเรียกว่า บ้านขายทอดตลาด ว่า

ขณะนี้ มีสินทรัพย์ถูกยึดสูงถึง 200,000 ล้านบาท พุ่งขึ้นกว่า 50% ตั้งแต่ปี 2565 สร้างโอกาสสถาบันการเงินขายเพื่อทำกำไรต่อ รับอานิสงส์ ธปท.ไม่ต่ออายุ LTV-ค่าธรรมเนียมการโอน แม้ในภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาบวกตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 ไม่ว่ากิจกรรมการบริโภคภายในประเทศ 

ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่สะท้อนจากบรรดาผู้ที่อยากมีที่อยู่อาศัยของตัวเอง เป็นบ้านหลังแรก จากประชาชนจำนวนมากว่า แบกรับภาระหนี้ไม่ไหว จนยอมทิ้งหนี้บ้านที่ตัวเองกำลังผ่อนอยู่ ถ้ามาดูหนี้ครัวเรือน ซึ่งรวมทั้งหนี้ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ บัตรเครดิต และปัจจุบันยังรวมหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) การเคหะ และพิโก้ไฟแนนซ์ด้วย

ยอดตอนนี้สูงถึง 16 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 90.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เทียบง่ายๆ ก็คือ เหมือนหาเงินได้ 100 บาท แต่ต้องจ่ายหนี้แล้ว 90 บาทเหลือกินไม่ถึง 10 บาทเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจส่วนบุคคลนั้นเปราะบางมาก

อีกทั้ง เดือน มิ.ย.66 ที่ผ่านมา ด้าน บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ได้เปิดเผยถึงตัวเลขรถยนต์ ที่เสี่ยงโดนยึดสูงถึง 1 ล้านคันภายในปีนี้ เพราะว่าผ่อนไม่ไหว

สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดของเรื่องหนี้ครัวเรือน ก็คือ สัดส่วนการกู้ยืม เพราะเป็นการกู้เพื่ออุปโภคบริโภค หรือกู้มากินมาใช้ถึง 27% ซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้ และจะทำให้ผู้กู้ไม่มีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย นำไปสู่การเกิด NPA หรือ Non-Performing Loan (NPL) เรียกง่ายก็คือหนี้เสีย ซึ่งก็คือ สินเชื่อที่ไม่ก่อรายได้ เกิดจากลูกหนี้ของธนาคารไม่สามารถชำระดอกเบี้ย และเงินต้นคืนให้กับธนาคารนานติดต่อกันเกิน 3 เดือนขึ้นไป

และในที่สุด ยิ่งถ้าภาระหนี้ของประชาชนสูงขึ้น ก็จะทำให้ความสามารถในการใช้จ่ายต่ำลง แล้วก็จะฉุดให้เศรษฐกิจนั้น ร่วงลงตามไปด้วย งานนี้ก็ต้องรอดูนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาตินะคะว่า จะปรับโครงสร้างหนี้ได้หรือไม่