ยอดต่างด้าว เดือน ก.พ.66 เทียบก่อนโควิด หาย 1.5 ล้านคน

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดตัวเลขแรงงานต่างด่าว เดือน ก.พ.66 เทียบก่อนโควิด ลดลง 52.56% หรือ 1.5 ล้านคน

สายงานเศรษฐกิจและวิชาการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า รู้หรือไม่ ทำไมแรงงานถึงหายาก หากจำแนกตามลักษณะการเข้าเมือง พบว่า ลดลงจากช่วงก่อนโควิด

โดย จำนวนแรงงานต่างด้าว ณ เดือน ก.พ.66 พบว่า มีจำนวนทั้งหมด 1,425,809 คน หรือลดลง 52.56% หรือ 1,579,567 คน จากเดือน ธ.ค.62 ที่มีจำนวนแรงงานต่างด้าวถึง 3,005,376 คน

ทั้งนี้ หากจำแนกจำนวนคนต่างด้าว ตามลักษณะการเข้าเมือง พบว่า คนต่างด้าว ตามมาตรา 59 (ตลอดชีพ, ประเภททั่วไป, นำเข้าตาม MOU และอื่นๆ) เดือน ก.พ.66  มีจำนวน 671,531 คน หรือลดลง 76.40% จากเดือน ธ.ค.62 ที่มีจำนวน 2,844,375 คน

ขณะที่ มาตรา 62 ส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายอื่น ที่เดือน ก.พ.66  มีจำนวน 47,162 คน หรือลดลง 0.28% จากเดือน ธ.ค.62 ที่มีจำนวน 47,295 คน

ซึ่งสวนทางกับ มาตรา 63/1 ชนกลุ่มน้อย ที่เดือน ก.พ.66  ที่มีจำนวน 93,543 คน หรือเพิ่มขึ้น 96.05% จากเดือน ธ.ค.62 ที่มีจำนวน 47,715 คน

ส่วน มาตรา 63/2 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 ก.พ.66 มีจำนวน 591,873 คน และมาตรา 64 ไป-กลับ หรือ ตามฤดูกาล ซึ่งในเดือน ก.พ.66  ที่มีจำนวน 21,700 คน หรือลดลง 99.28% จากเดือน ธ.ค.62 ที่มีจำนวน 65,991 คน

นอกจากนี้ จำนวนแรงงานต่างด้าวที่มาเข้ามาทำงานสูงสุดจาก 3 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา ที่เดือน ก.พ.66  มีจำนวน 848,173 คน หรือลดลง 53.55% จากเดือน ธ.ค.62 ที่มีจำนวน 1,825,979 คน

ถัดมา คือ กัมพูชา ที่เดือน ก.พ.66  มีจำนวน 202,364 คน หรือลดลง 70.54% จากเดือน ธ.ค.62 ที่มีจำนวน 687,009 คน และลาว ที่เดือน ก.พ.66  มีจำนวน 133,859 คน หรือลดลง 54.42% จากเดือน ธ.ค.62 ที่มีจำนวน 281,345 คน

ส่วนอาชีพที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ณ เดือนก.พ.66 ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเทียบกับเดือนธ.ค.62 ได้แก่ เกษตรและปศุสัตว์ ที่เดือน ก.พ.66  มีจำนวน 219,320 คน หรือเพิ่มขึ้น 58.18% จากเดือน ธ.ค.62 ที่มีจำนวน 138,656 คน

ขณะที่ ก่อสร้าง ในเดือน ก.พ.66  มีจำนวน 186,831 คน หรือลดลง 8.69% จากเดือน ธ.ค.62 ที่มีจำนวน 204,614 คน และบริการ ที่ในเดือน ก.พ.66  มีจำนวน 48,878 คน หรือลดลง 50.58% จากเดือน ธ.ค.62 ที่มีจำนวน 98,911 คน

ด้าน นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เผยถึงกรณีดังกล่าวกับ ‘อีจัน’ ว่า ไม่แน่ใจว่าข้อมูลของ ส.อ.ท. คลาดเคลื่อนหรือไม่ เพราะจากข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่ตอนนี้ ทราบว่าแรงงานต่างด้าวเริ่มกลับเข้ามาในระบบแล้ว ตั้งแต่เดือน ก.ย.65 ที่ผ่านมา

“ยอดแรงงานต่างด้าว ของกระทรวงแรงงาน ซึ่งอ้างอิงจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ก่อนโควิดแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ มีประมาณ 2.9 ล้านคน จากนั้น ตั้งแต่ไตรมาส 2/2563 ลดลงต่อเนื่องจนต่ำสุดเหลือ 1.9 ล้านคน แต่เมื่อเดือน ม.ค.66 เริ่มกลับขึ้นมาที่ 3.3 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนโควิด

และลดลงเหลือ 2.7 ล้านคน เมื่อเดือน ก.พ.66 มองว่า อาจเป็นเพราะใบอนุญาตทำงาน หรือวีซ่าหมดอายุ ทำให้ต้องเดินทางกลับ และพราะสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดน ทำให้ไม่สามารถกลับเข้ามาได้อีก

ขณะเดียวกัน มองว่า แรงงานต่างด้าวจาก 3 ประเทศหลักที่เราพึ่งพาอยู่ส่วนใหญ่เริ่มอิ่มตัว ดังนั้น เราควรต้องหาแหล่งจ้างงานใหม่ โดยใช้กรณีศึกษาของมาเลเซีย ที่มีการนำเข้าแรงงานจากอินโดนีเซีย และบังกลาเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคก่อสร้าง และการเกษตรที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพื่อให้การขยายตัวของจีดีพีเป็นไปตามเป้า แต่ถึงตอนนี้ ก็ยังไม่เห็นนโยบายพรรคการเมืองใดที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่าที่ควร” นายธนิต กล่าว

คลิปแนะนำอีจัน
ตร.เบิกตัว 4 ผู้ต้องหาคดีอุ้มจีนแยกสอบปากคำ #อุ้มจีนยัดกล่องเรียกค่าไถ่