เตือนระวัง ด้วงแรด ระบาดหนักบุกสวน ปาล์มน้ำมัน

ด้วงแรด ระบาดหนัก กัดเจาะทำลายโคนใบ-ยอดต้นปาล์ม จนทำให้ ต้นปาล์มน้ำมัน ตายในที่สุด

นางแพรวพรรณ ทองพิทักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการ เกษตรชำนาญการ จังหวัดตรัง ลงพื้นที่แปลงปาล์มน้ำมัน ของนายระบิล คล้ายนอง เกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันในหมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เกษตรกร ปลูกปาล์มน้ำมัน อายุ 8 ปี จำนวน 6 ไร่ ซึ่งพบการเข้าทำลายของด้วงแรดกระจายทั่วทั้งแปลง ลักษณะการทำลาย ช่วงตัวเต็มวัยของด้วงแรดเท่านั้น ที่เข้าทำลายต้นปาล์มน้ำมัน

โดยด้วงแรด จะบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบต้นปาล์ม ทำให้ทางใบหักง่าย และกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์มีรอย ขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมากๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัด เป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงแรดเข้ามาวางไข่หรือทำให้ทางใบปาล์มน้ำมันเกิดโรคยอดเน่า จนทำให้ต้นปาล์มน้ำมันตายในที่สุดเบื้องต้น ควบคุมโดยใช้กับดักฟีโรโมน ซึ่งได้รับการสนับสนุน โดยกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง เพื่อล่อจับ ตัวเต็มวัยของด้วงแรด โดยการนำถังที่ติดแผ่นฟีโรโมน เหนือ ถังแขวนไว้ในกับดัก วางกับดักให้สูงจากพื้น 3 เมตรขึ้นไป ด้วง แรด เมื่อได้กลิ่นฟีโรโมน ก็จะบินเข้าหาต้นกำเนิดกลิ่น เมื่อ ด้วงแรด ถึงกับดักก็จะบินชนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดเรียบสีเหนือถัง แล้วตกลงในถัง (เนื่องจากด้วงแรดไม่สามารถบินขึ้นในแนวดิ่ง ทันทีได้ จึงยังคงอยู่ภายในกับถังดัก) จากนั้นจึง สามารถเก็บไป ทำลายได้ทันที โดย 1 กับดักสามารถใช้ได้กับพื้นที่ประมาณ 10-12 ไร่

เบื้องต้น ควบคุมโดยใช้กับดักฟีโรโมน ซึ่งได้รับการสนับสนุน โดยกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง เพื่อล่อจับ ตัวเต็มวัยของด้วงแรด โดยการนำถังที่ติดแผ่นฟีโรโมน เหนือ ถังแขวนไว้ในกับดัก วางกับดักให้สูงจากพื้น 3 เมตรขึ้นไป ด้วง แรด เมื่อได้กลิ่นฟีโรโมน ก็จะบินเข้าหาต้นกำเนิดกลิ่น เมื่อ ด้วงแรด ถึงกับดักก็จะบินชนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดเรียบสีเหนือถัง แล้วตกลงในถัง (เนื่องจากด้วงแรดไม่สามารถบินขึ้นในแนวดิ่ง ทันทีได้ จึงยังคงอยู่ภายในกับถังดัก) จากนั้นจึง สามารถเก็บไป ทำลายได้ทันที โดย 1 กับดักสามารถใช้ได้กับพื้นที่ประมาณ 10-12 ไร่

โดยตอนแรกก็ไม่ทราบสาเหตุ ว่าทำไมต้นปาล์มยอดเน่า และที่ทางปาล์มก็เป็นรู แต่เมื่อมี นักวิชาการส่งเสริม การเกษตรชำนาญการ ได้มาเยี่ยม เลยทราบว่า เกิดจากการเจาะและกัดกินของด้วงแรด และทางเกษตรอำเภอย่านตาขาวก็ได้ มอบถังที่เรียกว่ากับดักฟีโรโมน ตอนแรกก็ไม่เชื่อว่าจะได้ผล แต่เมื่อลองนำมาแขวนเหนือลมไว้ 1 สัปดาห์ ปรากฏว่ามีด้วงแรด เข้ามาติดกับดักเกือบ 10 ตัว นับว่าเป็นการกำจัดด้วงแรดที่ได้ผลดีมาก