เคยได้ยินไหม “กินเค็มแล้วอ้วน” ว่าแต่มันเรื่องจริงหรือ !?

เชื่อว่ามีหลายคนไม่น้อยที่ติดการกินอาหารรสเค็ม แต่รู้หรือไม่ว่าอาหารรสเค็มเหล่านี้นอกจากจะทำให้เราอ้วนแล้วยังเสี่ยงเป็นโรคอีกมากมาย

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเวลาที่เรากินน้อยลงแล้ว แต่ถึงยังอ้วนอยู่ สาเหตุที่ทำให้เราอ้วนอาจจะมาจากการกินรสเค็มนั้นเอง เพราะอาหารรสเค็มมีเกลือหรือโซเดียมคลอไรด์เป็นส่วนประกอบ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เราอ้วนโดยไม่

เกลือ 1 กรัม มีโซเดียมประมาณ 400 กรัม ในอาหารรสเค็มหรือมีโซเดียมสูงจะกระตุ้นการผลิตสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ทำให้เกิดความสุข ทำให้รู้สึกอยากอาหารกินมากขึ้น แถมการกินอาหารที่มีรสเค็มเป็นประจำยังส่งผลให้เราเสี่ยงโรคต่าง ๆ อีกมากมาย

มาดูกันว่าความเค็มทำให้เราอ้วนได้ยังไงบ้าง

โดยปกติแล้วร่างกายของคนมีกลไกที่คอยปรับสมดุลระหว่างน้ำและเกลือโดยอัตโนมัติ เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายเรารับเกลือเข้ามา เมื่อนั้นมันก็จะสรรหาน้ำเข้ามาเพิ่ม เพื่อรักษาสมดุลตรงนี้ไว้ ด้วยเหตุนี้เอง คนที่กินเค็มจึงอ้วน เพราะร่างกายบวมน้ำ ปริมาณของเกลือที่ร่างกายรับได้ในแต่ละวัน ไม่ควรเกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อ/วัน แต่ต้องได้รับไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือเกลือ 1 ช้อนชา หรือ 1 ช้อนโต๊ะเท่านั้น

แล้วมีอาหารอะไรบ้างที่มีปริมาณโซเดียมสูง

อาหารที่เรากินเข้าไปในแต่ละวัน จะมีปริมาณเกลือโซเดียมแอบแฝงอยู่จำนวนมาก แม้จะกินเข้าไปแล้วไม่มีรสเค็ม เพราะฉะนั้น เราควรควบคุมการกินของตัวเองไม่ให้โซเดียมเกิน

และดูว่าอาหารชนิดไหนมีปริมาณโซเดียมสูงเกินไป เราไปดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง

• บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีโซเดียม 1,500-1,800 มิลลิกรัม

• อาหารแช่แข็ง มีโซเดียม 400-1,500 มิลลิกรัม

• โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป มีโซเดียม 400-1,200 มิลลิกรัม

• ขนมขบเคี้ยว มีโซเดียม 100-600 มิลลิกรัม

• ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุง เช่น ซอส ซีอิ๊ว น้ำปลา ผงปรุงรส 200-500 มิลลิกรัม

วิธีแก้อาการบวมน้ำ

• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง

• หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารเพิ่มเติม

• หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและอาหารแปรรูปต่าง ๆ

• ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อให้ไตทำงานได้มีประสิทธิภาพ

• ออกกำลังกาย หลังจากเรารับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงแล้ว ก็ควรเผาผลาญออกไปบ้าง