ฟังใจ…เด็กพิเศษ ด้วยแอปฯ “ฟังใจ”

ฟังใจ รับฟังเด็กพิเศษ… อย่างเข้าใจ เพื่อให้พวกเขาใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น

เด็กปกติกับเด็กที่เป็นออทิสติก มีความแตกต่าง…

เด็กที่เป็นออสทิสติก หรือเด็กพิเศษ ไม่สามารถพัฒนาด้านสังคมและการสื่อสารได้เหมาะสมตามวัย

และเด็กแต่ละคนที่เป็นออทิสติก ก็มีความแตกต่างกันสิบคนก็สิบแบบ ร้อยคนก็ร้อยแบบ แต่ทั้งหมดนี้ก็มีลักษณะร่วมบางอย่างที่คล้ายกัน เช่น เด็กจะมีโลกส่วนตัวมาก สนใจสิ่งแวดล้อมน้อย ไม่สนใจใคร เรียกไม่หัน ไม่ค่อยสนใจตอบสนองทั้งทางท่าทางและภาษา…

เห็นภาพหรือยังคะ ว่า สิ่งที่แตกต่างของเด็กปกติ กับเด็กพิเศษ คือ การสื่อสาร

แล้วเราจะสื่อสาร เข้าใจพวกเขาได้อย่างไร?

จะดีกว่าไหม ถ้าเราจะเข้าถึง “ใจ” พวกเขาอย่าง “เข้าใจ”

#แอปพลิเคชัน #ฟังใจ แอปพลิเคชันสำหรับการฝึกพูดในรูปแบบคล้ายกับของต่างประเทศ แต่จะเป็นการทำรูปแบบขึ้นใหม่เอง และทำทั้งหมดเป็นภาษาไทย โดยอ้างอิงรายการคำศัพท์จากครูผู้ฝึกพูดเด็กพิเศษ

ทำไมต้องมีแอปฯ นี้?

แอปฯ ฟังใจ จะช่วยเด็กพิเศษในการสื่อสาร เพื่อเพิ่มโอกาสให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไปได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ

เพราะประสาทสัมผัสของเด็กพิเศษไม่เหมือนคนปกติ

การมองเห็นขอบดำ แสงจ้า ภาพซ้อน หรือได้ยินเสียงดังกว่าปกติ คือส่วนหนึ่งของการรับรู้ที่แตกต่าง ซึ่งส่งผลให้พวกเขามีปัญหาด้านการสื่อสาร

ใช้ยังไง?

ตอนนี้สามารถดาวน์โหลดแอปฯ ได้แล้วในรูปแบบแอนดรอยด์ เมื่อกดเข้าไปจะพบกับหน้าตาของแอปฯ ที่เป็นคำต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อการฝึกพูดภาษาไทยสำหรับเด็กพิเศษที่ไม่สะดวกที่จะสื่อสารด้วยเสียงของตนเอง

โดยแอปฯ ฟังใจใช้ชุดคำศัพท์จัดเป็นหมวดหมู่จากรายการศัพท์ที่ครูฝึกพูดใช้ในการฝึกเด็กพิเศษ

นอกจากนี้ผู้ปกครองและคุณครู ยังสามารถแก้ไขหรือเพิ่มคำศัพท์ที่ต้องการสอนได้ด้วยตัวเอง

ที่สำคัญ และที่เราทึ่งมากๆ เลยคือ ผู้ก่อตั้ง เป็นสาวน้อยน่ารัก สดใส 3 คน ค่ะ น้องมุก น้องต้นน้ำ น้องแป้ง เจ๋งมากจริงๆ น้องๆ ทั้ง 3 คนอายุยังไม่ถึง 20 ปีกันเลย แต่สามารถพัฒนาแอปฯ เพื่อสื่อสารกับเด็กพิเศษอย่างเข้าใจ และเห็นใจ

19 มิ.ย. 66 วนอุทยานชะอำ จ.เพชรบุรี มีการอบรมครู ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทางทีมแอปฯ ฟังใจ ได้นำแท็บเล็ตติดตั้งแอปฯ ฟังใจ มามอบให้กับตัวแทนประจำศูนย์ต่างๆ จำนวน 9 อัน ค่ะ เพื่อนำไปใล้ประโยชน์ในการฝึกสอนเด็กพิเศษ ให้มีการพัฒนา และสื่อสารได้อย่างปกติ

ต้องขอขอบคุณทีมฟังใจมากๆ เลยนะคะ

ที่ “ฟังใจ” เด็กพิเศษ อย่าง “เข้าใจ”