ถ้าภาคเหนือแผ่นดินไหวรุนแรง กทม.จะเป็นอย่างไร

รู้หรือไม่ ถ้าภาคเหนือของไทยเจอแผ่นดินไหวรุนแรง ความเสียหายได้ส่งผลกระทบถึง กทม. แน่

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว วันนี้ (20 ต.ค.65) เวลา 04.36 น. ที่ ต.เเม่คือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ขนาด 4.1 ลึก 2 กิโลเมตร ได้รับเเจ้งรู้สึกสั่นไหวบริเวณ จ.เชียงใหม่ เเละ จ.ลำพูน ทำให้ประชาชนในพื้นที่ต้องตกใจตื่น โดยหลังจากเกิดความแผ่นดินไหว อีจันจึงไปถามผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว ท่าน ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมโครงสร้างและทำการศึกษาเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในไทยมามากว่า10ปี ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว

โดยทางอีจันได้ มีโอกาสสอบถาม ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว ถึงเหตุแผ่นดินไหวที่เพิ่งเกิดขึ้น ได้ความว่า ระดับแรงสั่นสะเทือนถือเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กและระดับของแผ่นดินไหวหากน้อยกว่า 4.9 จะเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก 5.9 จะเป็น แผ่นดินไหวขนาดปานกลาง 6.9 จะเป็นแผ่นดินไหวค้อนข้างใหญ่ และ7 ขึ้นไปจะเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่

แผ่นดินไหวนั้นเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่เป็นความรุนแรงไม่มากจึงไม่ได้รับรู้ความรู้สึก จากสถิติระยะยาวแผ่นดินไหวยังมีปริมาณคงเดิมแต่อาจจะเป็นเพราะกรมอุตุนิยมวิทยา มีอุปกรณ์ในการวัดแรงสั่นสะเทือนที่ดีขึ้น ทำให้ช่วงหลัง ๆ มีรายงานการเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งขึ้น

สาเหตุใหญ่การเกิดแผ่นดินไหว

สาเหตุแรกเกิดจากการกระทำของมนุษย์ คือ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน และแรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่

สาเหตุที่สองเป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผ่นดินไหว โดยเกิดตามธรรมชาติจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงได้และยังไม่ได้มีความพร้อมที่จะรับมือกับความรุนแรงและความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการเปรียบเทียบการใช้แผนที่เสี่ยงภัย เทียบกับของนานาชาติ ในโซนภาคเหนือจะอยู่ความรุนแรงในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง อยู่ในระดับที่จะต้องจัดเตรียมบ้านเรือนให้พร้อมเพื่อเตรียมรับมือกับความเสียหายและความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหว

ถ้าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง สิ่งที่กทม.ควรตระหนัก และจะส่งผลกระทบถึง กทม.นั้น ทางภาคเหนือต้องมีแผ่นดินไหวความรุนแรง 5-6 ริกเตอร์หรือมากกว่านั้น แต่ในความเป็นจริงแผ่นดินไหวครั้งนี้ความรุนแรงที่สุด วัดได้อยู่ที่ขนาด 6.5 ริกเตอร์ แต่จะเกิดขึ้นได้ยาก

แผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะอยูที่ 2-3 ริกเตอร์ คือระดับความรุนแรงขนาดเล็ก แต่ถึงที่ใต้พื้น กทม.จะไม่มีรอยเลื่อนเปลือกโลก แต่ก็เป็นแอ่งดินที่อ่อน และสามารถรับรู้ถึงความรุนแรงจากการเกิดคลื่นแผ่นดินไหวที่ระยะไกลได้ อย่างเช่น เกิดแผ่นดินไหวที่พม่า หรือกาญจนบุรี ถ้ามีความรุนแรงสูง อาจส่งผลกระทบถึงแอ่งดินอ่อน ทำให้เกิดความสั่นสะเทือนและเสียหายกับบ้านเรือนสูงๆได้ จึงมีกฎหมายการควบคุมอาคารและมาตรฐานการออกแบบ

สุดท้ายทางด้าน ดร.เป็นหนึ่ง แนะนำการรับมือกับการเกิดแผ่นดินไหวว่าควรเตรียมพร้อมทั้งอาคารบ้านเรือน เพราะในปัจจุบันจะมีทั้งตึกที่เป็นแบบใหม่และแบบเก่า โดยแบบใหม่จะได้รับการตรวจสอบเพื่อป้องกันการเสียหายจากความรุนแรงของแผ่นดินไหว

ทาง ศ.ดร.เป็นหนึ่ง ร่วมกับคณะนักวิจัยด้านความเสี่ยงเรื่องแผ่นดินไหวในไทยโดยรวมอาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย กำลังทำโมเดลแบบจำลองเมืองเชียงรายและเชียงใหม่ การคำนวณ การประเมินผลกระทบของแผ่นดินไหว จำนวนความเสียหาย บาดเจ็บ เสียชีวิตเท่าไหร่ และตอนนี้มีการติดตั้งอุปกรณ์วัดการสั่นสะเทือน ขณะนี้อุปกรณ์ติดตั้งอยู่ที่ รพ.เชียงใหม่และเชียงราย และสำหรับหน่วยงานที่สนใจอุปกรณ์สามารถติดต่อสอบถามที่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)

คลิปอีจันแนะนำ
ไขให้รู้ทุกข้อสงสัย เมื่อไทยพบแผ่นดินไหวาดนี้เลยเหรอ?