จริงหรือนี่? “ปากเหม็น” ทำให้เป็น “โรคไมเกรน” ได้ โดยเฉพาะผู้หญิง 

โอ้ว!!! หมอสุรัตน์ เปิดการวิจัยจากซิดนีย์ ชี้ “ปากเหม็น” ทำให้เป็น “โรคไมเกรน” ได้จริงหรือ? โดยเฉพาะผู้หญิงที่ปากเหม็นมากๆ อาจมีโอกาสเป็น “ไมเกรนเรื้อรัง” ถึง 2–3 เท่า จากปกติ

เอ๊ะๆ? ปากเหม็น ทำให้เป็น โรคไมเกรน ได้จริงหรือ?  

วันนี้ (16 เม.ย.68) ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท ได้ออกมาโพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับคนที่เป็นไมเกรน ว่า “ปากเหม็น” ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เป็น “โรคไมเกรน” ได้เช่นกัน โดยเฉพาะในผู้หญิง ผ่านเฟซบุ๊ก “สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์” ระบุข้อความว่า… 

“สมองไมเกรนกับผู้หญิงปากเหม็น” 

อจ.รักษาคนไข้ไมเกรนมากกี่พันคนแล้ว น่าจะหลายพัน ซึ่งคนไข้บางคนปวดรุนแรงมาก บ้างก็หาสาเหตุได้ บ้างก็หาสาเหตุไม่เจอ  ทำไมถึงต้องเป็นเรา คนไข้บ่นบ่อย ๆ อันนี้บางทีก็บอกยาก ไม่ใช่ไม่มีเหตุแต่มันหาเหตุไม่เจอแต่สัปดาห์ก่อน  

หมอ: ผมรู้ละ ไมเกรนกำเริบเพราะแฟนปากเหม็น เนี่ยให้ไปหาหมอฟันก็ไม่ไป ดูไม่ค่อยทำความสะอาด แล้ว “ปากเหม็น” นี่กลิ่นมันกระตุ้นไมเกรนใช่ไหมหมอ ?  

คนไข้: “ไม่เห็นเหม็นเลย หอมจะตาย” พูดพลางเอามือมาอังแล้วพ่นลมออกมาให้ดมอี เหมือนทีเล่นทีจริง คือปากเหม็น ปากไม่สะอาด มันจะไปเกี่ยวกับไมเกรนยังไง หรือ ปากเหม็น ๆ มันทำให้คนเป็นไมเกรนสูดลมหายใจกระตุ้นตลอดเวลาหรือเปล่านะ ซึ่งปากเหม็น หรือ สุขภาพช่องปากไม่ดี จริง ๆ ปัจจุบัน มันมีงานวิจัย ที่บ่งบอกว่ามันเกี่ยวกับโรคหลายโรคเลย และ พอค้นใน pubmed ก็พบว่ามีวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์แล้ว “ไมเกรน” มันเกี่ยวกับปากเหม็นจริง ๆ นะ  

เรื่องจริงของความเกี่ยวข้องของอวัยวะที่น่าประหลาดใจ อวัยวะของเราในร่างกายมีหลายอวัยวะ หน้าที่มันแตกต่างแม้มันอยู่ในร่างกายเดียว แต่เดี๋ยวนี้งานวิจัยได้ชี้ว่า มันมีความเกี่ยวข้องกันแบบคาดไม่ถึง (และนี่ทำให้การรักษาโรคในปัจจุบันแบบแยกส่วน บางทีโรคก็ไม่ได้ดีขึ้น) อย่างการศึกษาชิ้นใหม่ ที่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างสุขภาพช่องปากที่ไม่ดี (ทำให้ปากเหม็น) ที่มีแบคทีเรียในช่องปาก หรือ ที่เรียกว่า “ไมโครไบโอม” และสมองที่ไวต่อความเจ็บปวด   

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์และ Viome Life Sciences ได้ตั้งคำถามวิจัยถึงความเกี่ยวข้องของอวัยวะที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน คือ สุขภาพช่องปากและอาการสมองไวต่อความปวด โดยได้เก็บข้อมูลจากผู้หญิง 158 คนในเมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ โดยต้องไม่สูบบุหรี่ ไม่มีเบาหวานหรือโรคอักเสบเรื้อรัง ทีมวิจัยได้ใช้แบบสอบถามสุขภาพช่องปากขององค์การอนามัยโลก (WHO), เครื่องมือวัดความเจ็บปวดที่ผ่านการรับรอง, และการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำลายด้วยเมตา-ทรานสคริปโตมิกส์ เพื่อสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพช่องปาก ไมโครไบโอม และความเจ็บปวด โดยความเจ็บปวดที่ศึกษา ได้แก่ อาการปวดเรื้อรัง เช่น ไฟโบรมัยอัลเจีย ไมเกรน และลำไส้แปรปรวน (IBS) ส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะในผู้หญิง  

ผลการศึกษา 

สุขภาพช่องปากและความเจ็บปวด 

-ผู้ที่มีคะแนนสุขภาพช่องปากต่ำ พูดง่ายๆ คือ ปากเหม็นเพราะมีแบคทีเรียมาก มีคะแนนความเจ็บปวดทางร่างกายสูงขึ้น, ไมเกรนบ่อยขึ้น และปวดท้องมากขึ้น  

-ผู้หญิงที่มีสุขภาพช่องปากแย่ที่สุดมีแนวโน้มที่จะเป็นไมเกรนเรื้อรังหรือถี่มากกว่าคนทั่วไปถึง 2–3 เท่า 

ชนิดแบคทีเรียที่เกี่ยวข้อง 

-หากพิจารณาชนิด แบคทีเรียจะมีการพบ Gardnerella, Mycoplasma salivarium , และ Lancefieldella  ในระดับสูงเชื่อมโยงกับคะแนนสุขภาพช่องปากที่ต่ำและความเจ็บปวดที่มากขึ้น   

-สี่สายพันธุ์ที่สัมพันธ์กับความเจ็บปวดทางร่างกาย  

มันอธิบายความเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร 

ผลลัพธ์สนับสนุนแนวคิดเรื่อง แกนประสาท–ไมโครไบโอมในช่องปาก ซึ่งเป็นเส้นทางใหม่ในการเข้าใจอาการปวด โดยสิ่งที่พบ 

– เชื้อโรคในช่องปากสามารถปล่อยโมเลกุลที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น LPS ซึ่งอาจเข้าสู่กระแสเลือดและกระตุ้น การอักเสบของระบบประสาท 

– แบคทีเรียอย่าง Mycoplasma salivarium กระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันในเหงือกและผลิตไซโตไคน์อักเสบ ซึ่งเคยพบในข้อต่อของผู้ป่วย TMJ (ขากรรไกร) 

– จุลชีพบางชนิดสามารถกระตุ้นการผลิต CGRP และ VEGF ซึ่งมีบทบาทในการเพิ่มสัญญาณปวดและพบในระดับสูงในไมเกรนและไฟโบรมัยอัลเจีย 

นั่นแสดงว่า การมีสุขภาพช่องปากไม่ดี ปล่อยให้แบคทีเรียปากเหม็นมาสร้างรังอยู่ มันจะทำให้เกิดการอักเสบเข้าไปในกระแสเลือดได้ และสารเหล่านั้นก็ทำให้สมองตอบสนองให้ไวขึ้น    

โอว นี่ต่อไปรักษาคนไข้ไมเกรน ต้องให้เขาอ้าปากให้ดมว่าเหม็นหรือเปล่านะ  

เรื่องนี้ทำให้เห็นว่า หากปวดเรื้อรัง สำรวจช่องปากตัวเองให้ดี ไม่แน่อาจทำให้อาการปวดที่เป็นหายก็ได้ หากรักษาช่องปากให้ดีนะ อจ สุรัตน์ กล่าว 

นี่ก็เป็นอีก 1 เคสที่น่าอึ้งนะคะ เพราะบางคนก็ไม่ได้รับรู้ว่า แค่ ปากเหม็นจะเกี่ยวกับการปวดหัว(ไมเกรน) ได้ด้วย อย่างไรก็ตามอย่าลืมเช็กตัวเองและดูแลสุขภาพให้ดีด้วยนะคะ  

ขอบคุณข้อมูลจาก เพจ สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์  

https://www.facebook.com/share/p/164SaX2pDn

วิจัย >>. Erdrich S, Gelissen IC, Vuyisich M, Toma R, Harnett JE. (https://doi.org/10.3389/fpain.2025.1577193