รู้เท่าทันเลี่ยงเสี่ยงภาวะโรคหัวใจวายเฉียบพลัน สังเกตก่อนสายเกินไป

รู้เท่าทันเลี่ยงเสี่ยงภาวะโรคหัวใจวายเฉียบพลัน เช็คอาการ สาเหตุ & วิธีป้องกัน คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงไหม ? สังเกตก่อนสายเกินไป

มีผู้คนมากมายที่มีอาการหัวใจวาย และต้องเสียชีวิตแบบไม่ทันตั้งตัว แต่ถ้ารู้จักและเข้าอาการหัวใจวายพร้อมวิธีการรับมือก็มีโอกาสป้องกันได้ล่วงหน้า  เพราะโรคหัวใจ มักไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะเริ่ม กว่าจะรู้อาจจะสายเกินไป ซึ่งภาวะหัวใจวาย(Heart Failure) หรือหัวใจล้มเหล เกิดจากการที่หัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงได้เพียงพอ ซึ่งความรุนแรงของโรคมีทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ดังนั้นการสังเกตอาการจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากรู้เร็วย่อมดูแลตัวเองได้ถูกวิธีและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากหัวใจวายได้

ลักษณะอาการควรสังเกต

หัวใจวาย (Heart Failure) คืออาการของหลอดเลือดหัวใจอุดตันโดยสิ้นเชิง เกิดจากการมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ซึ่งลิ่มเลือดเหล่านี้เกิดจากการที่ร่างกายมีภาวะไขมันมากเกินไปจนพอกเป็นตะกรัน (plaque) เกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือด เมื่อรวมเข้ากับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากัดกินก็ทำให้เกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ไม่สามารถดูดกลับเข้าไปในร่างกายได้ แต่กลับฝังตัวอยู่ในผนังหลอดเลือดแทน เมื่อเวลาผ่านไป ตะกรันนี้จะแตกตัวหรือปริออก หลอดเลือดจะพยายามซ่อมแซมตัวเอง จนเกิดลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือด

ถ้าเป็นการแตกตัวที่หลอดเลือดแขนงเล็ก ผู้ป่วยจะมีเพียงอาการเจ็บหน้าอก แต่ถ้าลิ่มเลือดนี้อุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้กล้ามเนื้อหัวใจเริ่มตายไป อาการอาจเป็นอยู่นานกว่า 15 นาที เมื่อเกิดอาการเจ็บเค้นหัวใจควรรีบขอความช่วยเหลืออย่าชะล่าใจ เพราะเซลกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดมาเลี้ยงนั้นจะเริ่มตายภายในไม่กี่นาทีอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

3 อาการเตือนเสี่ยงหัวใจวาย

  1. เริ่มเหนื่อยง่าย เมื่อประสิทธิภาพในการทำงานหัวใจลดลงจะมีอาการเด่นชัดโดยรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หากมีอาการเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา เป็นสัญญาณเล็กๆที่อาจส่งผลที่รุนแรง 

  2. แสบแน่นหน้าอก อาการจุกแน่นลิ้นปีอาการแสบแน่นหน้าอกที่บ่งบอกว่าหัวใจขาดเลือด ส่วนใหญ่จะแน่นบริเวณกลางหน้าอก อาจมีปวดร้าวจากคอขึ้นไปกราม มีอาการตึง ๆ ชาๆ ที่หัวไหล่ไปถึงช่วงแขน รู้สึกเหมือนมีของหนักทับ หากมีอาการเหล่านี้นานเกินกว่า 20 นาที อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง 

รู้สึกอึดอัดเวลานอน อาการอึดอัดเวลานอนราบอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าปริมาณน้ำในหัวใจเพิ่มขึ้นจากการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติค่อนข้างรุนแรง

ชนวนเหตุนับเวลาถอยหลัง

  • ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี

  • ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เพราะไขมันอุดตันในเส้นเลือด หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เพราะเส้นเลือดหัวใจมีการตีบที่รุนแรง หรืออุดตันอย่างเฉียบพลัน

  • ผู้มีภาวะเครียด กดดัน พักผ่อนน้อย ทำให้ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของหัวใจมีความผิดปกติ

  • มีภาวะอ้วนตั้งแต่เด็ก

  • สูบบุหรี่

  • นอนกรนรุนแรง มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย

  • ไม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

โดยสาเหตุสำคัญมาจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพ ที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจแข็งตัว หรือตีบตัน เมื่อเส้นเลือดตีบ ส่งผลให้เลือดไม่ไปเลี้ยงหัวใจในที่สุด ดังนั้น ควรตรวจสุขภาพหัวใจ อาทิ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) หรือ ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST) หรือ ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ควบคู่กับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะผู้มีอายุตั้งแต่ 35 – 40 ปีขึ้นไป เมื่อพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรทำการรักษาอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตนตามคำแนะนำแพทย์

รับมือผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน 

ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งหากได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีและทันเวลาจะเป็นการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ ส่วนผู้หมดสติให้ควรปฏิบัติ ดังนี้

  • เรียกหรือเขย่าตัวผู้หมดสติว่ายังมีการตอบสนองหรือไม่

  • ถ้าไม่มีการตอบสนอง ให้สังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการกระตุกหรือชักเกร็งหรือไม่ หรือหายใจเฮือก หรือหยุดหายใจ ถ้ามีให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันพลัน

  • รีบโทรศัพท์แจ้งขอความช่วยเหลือหน่วยกู้ชีพ หรือรถพยาบาลฉุกเฉิน และเริ่มการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานด้วยการนวดหัวใจ หรือทำ CPR เพื่อพยุงเวลาในการช่วยชีวิตผู้ป่วยให้นานที่สุด ทำให้หัวใจบีบเลือดออกไปเลี้ยงร่างกาย

วิธีการช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คือ การใช้ไฟฟ้าแรงสูงเข้าไปกระตุ้นการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติด้วยเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator หรือ AED) ใช้ตามคำแนะนำที่ติดอยู่ที่เครื่อง


ขอบคุณข้อมูล  สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย , ศูนย์หัวใจ รพ.วิภาวดี  , นพ. ทยานนท์ คุณาวิศรุต / แพทย์อายุรกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด (รพ.กรุงเทพคริสเตียน), bangpakokhospital